22 พ.ค. 2021 เวลา 13:56 • การศึกษา
อยากให้ลูกพูดอังกฤษได้ทำไงดี ep2
เคล็ดลับจำได้นานยันบวชพระ คุณพ่อคุณแม่ช่วยได้ค่ะ
1
แน่นอนที่สุด ที่ในการพูด หรือ เขียน
เป็นการแสดงออก (express) ถึงความคิดของตัวเองออกมานั้น
ต้องใช้ คำศัพท์ แต่ปัญหาคือคลังคำศัพท์ลูกเราไม่พอ
credit : canva.com
โดยทั่วไป การจดจำคำศัทพ์
จะเป็น implicit knowledge (เรื่องนี้ กล่าวถึงไว้ใน ep 1 ค่ะ) เช่นกัน
คือ ไม่ได้นำมาท่อง แต่อ่านบ่อย ๆ เห็นบ่อย ๆ ได้ยินบ่อย ๆ
เด็ก ๆ ก็จะซึมซับศัพท์คำนั้น ๆ ได้เอง
.
เปรียบเสมือนการที่เด็กไทย ไม่เคยต้องท่องว่า
อาการที่เอาอาหารเข้าปาก เรียกว่า กิน
ถ้าคุณแม่ตักใส่ปากให้ เรียกว่า ป้อน
ถ้าหนูเอาฟันบดอาหารให้ละเอียด เรียกว่า เคี้ยว
แน่นอน เราไม่เคยต้องทำแบบนั้น
แต่อย่าลืมนั่นคือ การเรียนภาษาที่ 1
ซึ่งเรามี input ทางภาษาตลอด 24 ชั่วโมง
ทำให้การจดจำคำศัพท์ของภาษาที่ 1 ของเด็ก
เป็น implicit knowledge คือได้ศัพท์มาเอง ไม่ต้องท่อง
แต่สำหรับภาษาที่ 2 เรามี input ของภาษาที่ 2
วันหนึ่ง ๆ กี่ชั่วโมงเองคะ
ถ้าตอนช่วงปิดเทอมหนีโควิดแบบช่วงนี้
แล้วเด็ก ๆ ไม่ได้เรียนพิเศษบ้าง ไม่ได้เล่นเกมส์ที่มีภาษาอังกฤษ
หรือ ไม่ได้ดู youtube ที่เป็นภาษาอังกฤษบ้างเลย
เรียกได้ว่า เรามี input เป็น 0 ต่อวัน
2
credit : canva.com
ดังนั้น จึงเทียบกันไม่ได้เลย
เอาหละ เมื่อเราเข้าใจตรงกันแล้วว่า
ในเบื้องต้น สำหรับการเรียนภาษาที่ 2
ต้องมีการ จดจำคำศัพท์
ไม่สามารถเรียนรู้แบบ implicit ได้ทั้งหมด
เรามาช่วยลูกเรากันค่ะ
วิธีการนี้เรียกว่า Visualization and Association ค่ะ
ซึ่งทำให้จำคำศัพท์ถึง 50% ในวันรุ่งขึ้น
ในขณะที่วิธีท่อง เด็กจะจำคำศัพท์ได้เพียง 12%
(อ้างอิงการทดลองของ Engfluent.com)
1
แน่นอนแหละ ถ้าอ่านต่อไปก็จะพบว่า
การจำคำศัพท์แบบ Association and Visualization นั้น
เด็กต้องมีกิจกรรมที่จะต้องทำกับศัพท์คำนั้น ๆ อีกหลายขั้นตอน
มากกว่าการนั่งท่องเฉยๆ
ก็ย่อมต้องทำให้สมองจำคำศัพท์เหล่านั้นได้มากขึ้น และนานขึ้น
credit : canva.com
แล้ววิธีการที่ว่า มีขั้นตอนอย่างไร มาว่ากันที่รายละเอียดซะทีค่ะ
1. เริ่มต้นด้วย การมีคำศัพท์ที่ต้องการจะจำ และอ่านคำศัพท์นั้น ๆ ได้ก่อน
ถ้าอ่านไม่ได้ ก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ค่ะ
ใช้ dictionary online ได้เลยค่ะ มีหลายเว็บค่ะ
ถ้าอ่านออกแล้ว ต้องการที่จะ double check
ว่าเราอ่านได้ถูกต้องหรือไม่ ก็ควรทำค่ะ เช็คกับ dictionary เช่นกันค่ะ
2. เมื่อรู้แล้วว่าคำศัพท์นั้นอ่านอย่างไร
ก็นำเสียงอ่าน มาหาคำที่เราจะเลียนแบบเสียงได้
และที่สำคัญ คือ ต้องอยู่ในวิสัยที่เด็ก ๆ จะจำได้ด้วย
ดังนั้น ขั้นตอนนี้ คุณแม่ช่วยกันกับคุณลูกได้
ในการที่จะหาเสียงที่เลียนแบบเสียงคำศัพท์ที่ต้องการจำ
ครูสุขอยกตัวอย่าง คำที่ครูสุใช้ทดลองกับตัวเองนะคะ คำนี้ค่ะ
Residue อ่านว่า /ˈrezɪdjuː/ เรส-ซิ-ดยู
แปลว่า เศษตกค้าง กาก ส่วนที่เหลืออยู่
เช็ค dict กันค่ะ ที่
credit : oxford online dictionary
ได้คำจำกัดความว่า
A small amount of something that remains at the end of a process.
และได้ตัวอย่างประโยคว่า
• pesticide residues in fruit and vegetables
เศษตกค้างของยาฆ่าแมลงในผลไม้และผัก
• The chemical process leaves a greasy residue.
กระบวนการทางเคมีทิ้งเศษตกค้างที่ไขมัน ๆ ไว้
3. แล้วสร้างเรื่องค่ะ รวมทั้งมโนภาพในจิตนาการขึ้นมา
ลองฟังเสียงแล้ว คำว่า เรส-ซิ-ดยู ออกเสียงคล้ายคำว่า
ริดสีดวง ไม่เชื่อลองออกเสียงดูซิคะ
ซึ่งอันนี้คือจินตนาการของครูสุเอง ผู้ซึ่งสูงวัยแล้ว
จินตนาการจึงได้คำนี้มา เพราะเป็นประสบการณ์ที่ได้พบเจอ
ถ้าเป็นเด็ก ๆ จินตนาการเอง เขาอาจจะได้คำอื่นมา
ซึ่งเขาจะ “อิน” กว่า
ดังนั้น คำว่า ริดสีดวง จึงมาค่ะ เอาเสียงนี้มาลิงค์
กับ คำอ่านของ residue แล้วภาพหล่ะ
ภาพคนฉีดยาฆ่าแมลงต้องมาเช่นกัน
เพราะคำแปลว่า เศษตกค้าง และ ตัวอย่างประโยค
pesticide residues in fruit and vegetables
เหมาะเป็นอย่างยิ่งที่จะเอารูป
คนเป็นริดสีดวงกำลังฉีดยาฆ่าแมลงในฟาร์ผักอยู่
ครูสุก็ visual ได้ภาพนี้ค่ะ
1
credit : canva.com และ ภาพจาก internet
เพราะฉะนั้น เมื่อได้เห็นคำว่า residue อีกครั้ง
คำว่า ริดสีดวงแว่วมาแต่ไกร
ภาพคนเป็นริดสีดวงมีวงแดงๆที่ก้นกำลังพ่นยาฆ่าแมลงอยู่
ก็ค่อย ๆ ชัดขึ้น
1
ความหมายว่า มีเศษตกค้างหลงเหลือมาในผักที่เรากิน ก็ค่อย ๆ ตามมาติด ๆ
ขอถามว่า แล้วลูกเราจะจำศัพท์ไม่ได้ ได้ยังไง ในเมื่อมีเรื่องราวให้จำ
สมองชอบจำ ภาพ เรื่อง ความเกี่ยวข้องกัน มากกว่า ท่องศัพท์ไปปาวๆ
โดยหาความสัมพันธ์ในศัพท์ที่ท่องไม่ได้
บทพิสูจน์โดยตรงของครูสุเองคือ จำคำนี้ได้ขึ้นใจ
จากวันที่ทดลองทำ (เพราะศัพท์คำนี้ครูสุก็ไม่ได้รู้มาก่อน)
คือซัก 2 เดือนที่แล้ว จำจนเดี๋ยวนี้เลยค่ะ
ทั้งหมดของข้อ 2-3 นี้ ทำตามจิตนาการของเด็ก ๆ ได้เลย
ยิ่งเป็นจินตนาการของเขา เขาจะยิ่งจำได้ดี
ถ้าเป็นจินตนาการของคุณพ่อคุณแม่
คุณพ่อคุณแม่ก็จะอินมากกว่าคุณลูก
ภาพที่จิตนาการนั้น ควรเป็นภาพที่ ตลก เกินจริง เวอร์วัง ดราม่า รันทด หดหู่
เพื่อให้สมองจดจำความแปลกประหลาดของจินตภาพนี้ได้มากที่สุด
ช่วงเวลานี้ ครูสุคิดว่า เป็น quality time สำหรับ
คุณแม่และคุณลูก ที่จะทำกิจกรรมที่ส่งเสริมจินตนาการด้วยกัน
credit : canva.com
เท่าที่สอนนักเรียนมา ตอนเด็ก ๆ นักเรียนจะมีจิตนาการที่ดีมาก ๆ ค่ะ
และ จะค่อย ๆ ลดลงมาเรื่อย ๆ ค่ะ จนกระทั่ง ไม่มี
ไม่ทราบว่า ขี้เกียจคิด หรือ ไม่มีจริง ๆ
ดังนั้น ถ้ามีกิจกรรมบางอย่าง ที่คุณพ่อ คุณแม่ และ ลูก ๆ ทำด้วยกัน
แล้วยังทำให้ ได้ผลประโยชน์ แห่งการจำศัทพ์ได้ง่ายขึ้น
รวมทั้ง ปลูกฝังให้เด็ก ๆ รักภาษาอังกฤษ
ปลูกฝังให้เด็กรู้จักค้นคว้า และสุดท้าย เขาจะคิดว่า
ภาษาอังกฤษ ไม่ได้ยาก
คุณพ่อคุณแม่ไม่ได้ต้องเก่งอังกฤษก่อน
ถึงจะเป็นเพื่อนเรียนภาษาอังกฤษกับลูกได้
แต่คุณพ่อคุณแม่ สามารถเรียนไปกับลูก ๆ ได้
หรือเป็นเพื่อนคอยเสริมจินตนาการลูก ๆ ได้ค่ะ
ครูสุคิดว่า กิจกรรมแบบนี้ดีมาก ๆ
และยังจะไม่เป็นการปล่อยให้เขาเติบโต โดยแบกความหวังต่าง ๆ
ของพ่อแม่ไว้เพียงลำพัง พ่อแม่ได้คอยช่วยเขา และ
ส่งเสริมเขาให้มีกำลังที่มากพอที่จะแบกความหวังไปด้วยกัน
1
แล้วอย่าลืมทบทวนศัพท์คำนั้น ๆ อีกนะคะ
ในรายละเอียดของวิธีการทบทวนศัพท์
ครูสุค่อยมาเล่าใน ep ถัด ๆ ไป อย่าลืมติดตามกันนะคะ
credit : canva.com
โฆษณา