27 พ.ค. 2021 เวลา 10:50 • ธุรกิจ
สรุปวิธีโกง ทุกรูปแบบ ในวงการ การเงิน
5
ในปี 1821 หรือย้อนกลับไป 200 ปีก่อน
อดีตทหารและนักสำรวจดินแดนชาวสกอตแลนด์
นามว่า “Gregor MacGregor” ได้อ้างว่าตนเองได้ค้นพบประเทศ Poyais (โปเยส)
ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ และได้นำสิทธิ์การเป็นเจ้าของพื้นที่ในประเทศ
ไปเสนอขายแก่นักลงทุนชาวอังกฤษและฝรั่งเศส
แต่ท้ายที่สุดแล้วประเทศ Poyais นั้น กลับไม่มีอยู่จริง..
11
และแม้ว่าวันเวลาได้ล่วงเลยผ่านไป กลโกงเหล่านี้กลับไม่ได้หายไป
แต่กลับวิวัฒนาการตามยุคตามสมัย เปลี่ยนจากประเทศเป็นสินค้า
เปลี่ยนจากสินค้าเป็นผลตอบแทนที่สวยหรูจากการลงทุน
3
เมื่อไม่นานมานี้ Netflix ได้ออกสารคดีเกี่ยวกับการเงิน “Money, Explained”
โดยมีตอนย่อยที่ชื่อว่า Get Rich Quick ซึ่งก็ได้เล่าถึงกลโกงทางการเงิน
ในรูปแบบต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
3
netflix.com
แล้วทุกวันนี้ เรากำลังเผชิญกับกลโกงอะไรบ้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
3
“เพียงแค่ฝากเงินกับเรา การันตีผลตอบแทนถึง 20% ต่อเดือน”
“นี่คือสินทรัพย์รูปแบบใหม่ ที่มีเทคโนโลยีอยู่เบื้องหลัง ผู้ที่ไม่ลงทุนคือคนล้าหลัง”
8
นับเป็นหลายศตวรรษแล้ว ที่คำโฆษณาเกินจริงเหล่านี้อยู่กับเรามาโดยตลอด
ตั้งแต่การบอกปากต่อปากวิวัฒนาการมาเป็นโทรทัศน์และอินเทอร์เน็ตในยุคปัจจุบัน
3
รู้ไหมว่า โดยปกติแล้วคนเรามักจะคิดว่าตัวเองรู้ทันคำโกหกของคนอื่นเสมอ
ทั้ง ๆ ที่จริงแล้ว เราเองอาจจะไม่ได้เป็นแบบนั้น
18
หากย้อนดูเฉพาะประเทศไทยที่ผ่านมา
จะเห็นได้ว่าเจอการฉ้อโกงมาตลอด
แม้จะมีเปลี่ยนรูปแบบที่ต่างกันออกไป
แต่ผลลัพธ์ที่ไม่ต่างกันก็คือ ผู้เสียหายที่ยังคงติดกับดักจำนวนมากอยู่เสมอ
6
ตั้งแต่เหตุการณ์ แชร์แม่ชม้อย, แชร์ชาร์เตอร์, แชร์แม่มณี, Forex 3D, ซินแสโชกุน
และล่าสุดก็น่าจะเป็น “ประสิทธิ์ เจียวก๊ก” ที่หลอกลวงในรูปแบบของทัวร์
หากนับมูลค่าความเสียหายทั้งหมด รวมกันก็น่าจะเกินกว่าหมื่นล้านกว่าบาท
8
ซึ่งก็เป็นหลักฐานสำคัญว่า
สุดท้ายแล้วคนเราก็ยังไม่สามารถตามทันคำโกหกของผู้อื่น
ดังนั้นเพื่อเป็นการไม่ประมาท เราจึงควรรู้จักกับการโกงในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งแบ่งออกเป็น
4
วิธีที่หนึ่งคือ “Advance Fee”
กลวิธีจ่ายเงินก่อน เพื่อแลกกับเงินก้อนใหญ่ทีหลัง
เป็นวิธีหลอกลวงเอาเงินก้อนหนึ่ง และหลังจากนั้นก็จะหายไปเลย
มักพบทางสังคมออนไลน์ อย่าง Facebook หรือตามอีเมลที่ส่งมา
1
เราอาจเคยเจอกับประโยคว่า
“คุณได้รับรางวัลเงินล้าน เพียงแค่โอนเงินค่าธรรมเนียมมา รับทันที”
หรือ “คุณโอนเงินมาให้ก่อน แล้วเราจะส่งใบแสดงสิทธิ์ความเป็นเจ้าของสินทรัพย์ให้ภายหลัง”
สิ่งเหล่านี้ก็คือ กลโกงแบบ Advance Fee นั่นเอง
รู้หรือไม่ว่าถึงกลวิธีนี้จะดูแสนเชยก็ตาม แต่ยังสามารถกอบโกยได้มหาศาลทั่วทุกมุมโลก
11
วิธีถัดมาก็คือ “Pump & Dump” หรือกลวิธีลากขึ้นไปเชือด
ซึ่งเป็นกลโกงยอดนิยมในปัจจุบันอย่างมาก
5
โดยวิธีนี้จะหลอกให้คนเข้าไปลงทุนในสิ่งที่ไม่มีค่าหรือไร้ค่า
หลังจากนั้นเหล่าคนที่อยู่เบื้องหลังการโกง จะคอยปั่นราคาให้สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ
และทยอยขายเมื่อราคาเริ่มถึงจุดที่จะไปต่อไม่รอด
15
ปัจจุบันมักพบเจอกลวิธีนี้ในวงการซื้อขายหุ้นรวมถึงสินทรัพย์ดิจิทัล
โดยขั้นตอนคือจะมีคนส่งสัญญาณปั่นราคาเข้าไปในแอปส่งข้อความต่าง ๆ
เช่น Telegram เพื่อให้คนวงในเข้าไปซื้อสินทรัพย์ก่อน แล้วดันราคาให้พุ่งขึ้นสูง
9
หลังจากนั้นคนอื่นจะคิดว่าสินทรัพย์นี้กำลังเป็นที่นิยมและอยู่ในช่วงขาขึ้น
จึงตามเข้าไปซื้อด้วย และเวลาต่อมานี้เองที่เหล่าคนวงในจะขายทำกำไร วัฏจักรการโกงจึงสิ้นสุดลง
2
อีกวิธีซึ่งอยู่กับคนไทยมาอย่างยาวนาน
ก็คือ Ponzi Scheme หรือธุรกิจ “แชร์ลูกโซ่” แบบพอนซี
1
https://www.longtunman.com/12950
โดยชื่อนี้ตั้งตามชาร์ลส์ พอนซี ชาวอิตาลีที่อพยพมาสหรัฐอเมริกา ในปี 1920
ซึ่งเขาอ้างกับผู้ที่มาลงทุนด้วยว่า จะได้ผลตอบแทน 50% ภายใน 45 วัน
แต่ถ้ารอถึง 6 เดือน จะได้ผลตอบแทนถึง 2 เท่า
4
อย่างไรก็ตาม ความเป็นจริงคือ เขาแค่เอาเงินของนักลงทุน
รายใหม่มาจ่ายให้รายเก่าไปเรื่อย ๆ เช่น สมมติให้ A เป็นสมาชิกก่อน B
4
เมื่อ B นำเงินเข้ามาลงทุน เงินส่วนนั้นก็จะถูกกระจายไปยัง A
และเมื่อ C เข้ามาเป็นสมาชิกลำดับถัดมา เงินในส่วนนี้เองก็กระจายไปยัง A และ B
ซึ่งปัญหาจะเกิดขึ้นเมื่อถึงจุดจุดหนึ่งที่หมุนเงินในระบบ
และสร้างผลตอบแทนให้กับคนที่เข้ามาลงทุนไม่ทัน
นั่นจึงทำให้แชร์ลูกโซ่ล้มลงไป
theguardian.com
เป็นกรณีเดียวกับแชร์ลูกโซ่ครั้งใหญ่ที่สหรัฐอเมริกา ในปี 2008
Bernie Madoff ที่รับประกันว่านักลงทุนจะได้รับผลตอบแทนปีละ 10-15%
ทั้ง ๆ ที่จริงแล้วกองทุนของเขาไม่สามารถทำได้
แต่ใช้เงินจากนักลงทุนรายใหม่มาจ่ายรายเก่าเท่านั้นเอง
4
ซึ่งการฉ้อโกงส่วนใหญ่ในประเทศไทย ก็ถูกจัดอยู่ในประเภทนี้
เช่น แชร์แม่ชม้อย หรือแชร์ชาร์เตอร์
4
อีกรูปแบบของแชร์ลูกโซ่
จะอยู่ในรูปแบบของ Pyramid หรือธุรกิจ “แชร์ลูกโซ่” แบบเครือข่าย
3
รูปแบบของกลโกงนี้จะแตกต่างจากพอนซีตรงที่ว่า
สมาชิกแต่ละคนจะเป็นคนหาลูกข่ายของตัวเอง
เมื่อเทียบกับพอนซีจะมีผู้บงการเพียงคนที่จัดระดมทุน
โดยสมาชิกในเครือจะแค่รอกำไรเข้ามา
ซึ่งทั้ง 2 วิธี จะเริ่มมีปัญหาเดียวกัน เมื่อไม่สามารถหาผู้เข้ามาร่วมในวงคนต่อไปได้
3
บางบริษัทที่ทำธุรกิจเครือข่ายหรือขายตรง
ก็ใช้วิธีการดึงคนเข้าแบบนี้เช่นกัน
จากตอนแรกโปรโมตขายสินค้า ต่อมาก็ชวนขายของด้วยกัน
3
laconteconsulting.com
หลายคนอาจสงสัยว่าทำไม MLM กลับเป็นธุรกิจถูกกฎหมาย
เพราะมันมีกติกาอยู่ว่าตราบใดที่เงินจากการขายสินค้ามากกว่าค่าธรรมเนียมการเข้า
จะยังไม่ถือเป็นแชร์ลูกโซ่นั่นเอง
6
กรณีในประเทศไทยคือ แชร์บลิสเชอร์
ที่ถูกจัดตั้งโดยบริษัท บลิสเชอร์ อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด
ซึ่งให้บริการที่พักสำหรับผู้ที่สมัครสมาชิกในราคาพิเศษ
และหากสมาชิกรายอื่นสามารถหาคนมาสมัครสมาชิกเพิ่มได้ จะมีค่าตอบแทนด้วย
1
แต่เหตุการณ์ก็ต้องจบลง
เมื่อพบว่าบลิสเชอร์ไม่มีที่พักของตนเองเลย
บัตรสมาชิกไม่สามารถใช้งานได้จริง
สุดท้ายแล้วแชร์ลูกโซ่รายนี้ก็ล่มสลายหายไป ซึ่งสร้างความเสียหาย 800 ล้านบาท
6
นอกจากนั้นการมีเฉพาะกลโกงอย่างเดียว จะไม่เพียงพอสำหรับหลอกล่อให้ผู้คนเข้ามา
คนฉ้อโกงเหล่านี้จึงทำการตลาดควบคู่กันไปด้วย
2
เช่น Fantastic Promise คำสัญญาที่สวยหรู
“คุณสามารถสร้างรายได้มหาศาล โดยไม่ต้องสร้างสินค้าสักชิ้น”
ทำให้คนเริ่มสนใจ ด้วยวิธีการที่ดูเรียบง่าย แต่ได้ผลตอบแทนที่สูง
3
Compelling Story นำเสนอเรื่องราวจากดินสู่ดาว
“จากพนักงานออฟฟิศ เงินเดือน 15,000 บาท สู่การเป็นนายของตัวเองที่มีเงินเดือนเป็นล้าน”
เพื่อสร้างความหวัง ซึ่งทำให้หลายคนคิดว่าตัวเองก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน
7
Social Proof มีหลักฐานยืนยันจากสมาชิก
“แค่ผมทำตามที่เขาสอน ผมก็สามารถจับเงินล้านได้ภายในปีเดียวเท่านั้น”
เพราะพฤติกรรมคนส่วนใหญ่มักเชื่อรีวิวจากลูกค้ากันเอง
3
Sense of Urgency สร้างความรู้สึกรีบร้อน
“รับสมาชิกเพียง 30 คนเท่านั้น รอบครั้งก่อนเต็มเร็วมาก สมัครด่วนหากไม่อยากพลาดโอกาส”
คำโปรยที่ส่งผลให้การตัดสินใจของเราเน้นการใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล
8
Not a Scam การบอกว่าตัวเองไม่ใช่กลโกง
เพื่อเป็นการยืนยันให้เหล่าสมาชิกในเครือข่ายมีความเชื่อมั่นมากขึ้น
แม้ความจริงจะรู้อยู่แล้ว ว่าตัวเองเป็น Scam
5
ซึ่งวิธีนี้นี่เอง OneCoin เคยใช้บอกกลุ่มผู้ถือเหรียญดิจิทัลของตน
ก่อนที่จะถูกจับได้ว่าเป็นเพียงแชร์ลูกโซ่เท่านั้น
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
2
งานวิจัยหนึ่งที่สำรวจกลุ่มผู้เสียหายจากการโดนฉ้อโกง
เพื่อหาลักษณะร่วมกันของกลุ่มคนเหล่านี้
ปรากฏว่า กลุ่มคนเหล่านี้ไม่มีอะไรที่สัมพันธ์กันเลย
ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา ความฉลาด หรืออายุ
4
เรื่องนี้ถูกตอกย้ำจากความจริงที่ว่า แม้แต่ Stephen Greenspan ผู้เขียนหนังสือ Annals of Gullibility หนังสือที่ว่าด้วยเรื่องการจับผิดกลโกง ก็ยังเคยตกเป็นเหยื่อของ Bernie Madoff แชร์ลูกโซ่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศสหรัฐอเมริกา
8
แล้วถ้าหากถามว่า กลโกงเหล่านี้ทำไมมันยังอยู่
แถมยังสามารถวิวัฒนาการตามรูปแบบของสังคม
ที่เปลี่ยนไปได้มายาวนานเป็นร้อยปี
จากประเทศโปเยสยุคที่หลอกขายพื้นที่บนประเทศที่ไม่มีอยู่จริง
มาจนถึงยุคของเรา ที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นเครื่องมือ
2
คำตอบข้อเดียว ก็คือ “ความโลภ” ของมนุษย์ที่ยังคงฝังอยู่ในทุกยุคสมัย
ทำให้มนุษย์เลือกที่จะเชื่อในสิ่งที่สวยหรู แม้มันเป็นเรื่องหลอกลวง
19
ดังนั้น ก่อนที่เราจะเข้าไปลงทุนในอะไรก็ตาม
โปรดอย่าเริ่มต้นจากการดูว่าเราจะได้รับผลตอบแทนเท่าไร
จุดเริ่มต้นที่ควรจะเป็นก็คือ การลงทุนครั้งนี้
มันจะสร้างความเสียหายให้กับเรามากสุดได้เท่าไร ถ้ามันไม่เป็นความจริง..
14
โฆษณา