29 พ.ค. 2021 เวลา 03:01 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ดาวเทียมที่ทำจากต้นไม้
เพื่อเศรษฐกิจอวกาศที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ในยุคที่ปัญหาจากขยะที่พวกเราสร้างขึ้นมีผลกระทบทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และสร้างผลกระทบขยายไปถึงในอวกาศกันเลยทีเดียว ทางแก้คืออะไร มาร่วมกันช่วยกันหาทางออกกันครับ
?? ทำไมเราถึงต้องทำดาวเทียมจากต้นไม้ ??
ปัจจุบันมีดาวเทียมหรือชิ้นส่วนที่มนุษย์ส่งขึ้นไปบนอวกาศมากกว่า 6000 ดวงโคจรอยู่รอบโลก ซึ่งในำนวนดังกล่าวหมดอายุการใช้งานไปแล้วกว่า 60% ซึ่งจัดว่าเป็นขยะอวกาศ
ปัญหาขยะอวกาศที่จะมีปัญหามากขึ้นเรื่อยๆ
ความต้องการติดต่อสื่อสาร การใช้อินเตอร์แน็ตที่มีมากขึ้นยิ่งทำให้จำนวนดาวเทียมที่คาดว่าจะถูกส่งขึ้นไปบนอวกาศอีกปีละกว่า 1000 ดวง ซึ่งจำนวนที่มากขึ้นย่อมก่อให้เกิดโอกาสที่จะมีชิ้นส่วนหลุดหล่นออกมายังโลกมากขึ้น ซึ่งวัสดุจำพวกอะลูมิเนียมเมื่อเคลื่อนผ่านชั้นบรรยากาศกลับมายังโลก ก็จะเปลี่ยนสภาพเนื่องจากถูกเสียดสีและความร้อนสูงเกิดเป็นวัสดุนาโน (nanomaterial) ซึ่งสามารถตกค้างอยู่ในชั้นบรรยากาศเป็นเวลานาน
ซึ่งวัสดุขนาดเล็กนี้สามารถลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศและปนเปื้อนกลับสู่โลกได้ ถ้าชิ้นส่วนใหญ่มากเผาไหม้ไม่หมดก่อนที่จะตกสู่พื้นโลก อย่างล่าสุดก็มีเหตุการณ์ที่ชิ้นส่วนจากยาน Long March-5b ที่กลับมาตกในมหาสมุทรอินเดียให้เป็นที่ระทึก
ถ้าใหญ่มากเวลากลับมายังโลกก็ต้องลุ้นกันว่าจะลงที่ไหน!!
#ต้นกำเนิดดาวเทียมจากต้นไม้
นักวิทยาศาสตร์จึงได้พยายามพัฒนาให้ชิ้นส่วนที่ใช้ในการผลิตดาวเทียมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อที่ดาวเทียมในอนาคตจะไม่เป็นขยะอวกาศที่เมื่อหลุดจากวงโคจรกลับสู่โลก โดยปัจจุบันมีสองทีมวิจัยที่ออกมาประกาศความพร้อมในการส่งดาวเทียมที่ใช้ไม้เป็นส่วนประกอบขึ้นสู่ท้องฟ้าอยู่สองรายคือประเทศญี่ปุ่นและฟินแลนด์
...
โดยทีมวิจัยของญี่ปุ่นนั้นเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเกียวโตและบริษัท Sumitomo Forestry ซึ่งเป็นบริษัทอายุกว่า 400 ปีที่เป็นผู้นำในการค้าขายไม้และยังมีการลงทุนในการพัฒนาไม้ให้เป็นวัสดุที่สามารถใช้งานได้หลากหลาย โดยทีมวิจัยได้พัฒนาไม้ที่มีคุณสมบัติในการทนต่อการใช้งานในอวกาศได้
หัวหน้าทีมวิจัยของญี่ปุ่นคือ Takoa Doi ผู้ซึ่งพัฒนาบูมเมอแรงให้สามารถทำงานได้ในสภาวะไร้แรงดึงดูดและเคยนำไปทดสอบบนสถานีอวกาศนานาชาติมาเเล้ว
Takao Doi ขณะทดสอบบูมเมอแรง
โดยดาวเทียมที่พัฒนาจากไม้ขอญี่ปุ่นมีแผนจะส่งขึ้นสู่วงโคจรภายในปี 2566
ทางฝั่งยุโรป ฟินแลนด์ก็ได้มีการประกาศที่จะส่งดาวเทียมขนาดเล็กที่ใช้ไม้เป็นวัสดุขึ้นสู่ท้องฟ้าเช่นกัน โดยพวกเขาตั้งเป้าที่จะส่งให้ได้ภายในปี 2564 ซะด้วย
โดยโครงการของทางฟินแลนด์ใช้ชื่อว่า WISA Woodsat ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง UPM ซึ่งเป็นผู้ผลิตกระดาษรายใหม่กับสถานศึกษา โดยใช้ดาวเทียมขนาดเล็กที่ออกแบบโดย Kitsat ดาวเทียมขนาด 10 x 10 x 10 ซม ที่พัฒนาเพื่อใช้ทางการศึกษา WISA Woodsat เมื่อส่งขึ้นสู่บรรยากาศจะทดลองทำหน้าที่ในการรับส่งสัญญาณคลื่นวิทยุสำหรับนักวิทยุสมัครเล่น
ในส่วนของไม้ที่ใช้ในการสร้างโครงด้านนอกของดาวเทียมนั้นก็ได้ถูกพัฒนาโดย UPM ที่ใช้ชื่อว่า plywood ซึ่งถูกเคลือบด้วยสารเคลือบชนิดพิเศษ เพื่อให้สามารถทนต่อสภาวะแวดล้อมในบรรยากาศได้ด้วย โดยวัสดุจะถูกติดตามความคงทนโดยเซ็นเซอร์และกล้องเซลฟี่ที่ติดไปกับดาวเทียมด้วย
WISA Woodsat ที่ได้เปิดตัวไปเมื่อเดือนเมษายน ก่อนเข้าสู่การทดสอบก่อนขึ้นบิน
WISA Woodsat จะถูกส่งจากฐานยิงในนิวซีแลนด์ ซึ่งจะโคจรอยู่ที่ระยะ 500-550 กิโลเมตรซึ่งต้นแบบของดาวเทียมได้ถูกผลิตขึ้นมาแล้ว อยู่ในขั้นตอนทดสอบความปลอดภัยก่อนส่งขึ้นไปสู่วงโคจร
เรียกได้ว่าวัสดุอย่างไม้ ถ้าสามารถผ่านการทดสอบที่จัดว่าหินในครั้งนี้คงเป็นจุดเริ่มในการใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรมอวกาศและอื่นๆ มากขึ้นเเน่ๆ
Japan developing wooden satellites to cut space junk, https://www.bbc.com/, 23 Dec 2020
Japan Hopes to Send a Wooden Satellite to Space in 2023, https://www.smithsonianmag.com/, 19 Jan 2021
World's first wooden satellite slated for launch – UPM partners with Finnish space companies Arctic Astronautics and Huld, https://www.wisaplywood.com/, 12 Apr 2021
If a satellite falls on your house, space law protects you — but there are no legal penalties for leaving junk in orbit, https://www.washingtonpost.com/, 22 May 2021
โฆษณา