Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ชมรมนักกฎหมายก่อสร้าง
•
ติดตาม
26 พ.ค. 2021 เวลา 15:37 • การศึกษา
โจทก์ เป็น ผู้รับจ้างช่วง
จำเลย เป็นผู้รับจ้างหลัก
คดีนี้ผู้รับจ้างช่วงฟ้องผู้รับจ้างหลักให้ชำระค่าจ้างงานก่อสร้างที่ผู้รับจ้างช่วงได้ทำไปแล้ว ประเด็นในคดีนี้คือ ผู้รับจ้างช่วงฟ้องผู้รับจ้างหลักภายในอายุความหรือไม่ ??
ศาลวินิจฉัยไว้เป็นแนวทางว่า ตาม ปพพ. ม. 193/34 บัญญัติไว้ว่า "สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ ให้มีกำหนดอายุความสองปี (1) ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรม ผู้ประกอบหัตถกรรม ผู้ประกอบศิลปอุตสาหกรรมหรือช่างฝีมือ เรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบ ค่าการงานที่ได้ทำ หรือค่าดูแลกิจการของผู้อื่น รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป #เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง ...”
คดีนี้ผู้รับจ้างช่วงเป็นผู้ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้างและงานก่อสร้างทุกชนิด ฟ้องเรียกร้องให้ ผู้รับจ้างหลัก ชำระหนี้ค่าจ้างส่วนที่ค้างชำระตามสัญญา โดยผู้รับจ้างหลักทำสัญญาว่าจ้างให้ผู้รับจ้างช่วง ส่งช่างพ่นสีและช่างพ่นทรายพร้อมอุปกรณ์ไปทำงานให้ผู้รับจ้างหลักซึ่งรับเหมาก่อสร้างโรงไฟฟ้า เงินค่าจ้างที่ผู้รับจ้างหลักต้องชำระให้แก่ผู้รับจ้างช่วงนั้น เป็นค่าแรงงาน ค่าเช่าอุปกรณ์ และค่าทำงานล่วงเวลาของคนงานของผู้รับจ้างช่วง ย่อมถือได้ว่าเป็นการที่ผู้รับจ้างช่วงซึ่งเป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ใช้สิทธิเรียกร้องให้ผู้รับจ้างหลัก ใช้ค่าการงานที่ได้ทำ และ #งานที่ได้ทำก็เพื่อกิจการของผู้รับจ้างหลักอยู่ด้วย กรณีจึงตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/34(1) ตอนท้ายที่ว่า เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง
และตาม ปพพ. ม. 193/33 บัญญัติว่า "สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ให้มีกำหนดอายุความห้าปี (1)...(5) สิทธิเรียกร้องตามมาตรา 193/34 (1) (2) และ (5) ที่ไม่อยู่ในบังคับอายุความสองปี" ดังนั้น อายุความสิทธิเรียกร้องของผู้รับจ้างช่วงจึงมีกำหนด 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 (5) ไม่ใช่อายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (1)
#เมื่อผู้รับจ้างช่วงฟ้องคดีนี้ภายในกำหนด5ปีนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ฟ้องของผู้รับจ้างช่วงจึงไม่ขาดอายุความ
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย