25 พ.ค. 2021 เวลา 02:50 • ธุรกิจ
OVO ยูนิคอร์นฟินเทค ที่ใหญ่สุด ในอินโดนีเซีย
2
ประเทศอินโดนีเซีย มีสตาร์ตอัปที่เป็นยูนิคอร์น หรือสตาร์ตอัปที่มีมูลค่าเกินกว่า 3 หมื่นล้านบาท อยู่ทั้งหมด 8 บริษัท ส่งผลให้ประเทศอินโดนีเซียมียูนิคอร์นมากที่สุดในอาเซียน และมากเป็นอันดับ 4 ในภูมิภาคเอเชียเลยทีเดียว..
3
แต่รู้หรือไม่ว่าใน 8 บริษัทนั้น มีเพียงบริษัทเดียวที่เป็นแพลตฟอร์มด้านฟินเทค
โดยให้บริการด้านการชำระเงิน หรือ e-Wallet ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ
ซึ่งในปัจจุบัน บริษัทนี้ถูกประเมินมูลค่าอยู่ที่ 9 หมื่นล้านบาท
3
แล้วยูนิคอร์นฟินเทคเพียงหนึ่งเดียวในอินโดนีเซียให้บริการอะไรบ้าง ? และมีความเป็นมาอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
2
ถ้าพูดถึงสตาร์ตอัปจากประเทศอินโดนีเซีย บริษัทที่คนไทยพอจะเคยได้ยินชื่อ ก็จะมี
Gojek ที่ให้บริการเรียกรถและสั่งอาหาร
Traveloka ที่ให้บริการจองที่พัก
Tokopedia และ Bukalapak ที่เป็นแพลตฟอร์ม E-commerce
1
ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็น 4 บริษัทแรกของอินโดนีเซียที่ได้เป็นยูนิคอร์น
แล้วยูนิคอร์นอันดับที่ 5 คือใคร ?
แพลตฟอร์มที่สามารถก้าวมาเป็นยูนิคอร์น
อันดับที่ 5 ของอินโดนีเซียได้สำเร็จ
มีชื่อว่า “OVO” อ่านว่า โอ-โว
OVO เป็นแพลตฟอร์มด้านฟินเทคของบริษัท PT Visionet Internasional
ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ Lippo Group กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ในอินโดนีเซีย
2
โดย OVO ถูกเริ่มพัฒนาในปี 2016 และจัดตั้งเป็นบริษัทฟินเทคในปีถัดมา
บริการหลักของ OVO ก็คือกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Wallet
ซึ่งก็คล้ายกับ e-Wallet ที่หลายคนรู้จัก อย่างเช่น Alipay และ ShopeePay
หรือของไทยก็อย่างเช่น TrueMoney
1
ผู้ใช้งาน e-Wallet สามารถโอนเงินจากบัญชีธนาคารเข้าไป
เพื่อไว้ใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟนได้เลย
ไม่ว่าจะเป็นการซื้อของจากหน้าร้านที่รับจ่ายด้วย e-Wallet
หรือซื้อของออนไลน์ และยังสามารถโอนเงินได้ด้วย
1
จุดเด่นของ e-Wallet ก็คือไม่มีกำหนดเงินในบัญชีขั้นต่ำ
ไม่มีกำหนดอายุขั้นต่ำของผู้ใช้งานแบบบัญชีออมทรัพย์
และที่สำคัญคือมีคะแนนหรือเหรียญให้สะสม เพื่อไว้ใช้เป็นส่วนลดในอนาคต
1
แล้วทำไม OVO รุกเข้าสู่ธุรกิจ e-Wallet ?
โดยทั่วไปหากเรานึกถึง ช่องทางการจ่ายเงินแบบไม่ใช้เงินสด ก็จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
ประเภทแรกก็คือ ผ่านบัตรทั้งบัตรเครดิตและเดบิต
ประเภทถัดมาก็คือ ผ่านช่องทางดิจิทัล
ซึ่งในประเทศพัฒนาแล้ว บัตรเครดิตและเดบิตเป็นที่นิยมมาก และถูกใช้กันมานานจนคุ้นเคย
ในขณะที่ e-Wallet ซึ่งก็เป็นวิธีการใช้จ่ายแบบไร้เงินสดเหมือนกันแต่เริ่มมีทีหลัง กลับยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก
ในทางกลับกัน ในประเทศกำลังพัฒนา เช่น อินโดนีเซีย
การใช้จ่ายผ่าน e-Wallet กลับได้รับความนิยมสูงมาก
นั่นก็เพราะว่าประชากรที่มีบัตรเครดิตและเดบิตยังถือว่าเป็นสัดส่วนที่น้อย
ในขณะที่การสมัครบัตรเครดิตมีเงื่อนไขหลายอย่าง เช่น เกณฑ์เงินเดือนย้อนหลังหรือเงินฝากขั้นต่ำ
นั่นจึงทำให้ e-Wallet ที่มีเงื่อนไขน้อยกว่าและเข้าถึงโดยผ่านสมาร์ตโฟนได้ทันที จึงกลายเป็นที่นิยม
3
ซึ่งความนิยมของ e-Wallet นี้ ก็สะท้อนได้จากข้อมูลของปีที่ผ่านมา
ที่ e-Wallet เป็นช่องทางการชำระเงินที่คนในประเทศกำลังพัฒนาเลือกใช้มากที่สุด
และในอินโดนีเซียเอง ผลสำรวจก็พบว่า คนอินโดนีเซียเลือกชำระเงินผ่าน e-Wallet มากที่สุดเช่นกัน
1
นั่นเลยทำให้ตลาด e-Wallet ในอินโดนีเซีย มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด
โดยในปัจจุบันก็มีผู้เล่นหลักอยู่ 3 ราย นั่นก็คือ OVO, DANA และ GoPay
ซึ่ง GoPay เป็น e-Wallet ของ Gojek ยูนิคอร์นที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย
ส่วน DANA ก็มีสัดส่วนผู้ใช้งานตาม OVO มาติด ๆ ซึ่งมี Ant Financial บริษัทการเงินของ Alibaba เป็นผู้ลงทุนหลัก
แล้วใครบ้างที่ลงทุนใน OVO
จนมีการเติบโตและเป็นผู้นำอันดับ 1 ในตลาดนี้ ?
1
เส้นทางการเติบโตอย่างรวดเร็วของ OVO
เริ่มต้นมาจากการเป็นพันธมิตรกับสตาร์ตอัปยักษ์ใหญ่
อย่าง Grab, Tokopedia, Zalora และ Lazada ในอินโดนีเซีย
ด้วยการเข้าไปเป็นช่องทางการชำระเงินบนแพลตฟอร์มเหล่านั้น
อย่างกรณีของ Grab และ Tokopedia ก็ได้ใช้ OVO
เป็นช่องทางในการชำระเงินบนแพลตฟอร์มของตัวเอง
จนในภายหลัง Grab และ Tokopedia ก็ได้เข้ามาร่วมลงทุนใน OVO ด้วย
และได้กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 2 อันดับแรก ด้วยสัดส่วนคนละกว่า 40%
1
จนในปี 2019 หรือเพียง 3 ปีหลังจากที่เริ่มพัฒนาแพลตฟอร์ม
OVO ก็ได้กลายเป็นยูนิคอร์นอันดับที่ 5 ของอินโดนีเซีย และเป็นสตาร์ตอัปฟินเทคที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย ที่มีผู้ใช้งานในประเทศมากที่สุด ซึ่งมีมูลค่าบริษัทในปัจจุบันกว่า 9 หมื่นล้านบาท
2
และล่าสุด เมื่อกลางปี 2020 ที่ผ่านมา OVO กับ DANA ก็ได้ตกลงควบรวมกิจการกัน
เพื่อที่จะเอาชนะ GoPay และกลายเป็น e-Wallet ที่ใหญ่สุดเพียงผู้เดียวในประเทศ
1
โดยในปัจจุบัน OVO ก็กำลังขยายตลาดไปสู่บริการทางการเงินในด้านอื่น ๆ
ทั้งการเป็นแพลตฟอร์มการลงทุนและช่องทางซื้อขายประกันอิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งโอกาสในการเติบโตของ OVO ต่อจากนี้ ยังถือว่ามีอยู่อีกมาก
หากลองพิจารณาจากข้อมูลเหล่านี้
1
อินโดนีเซีย เป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของโลก
แต่มีคนอินโดนีเซียกว่า 1 ใน 3 ที่เข้าไม่ถึงบริการทางการเงินจากธนาคารพาณิชย์
ยิ่งถ้าเป็นเรื่องของการลงทุน มีประชากรราว 1% เท่านั้น ที่เข้าถึงการลงทุน
นอกจากนี้ ยังมีคนที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพียง 32%
และคนที่มีสมาร์ตโฟนเพียง 42% ของประชากร
จากเรื่องราวทั้งหมดนี้ เราจึงพอสรุปได้ว่า OVO
ยังมีโอกาสในการขยายฐานลูกค้าไปหาลูกค้าทั่วประเทศ
และตอนนี้อาจเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเติบโตเท่านั้น
1
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
Tokopedia ซึ่งเป็น E-commerce ที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย
เลือกลงทุนใน OVO เพื่อที่จะสู้กับสตาร์ตอัปที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ
อย่าง Gojek ที่มี GoPay เป็น e-Wallet ของตัวเอง
แต่ล่าสุด
Tokopedia กับ Gojek ก็ประกาศว่าจะควบรวมกัน
โดยใช้ชื่อใหม่ว่า GoTo ไปเป็นที่เรียบร้อย..
โฆษณา