25 พ.ค. 2021 เวลา 14:11 • การตลาด
#Femvertising ไม่ใช่แค่เทรนด์โฆษณา แต่มันคือจุดเปลี่ยนอนาคต
ปี 2004 Dove เปิดแคมเปญ Real Beauty สื่อว่าผู้หญิงทุกคน ต่างก็มีความงดงามในตัวเอง ไม่ว่าพวกเธอจะอยู่ในรูปร่าง สีผิว เส้นผม หรือวัยใด
เพราะ Dove เชื่อว่า เมื่อเราก้าวข้าม ความเชื่อเปลือกปลอมของสังคม เราจะเข้าถึงศักยภาพได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้แคมเปญ Real Beauty ประสบความสำเร็จ ได้ใจคนทั้งโลก
นับตั้งแต่นั้น แบรนด์ต่างๆก็เริ่มหันมา เสนอแคมเปญ สร้างความเท่าเทียม ความภาคภูมิใจให้ผู้หญิง อาทิ #LikeAGirl ของ p&g #ThisGirlCan ของ Sport England #SorryNotSorry ของ Pantene ที่แฝงการขายว่า “ เราไม่ได้ดูแลเพียงเส้นผมที่แข็งแรง แต่เรากำลังทำให้ผู้หญิงทุกคนแข็งแรงขึ้นด้วย”
.
จากความภาคภูมิใจ สู่การสั่นคลอนวัฒนธรรมปิตาธิปไตย หรือ ชายเป็นใหญ่ เช่น จีน และ อินเดีย ด้วยแคมเปญ #changedestiny ของ SK-II #ShareTheLoad ของ Ariel
.
Femvertising กลายเป็นความท้าทายขึ้นเรื่อยๆ จนมาถึง Olay
#FacetheSTEMgap อีกแคมเปญที่กล้าหาญมาก ใช้พรีเซ็นเตอร์เป็นผู้หญิงที่ทำงานสาย STEM มาแทนนางแบบจากโมเดลลิ่ง เขียน copy ทั้งหมดด้วย ภาษา code ซึ่งไม่มีใครอ่านออก นอกจากคนสาย STEM ด้วยกัน
ทันทีที่เปิดตัว แคมเปญนี้ก็สร้าง Viral ทันที โดยผู้ที่รู้ภาษา STEM ต่างแปลลงในสื่อ Social ประเด็นที่ Olay อยากบอก คือ ถ้าคุณไม่ใช่ผู้ชาย โอกาสที่คุณจะได้ทำงานในสาขานี้มีแค่ 24% และถ้าคุณไม่ใช่คนผิวขาว หรือคุณเป็นชาวเอเชีย โอกาสที่คุณจะได้ทำงานในสาขานี้มีแค่ 5%
Olay จึงอยากเพิ่มโอกาสให้ผู้หญิงได้ทำงานในด้านนี้ภายในปี 2030
เพราะเมื่อผู้หญิงในสายงาน STEM มากขึ้น มันจะสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่
Olay เชื่อว่าอีกไม่นาน ผู้หญิงนับล้านจะอ่านโค้ดได้
.
#FacetheSTEMgap ได้ใจผู้หญิงมากมาย และแฝงศรัทธาในวิทยาศาสตร์ของความงามที่ซ่อนอยู่ภายใต้แบรนด์ Olay
ขอบคุณ ช้องนาง นาวีว่อง แปล sub thai
.
โฆษณา