25 พ.ค. 2021 เวลา 16:14 • การตลาด
ประเทศไทยกำลังจะมีฟาร์มพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Farm) แบบลอยน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก
3
ที่มา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
สัดส่วนการผลิตกระแสไฟฟ้าของประเทศไทยตามข้อมูลจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มาจาก ก๊าซธรรมชาติ 59.88% ถ่านหินนำเข้า/ลิกไนต์ 18.34% นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน 11.82% พลังงานหมุนเวียน 7.40% พลังงานน้ำ 2.39% และ จากน้ำมันเชื้อเพลิง 0.17%*
จากตัวเลขข้างต้นเราใช้พลังงานจากฟอสซิล (Fossil) ที่เกิดมาจากการทับถมของสารอินทรีย์ต่างๆมานานนับล้านปี จนกลายมาเป็นน้ำมัน ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ ถึง 78.39% หรือเกือบ 4 ใน 5 ของแหล่งเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า และมีบางส่วนที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศด้วย
ที่มา Facebook กฟผ. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
นอกจากจะต้องสูญเสียเงินตราต่างประเทศแล้ว เรายังมีโอกาสถูกกดดันจากต่างประเทศ ให้ดำเนินการเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้จำหน่ายพลังงานได้ด้วย ในแบบที่เราไม่สามารถปฏิเสธได้
3
การใช้พลังงานทดแทนของประเทศไทยอย่างเช่น พลังงานน้ำ พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ หรือพลังงานไฟฟ้าชีวมวล ยังมีสัดส่วนที่น้อยมาก ทั้งที่พลังงานเหล่านี้ยังเป็นสิ่งที่ไม่มีต้นทุนและใช้แล้วไม่หมดไปด้วย ยกเว้นพลังงานไฟฟ้าชีวมวลที่จะมีต้นทุนอยู่บ้างแต่ก็ต่ำกว่าพลังงานจากฟอสซิล
โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานจากแสงอาทิตย์ที่ไทยเรามีอย่างเหลือเฟือ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนของประเทศก็มีแสงอาทิตย์ทั้งปี จึงเป็นพลังงานเหมาะกับการนำมาผลิตกระแสไฟฟ้าอย่างมาก
2
ประเทศไทยมีพื้นที่ชุ่มน้ำอยู่ประมาณ 30% ที่ไม่ได้นับรวมพื้นที่ในทะเล การใช้พื้นที่ที่เป็นน้ำจึงมีความเหมาะสมลงตัว ทั้งยังทำให้เพิ่มประสิทธิภาพของการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ได้ 5-20% จากความเย็นของน้ำด้านล่างที่ช่วยในการระบายความร้อน (ที่มา SCG)
2
ที่มา https://www.scg.com/innovation/floating-solar-farm/
ด้วยความเหมาะสมหลายๆด้านของการใช้พื้นที่ชุ่มน้ำในการผลิตกระแสไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ “การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย” จึงได้ดำเนินการสร้างโซลาร์ฟาร์มที่ใหญ่ที่สุดในโลกขึ้นมาในพื้นที่ 300 เอเคอร์ (ประมาณ 760 ไร่) ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนสิรนธร จังหวัดอุบลราชธานี คิดเป็นพื้นที่ไม่ถึง 1% ของพื้นที่อ่างเก็ยน้ำทั้งหมด
1
คาดว่าโครงการนี้ได้ดำเนินการติดตั้งแล้วเสร็จไปแล้ว มีเป้าหมายว่าจะสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ในช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2564 นี้ สถานีผลิตไฟฟ้าแห่งนี้มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 45 Mega Watts เป้าหมายต่อไปคือการดำเนินการต่อในเขื่อนอื่นๆ ของ กฟผ. ให้ครบ 2,725 เมกะวัตต์ วางเป้าหมายจะเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนเป็น 35% ภายในปี พ.ศ. 2570
โครงการนี้ใช้แผงโซลาร์เซลล์กว่า 144,000 หน่วย พร้อมด้วยการวางแผนเป็นอย่างดีไม่ว่าจะเป็นการใช้พื้นที่ผิวน้ำ สถานที่ไฟฟ้าแรงสูงและสายส่งที่มีอยู่แล้ว จึงทำให้มีต้นทุนในการผลิตที่ต่ำลง และแน่นอนว่าคนไทยก็จะได้ใช้กระแสไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดที่มีต้นทุนต่ำลง
การใช้พื้นที่อ่างเก็บน้ำที่นอกจากจะมีข้อดีในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของแผงวงจรแล้ว ยังลดต้นทุนได้มากกว่าการใช้พื้นที่บนบก เพราะไม่ต้องลงทุนค่าสถานที่เพิ่มเลย ที่สำคัญอีกอย่างก็คือการติดตั้งที่พื้นที่อ่างเก็บน้ำก็ลดความเสี่ยงจากคลื่นลมแรงได้ดีกว่าที่จะติดตั้งในทะเล
3
นอกจากนี้แล้วยังสามารถพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวได้อีกด้วย ซึ่งจะสร้างรายได้สู่ชุมชนและกลับคืนเข้ารสู่ระบบเศรษฐกิจของประเทศได้อีกด้วย
แต่สิ่งที่สำคัญก็คือประโยชน์ที่คนไทยจะได้รับจากโครงการนี้ เพราะเราจะมีความมั่นคงทางพลังงานมากขึ้น ต้นทุนในการผลิตสินค้าจะลดลงจากการที่กระแสไฟฟ้ามีต้นทุนลดลง เราสามารถผลิตสินค้าแข่งขันกับต่างประเทศได้ และยังเพิ่มกำลังการซื้อในแประเทศได้ เพราะค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูประโภคลดลง ราคาสินค้าก็ลดลงเพราะต้นทุนลดลงด้วย
4
ที่มา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ในเวลานี้โครงการนี้ไม่ได้อยู่บนกระดาษแต่ได้ลงมือทำไปแล้วและกำลังจะให้คนไทยได้ใช้กันแล้ว เมื่อมีการขยายโครงการออกไปตามเป้าหมาย เชื่อมั่นว่าประเทศไทยเราจะน่าอยู่ขึ้นอีกเยอะเลย
ที่มา:
*สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าของไทย แยกตามชนิดเชื้อเพลิง ช่วง 8 เดือนแรกของปี 2560, การไฟฟ้าฝ่ายผลิตของประเทศไทย
สามารถติดตามข้อมูลแนวคิดทางการตลาดยุคใหม่ได้ที่
Instagram: Modernizationmarketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
Face Book Page: Thailand Modern Marketing
YouTube Channel: Modernization marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
สนใจการทำตลาดสุขภาพที่มีการรับรองจากเอกสารทางการแพทย์แล้ว
ติดต่อได้ที่
สนใจตัดต่อคลิปวีดีโอ
สามารถติดต่อได้ที่: Inbox หรือที่ Email sarayuth407@hotmail.com
โฆษณา