Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นพรัตน์ ทองศักดิ์
•
ติดตาม
27 พ.ค. 2021 เวลา 01:31 • ไลฟ์สไตล์
เมื่อเรากล่าวคำว่าสวัสดี คนไทยเรายังยกมือขึ้นประนมไหว้ตรงอก มือทั้งสองจะประสานกันเป็นรูปดอกบัวตูม เหมือนสัญลักษณ์ที่สื่อความหมายถึงสิ่งสูงค่าที่เป็นมงคล เพราะชาวไทยใช้ดอกบัวในการสักการะผู้ใหญ่ บูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ส่วนการวางมือไว้ตรงระดับหัวใจนั้น เป็นการถ่ายทอดความรู้สึกให้เห็นว่า การทักทายนั้นมาจากใจของผู้ไหว้
sawadd.com
สวัสดี ดอท คอม
สวัสดี โซเชียลเน็ทเวิร์คประสบการณ์ใหม่ ที่นี่ทุกไลค์ทุกความเห็นของคุณมีคุณค่า ทำกิจกรรมโซเชียลพิชิตภาระกิจเพื่ออัพเลเวล เก็บคะแนนรับรางวัลต่างๆ มากมาย สร้างชุมชนในฝันของคุณ เกมสวัสดี เกมส์สวัสดี สว…
เรียนรู้เพิ่มเติม
ดังนั้น เมื่อกล่าวคำว่าสวัสดีพร้อมกับการยกมือขึ้นประนม จึงแฝงให้เห็นถึงความมีจิตใจที่งดงามของคนไทย ที่หวังให้ผู้อื่นพบเจอแต่ในสิ่งที่ดี ซึ่งการกระทำดังกล่าวนี้ ถือเป็นมงคลต่อทั้งตัวผู้พูดและผู้ฟัง และยังสามารถเพิ่มเสน่ห์ในตัวบุคคลได้อีกด้วย
นอกจากนี่แล้ว การใช้คำว่าสวัสดียังขึ้นอยู่กับสถานะของผู้พูดด้วย ถ้าพูดกับคนที่มีอายุมากกว่าหรือตำแหน่งสูงกว่าผู้ชายจะใช้คำว่าครับตามหลังคำว่าสวัสดี เป็นสวัสดีครับ ผู้หญิงจะใช้คำว่าค่ะตามหลัง เป็นคำว่าสวัสดีค่ะ แต่ถ้าผู้พูดมีอายุมากกว่าหรือเท่ากับผู้ฟังหรือมีตำแหน่งที่สูงกว่าผู้ฟังก็จะใช้เพียงคำว่าสวัสดี
youtube.com
สวัสดีตอนเช้า ไหว้ อวยพรตอนเช้า
โหลดฟรี รูป สวัสดีตอนเช้า รูปสวัสดีตอนเช้าสวยๆ ข้อความอวยพรประจำวัน ความหมายดีๆ ข้อคิด คำคม ขอให้พระคุ้มครอง รูปใหม่ คำอวยพร รูปการ์ตูน ช่วยให้ผู้รับมีความสุ...
“สวัสดี” คำนี้เป็นคำที่รัฐบาลไทยกำหนดเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2486 ให้ใช้เป็นคำทักทายเมื่อพบหรือจากลา หากย้อนไปเมื่อ 70 ปีที่แล้ว ผู้ที่ริเริ่มใช้คำนี้ก็คือ พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) โดยได้นำมาจากศัพท์ “โสตถิ” ในภาษาบาลี หรือ “สวสฺติ” ในภาษาสันสกฤต และได้เริ่มใช้ครั้งแรก ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะที่ท่านเป็นอาจารย์อยู่ที่นั่น
ต่อมา ทางจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น เห็นชอบให้ใช้คำว่า “สวัสดี” เป็นคำทักทายอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2486 เป็นต้นมา
สำหรับคำว่า “สวสฺติ” เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า “ขอความดีความงามจงมี (แก่ท่าน)” ซึ่งทางพระยาอุปกิตศิลปสาร ได้ปรับเสียงให้ง่ายต่อการออกเสียงของคนไทย จากคำสระเสียงสั้น เป็นสระเสียงยาว เป็นคำว่า “สวัสดี” ให้มีความไพเราะ และลื่นหูมากขึ้น และหลังจากนั้น คำว่า “สวัสดี” จึงใช้เป็นคำทักทายที่ไพเราะและสื่อความหมายดี ๆ ต่อกันของคนไทย
ส่วนคำทักทายอื่น ๆ ก็ถูกแปลงมาจากภาษาอังกฤษ ในสมัยของจอมพล ป.พิบูลสงคราม เช่นกัน โดยกำหนดให้คนไทยทักกันในทุกช่วงเวลา…
ตอนเช้าทักทายว่า “อรุณสวัสดิ์” มาจากคำว่า “good morning”
ตอนบ่ายทักทายว่า “ทิวาสวัสดิ์” มาจากคำว่า “good afternoon”
ตอนเย็นทักทายว่า “สายัณห์สวัสดิ์” มาจากคำว่า “good evening”
ตอนกลางคืนทักทายว่า “ราตรีสวัสดิ์” มาจากคำว่า “good night”
แต่คำบางคำ ก็ไม่เป็นที่นิยมใช้สักเท่าไหร่ เหลือเพียงคำว่า สวัสดี, อรุณสวัสดิ์ และราตรีสวัสดิ์เท่านั้น
เช้านี้ คุณส่งสวัสดีตอนเช้า แล้วหรือยัง
ที่มา:
https://sawadd.com
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย