30 พ.ค. 2021 เวลา 08:41 • การตลาด
หลักวิธีคิดในการทำ Content ในวันที่ Content ล้นโลก
.
ปีสองปีที่ผ่านมา ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า คอนเท้น มันล้นโลกไปหมดแล้ว แล้วคุณหละทำแบบไหนอยู่เพื่อให้คอนเท้นของคุณมันดึงดูดคนอ่านได้เยอะ!!
.
วันนี้ The ScaleUp จะ มาแชร์ 5 Checklists ที่จะช่วยให้คุณได้สร้าง คอนเท้นได้เจ๋งกว่าคนอื่นๆ
.
.
1. Findable Content - คอนเท้นท์ของเรา สามารถหาง่ายไหม
2. Readable Content - คอนเท้นท์ของเราอ่านง่ายเปล่า?
3. Understandable Content - คอนเท้นท์ของเราอ่านแล้วเข้าใจไหม
4. Action Content - คอนเท้นท์ของเราหลังจากคนอ่านเสร็จเค้ามีส่วนรวมไหม?
5. Shareable Content - หลังจากคนอ่านเสร็จอยากแชร์ไหม ?
.
.
✅ 1. Findable Content - สามารถหาง่ายไหม
.
ในการทำคอนเท้นมันจะไม่มีประโยชน์อะไรเลย ถ้าคุณทำคอนเท้นออกไปแล้วไม่มีใครหามันเจอหนึ่งในวิธีที่ง่ายและดีที่สุดคือการทำให้ถูกหลัก SEO เพื่อช่วยให้คนสามารถเห็นเนื้อหาของคุณได้มากขึ้น ซึ่งทำได้ง่ายๆดังนี้
.
▶︎ใช้ (Headline) และหลายๆ (Sub Headline) Tags
.
▶︎ ปรับแต่ง metadata (ชื่อคำหลักและแท็กคำอธิบาย)
.
▶︎ รวมลิงก์ไปยังหน้าอื่น ๆ บนไซต์
.
▶︎ ใส่ alt tags บนรูปภาพ
.
.
✅ 2. Readable Content - คอนเท้นท์ของเราอ่านง่ายเปล่า?
.
คอนเทนท์ของคุณหลังจากที่สามารถค้นหาได้แล้ว ยังจะต้องอ่านง่ายสบายตาด้วย
.
▶︎ คุณควรเขียนใจความสำคัญที่สุดอยู่ข้างบนในบทความที่คุณจะสื่อ เพราะปกติแล้วคนเราจะให้ความสนใจกับข้อมูลที่อยู่ด้านบนก่อน
.
▶︎ คุณควรทำให้บทความในแต่ละย่อหน้าสั้นกระชับ - คำแนะนำคือไม่ควรมีมากกว่า 3 ประโยคในแต่ละย่อหน้า และไม่ควรเขียนมากกว่า 3 ย่อหน้าใน 1 บทความ
.
▶︎ การใส่สัญลักษณ์ - bullets และ หมายเลข เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจบทความของคุณได้เร็วและง่ายมากยิ่งขึ้น
.
▶︎ การใช้ภาษาให้สอดคล้องไปในทางเดียวกัน - เพื่อทำให้ผู้อ่านไม่งง เช่น ถ้าคุณแทนตัวเองในบทความว่า ‘เรา’ ทั้งบทความก็ควรใช้คำนั้นในการแสดงถึงผู้เขียน ไม่ควรเปลี่ยนสรรพนามเป็นอย่าอื่นเช่นคุณ เพราะอาจทำให้ผู้อ่านเกิดความสับสนได้
.
.
.
✅ 3. Understandable Content - คอนเท้นท์ของคุณอ่านแล้วเข้าใจหรือเปล่า?
.
คุณควรเขียนคอนเท้นท์ที่อ่านและเข้าใจ ถึงแม้ว่าบางหัวข้อก็ยากที่จะทำให้ผู้ปอ่านเข้าใจง่าย เช่น หัวข้อทางการแพทย์ต่างๆ
.
▶︎ การเลือกรูปแบบคอนเทนท์ที่เหมาะสม เช่น เราสามารถเปลี่ยนรูปแบบถ่ายทอดสิ่งที่เราจะสื่อ จากรูปแบบตัวอักษรมาเป็นรูปแบบ รูปภาพ หรือ วิดิโอ อาจจะทำให้ผู้อ่านหรือผู้รับสารเข้าใจในสิ่งที่เราจะสื่อมากกว่ารูปแบบที่เป็นข้อความ
.
▶︎ การเปลี่ยนเปลงคอนเทนท์ไปตามกลุ่มเป้าหมายที่คุณต้องการจะสื่อสาร เนื่องจากผู้อ่านแต่ละคน มีความรู้และความสามารถในเข้าใจไม่เหมือนกัน ดังนั้น เราควรเขียนคอนเท้นท์ของคนแต่ละกลุ่มเป้าหมาย ตามระดับและความสามารถในความเข้าใจของแต่ละกลุ่มคน
.
▶︎ การอธิบายบทความเพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพมากขึ้น เช่น ถ้าคุณกล่าวถึงบทความเกี่ยวกับแบรนด์โทรศัพท์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก คุณก็ควรยกตัวอย่างแบรนด์ขึ้นมา เนื่องจากคุณไม่สามารถรู้ได้ว่าใครจะเข้ามาอ่านบทความของเรา เราจึงต้องเขียนบทความของเราให้ยืดหยุ่น และการยกตัวอย่างจะทำให้ผู้อ่าน อ่านเข้าใจมากขึ้น
.
▶︎ หลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์เทคนิค เนื่องจากผู้อ่านอาจจะไม่สามารถเข้าใจศัพท์นั้นๆได้ หากผู้อ่านไม่มีความรู้ในด้านนั้นๆ ดังนั้นหากจำเป็นจะต้องใช้ศัพท์เฉพาะทางหรือศัพท์เทคนิคจริงๆ ควรที่จะมีคำอธิบายตามหลังเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจในสื่งที่เราต้องการสื่อ
.
.
✅ 4. Action Content - คอนเท้นท์ของเรามีการกระทำเกิดขึ้นหลังจากผู้อ่านได้อ่านหรือไม่?
.
ในการเขียนของเราแต่ละครั้ง เราจะมีจุดประสงค์ให้ผู้อ่านเกิดการปฏิบัติบางอย่างหลังจากได้อ่านคอนเท้นท์ของเราไม่ว่าจะเป็นการเขียนเพื่อนำไปสู่การคลิกลิงค์สั่งซื้อ หรือเขียนเพื่อต้องการให้ผู้อ่านเข้าใจในเรื่องต่างๆและเกิดการตอบรับบางอย่างกลับมา
▶︎ ใส่ Call to action (การกระตุ้นให้เกิดการลงมือ) ให้เห็นอย่างชัดเจน
.
▶︎ ทำให้ผู้อ่านสามารถเข้าถึงเราได้ง่ายทั้งในพื้นที่สาธารณะ และพื้นที่ส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นการคอมเม้นท์ออกความคิดเห็น ถามคำถาม หรือการส่งข้อความมาหาเราโดยตรง
.
▶︎ จัดเตรียมลิ้งค์ที่สามารถคลิกไปในเนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของเรา เพื่อทำให้ผู้อ่านมีตัวเลือกในการกดเข้าไปอ่านเนื้อหาต่อๆไปของเราได้มากขึ้น และยังทำให้ผู้อ่านอยู่บนเว้บไซต์เรานานขึ้นอีกด้วย
.
.
✅ 5. Shareable Content - หลังจากผู้อ่านได้อ่านคอนเท้นท์ของเรา มีการแชร์เกิดขึ้นหรือเปล่า?
.
ทุกวันนี้คนเรามักจะเชื่อเพื่อนมากกว่าที่จะเชื่อแบรนด์ คำถามคือ แล้วเราจะให้ผู้อ่านแชร์เนื้อหาของเรากับเพื่อนๆ ได้อย่างไร?
▶︎ การกระตุ้นอารมณ์ของผู้อ่าน เช่น ในการเขียนบทความเกี่ยวกับการตลาด ผู้อ่านมักจะมีแนวโน้วในการแชร์บทความที่เป็นดรามา หรือบทความเกี่ยวกับความขัดแย้ง
.
▶︎ การมีเหตุผลที่ทำให่ผู้อ่านรู้สึกอยากแชร์ เช่น ในการที่เราเล่าเรื่องการแบ่งปันข้อมูลด้านสุขภาพทำให้ครอบครัวของเราอยากออกกำลังกายมากขึ้น ดังนั้นเมื่อผู้อ่านแชร์ข้อความนี้ เขาจะรู้สึกว่าการแชร์คอนเท้นทืนี้นี้ จะทำให้ผู้ติดตามอยากออกกำลังกายมากขึ้นเช่นกัน
.
▶︎ เราสามารถเพิ่มยอดแชร์ได้ด้วยการปิดท้ายบทความเป็นประโยคชักชวน กระตุ้นให้ผู้อ่านมีส่วนร่วมว่า "โปรดแบ่งปันเนื้อหานี้กับผู้ที่เราคิดว่าน่าจะชอบ” เพื่อให้ผู้อ่านอยากแชร์บทความเหล่านี้ให้แก่ครอบครัว หรือคนรอบตัวอื่นๆได้
.
▶︎ การแชร์จะเป็นเรื่องง่ายๆ หากเราทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ไอที เพื่อค้นคว้าและตัดสินใจว่าเครื่องมือไหนสามารถเพิ่มยอดแชร์ได้มากที่สุดสำหรับองค์กรของเรา
.
.
และนี่ก็คือ 5 checklist ที่เราสรุปมาให้ เพื่อเป็นตัวช่วยในการสร้าง Content ใหม่ๆของคุณ
สุดท้ายนี้อย่าลืมกด ติดตามเราได้
.
.
FB: The Scale Up - ทำธุรกิจโคตรโต
โฆษณา