30 พ.ค. 2021 เวลา 12:24 • สุขภาพ
ลงสาเหตุการตายจากโควิด-19
ตามความจริง แปลว่าอะไร ?
ต้องลงสาเหตุการตายแบบไหน
ถึงจะเรียกว่าความจริง !
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีข้อสังเกตจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญบางท่านว่า การแจ้งสาเหตุการตายจากโควิด-19 ในไทย ไม่เป็นไปตามหลักการสากล
1
ทั้ง พล.อ.ท.นพ.อนุตตร จิตตินันทน์ ปธ.ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ ที่กล่าวโดยสรุปว่า ถ้าผู้ป่วยเป็นโควิด-19 ต้องนอน รพ. แล้วมีภาวะแทรกซ้อน จากปอดบวมหรือหัวใจวาย ก็ต้องลงสาเหตุการเสียชีวิตว่า เป็นเพราะโควิค-19
ซี่งสอดคล้องกับความเห็นของ รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล นายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย และหัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล สามารถอ่านสรุปได้จาก เพจคุณแม่มด อยากทำไป-มด
🚨 ต้องลงสาเหตุการตายแบบไหน
ถึงจะเรียกว่าลงตามจริง ?
2
การเลือกสาเหตุการตายต้นกําเนิด
(Underlining Cause of Death)
มีหลักเกณฑ์สากลที่เป็นมาตรฐาน ใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลกเรียกว่า International Classification of Disease (ICD) หรือ บัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศ ปัจจุบันใช้ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 10 (ICD-10)
ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้ทุกประเทศสมาชิกใช้ เพื่อเป็นมาตรฐานเดียวกัน
ตามหลักของ ICD-10 ผู้ตายจะมีสาเหตุการณ์ตายจากโรคเพียงโรคเดียวเท่านั้น
2
เป็นทักษะที่ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจ มิเช่นนั้นอาจทำให้เกิดความผิดพลาดได้มาก
1
ทางกระทรวงสาธารณสุขจึงแนะนำว่า
ควรเป็นผู้ที่ผ่านการศึกษา กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา ชีวเคมี ในชั้นพรีคลินิกอย่างน้อย 2 ปี แล้วเรียนต่อทางเวชสถิติอีก 2 ปี จนจบปริญญาตรีมาเป็นผู้เลือกสาเหตุการตาย
1
🚨 การลงสาเหตุการตายแบบ ICD-10 เบื้องต้น
ICD-10 ใช้การบันทึกแบบรหัสโรค A00 – U99
โดยในแต่ละหมวดอักษร จะแบ่งชนิดของโรค, ภาวะแทรกซ้อน, ผลข้างเคียงเป็นข้อย่อย ๆ ลงไปอีก
เช่น J00-J99 คือ โรคของระบบหายใจ
1
👉 J15 เป็นรหัสของ ปอดบวมที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย แบบไม่รู้เชื้อที่ชัดเจน
แต่ถ้าทราบเชื้อชัดเจน ก็ลงย่อยไปอีกได้
1
เช่นรู้ว่า เป็นปอดบวมที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ
สเตร็ปโตค็อกคัส กลุ่ม บี ก็จะลงเพิ่มเป็น J15.3
👉 การติดเชื้อไวรัสโคโรนา ใช้รหัสฉุกเฉิน U07
U07.1 สำหรับกรณีที่มีผลยืนยันผลทางห้องปฏิบัติการ หรือ U06 ในรายที่สงสัย เป็นต้นนะคะ
👉 หากใครเคยเห็น หนังสือรับรองการตาย
(ท.ร. 4/1) ทุกคนคงพอนึกภาพออก
และมักมองหา “สาเหตุการตาย” เป็นอันดับแรก
1
ซึ่งเชื่อว่า อ่านแล้วอาจขัดกับความรู้สึก ของใครหลายคน ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น มาหาคำตอบกันค่ะ
หนังสือรับรองการตาย
👉 สาเหตุการตาย (สี่เหลี่ยมสีแดงในรูป) เป็นเหตุต้นกำเนิด ที่ทำให้เจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้เสียชีวิตเข้า รพ. ในครั้งแรก
1
ซึ่งมักเกิดความสับสนกับรูปแบบการตาย (Mode of Death) อยู่เสมอ เช่น หัวใจล้มเหลว (Heart Failure), หัวใจหยุดเต้น (Cardiac Arrest) หรือการหายใจล้มเหลว (Respiratory Failure) เหล่านี้ไม่สามารถใช้เป็นสาเหตุการตายได้นะคะ
2
👉 ในการลงโรคที่เป็นสาเหตุการตาย
(สี่เหลี่ยมสีเขียวในรูป) จะลงสาเหตุ
จากล่างขึ้นบน คือจาก d) > c) > b) > a)
โดยข้อ a) จะเป็นโรคหรือภาวะ
ที่เกิดใกล้กับช่วงที่เสียชีวิตมากที่สุด
โดยสาเหตุหลักมักจะเป็นข้อล่างสุด คือข้อ d)
ที่จะนำไปแปลเป็นภาษาไทย
แล้วใส่ไว้ในช่อง “สาเหตุการตาย” ค่ะ
🚨 ตัวอย่างการลงสาเหตุการตาย
กรณีที่ 1 : ผู้ตายเป็นโรคเบาหวาน และเป็นโรคตับแข็ง ทำให้เกิดความดันในหลอดเลือดที่ตับ (Portal vein) สูงขึ้น และดันย้อนจนทำให้เส้นเลือดในหลอดอาหารโป่งพอง จนเส้นเลือดแตก และมาโรงพยาบาล ด้วยอาการอาเจียนเป็นเลือดสด จะลงหนังสือรับรองการตายว่า 👇
2.3 โรคที่เป็นสาเหตุการตาย
a) หลอดเลือดขอดของหลอดอาหารแตก (Esophageal varices with bleeding)
b) หลอดเลือดขอดของหลอดอาหาร (Esophageal varices)
c) ความดันในหลอดเลือดพอร์ทัลสูง
(Portal hypertension)
d) ตับแข็ง (Liver cirrhosis)
2.4 เหตุหนุน...................โรคเบาหวาน (10 ปี)
2.5 สาเหตุการตาย...........โรคตับแข็ง
💡 จะเห็นว่า อาเจียนเป็นเลือดสด ไม่ใช่สาเหตุหลักของการตาย แต่ทุกอย่าง เกิดจากตับแข็งเป็นหลักค่ะ
1
กรณีที่ 2 : ผู้ป่วยเป็นโรคโควิด-19
2.3 โรคที่เป็นสาเหตุการตาย
a) กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน
(Acute Respiratory Distress Syndrome)
b) ปอดบวมที่เกิดจากไวรัส
(Other viral pneumonia)
c) โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019,
ยืนยันผลทางห้องปฏิบัติการ
(COVID-19, Virus identified)
2.4 เหตุหนุน...................โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจ (ไม่ระบุ)
2.5 สาเหตุการตาย...........โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
กรณีที่ 3 : ตามที่เป็นข่าวว่า ชายอายุ 60 ปี
ติดเชื้อโควิด-19 เข้า รพ. ตรวจไม่พบเชื้อแล้ว
แต่ระหว่างนอน รพ. มีปอดอักเสบ
จากเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
💡กรณีนี้ สาเหตุการตายหลัก
ต้องเป็น โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ถึงแม้จะตรวจไม่พบเชื้อแล้วก็ตาม
เพราะเป็นสาเหตุหลัก ที่ทำให้ผู้ตาย
เข้ารับการรักษาใน รพ.
👉 ถ้าไม่เข้า รพ. ก็จะไม่เกิดการติดเชื้อซ้ำ
จากแบคทีเรีย เหตุนี้ หมอบางท่านถึงเรียกร้อง
ให้ลงสาเหตุ ตามหลักการที่ควรจะเป็น
เพราะถ้ายึดหลัก ตามข้อเท็จจริงทางการแพทย์แล้ว ข้อเท็จจริงย่อมมีหนึ่งเดียว !
หรือแม้กระทั่งแค่สงสัยว่า ติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือมีประวัติสัมผัสผู้มีความเสี่ยงสูง ก็มีรหัสให้ลง ตามเกณฑ์ของ WHO นะคะ
เป็นเรื่องที่มีหลักการให้ยึดถือ ไม่ใช่เรื่องที่คิดขึ้นเอง หรือจะยึดหลักเกณฑ์ส่วนตัวได้ค่ะ 👇
🚨 แต่ก็ยังมีกรณีปลีกย่อย และรายละเอียดอีกมากมาย แยกตามกรณีนะคะ เช่น
👉 ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี > ทำให้เกิดมะเร็งตับ (Hepatocellular Carcinoma) > มะเร็งกระจายไปสมอง > เลือดออกในสมองเสียชีวิต
สาเหตุการตาย คือ มะเร็งตับ (การติดเชื้อไวรัสบางชนิด มีหลักเพิ่มเติมในการลงค่ะ)
👉 ติดเชื้อไวรัสเอดส์ > ทำให้เป็นมะเร็งปากมดลูก > ติดเชื้อในกระแสเลือด
สาเหตุการตาย คือ โรคเอดส์ค่ะ
👉 เป็นโรคเบาหวาน จนเกิดหลอดเลือดปลายเท้าตีบ (รหัส E11.5) > เป็นแผลติดเชื้อที่เท้า (รหัส E11.52) > ติดเชื้อในกระแสเลือด จนเสียชีวิต
สาเหตุการตาย คือ หลอดเลือดส่วนปลายตีบที่เกิดจากโรคเบาหวาน (รหัส E11.5)
เหตุหนุน คือ โรคเบาหวาน
📍 อาจมีข้อสงสัยว่า ถ้าเป็นแบบนี้ เราอาจไม่ได้สถิติที่แท้จริงของคนเป็นโรคเรื้อรัง อย่างเบาหวาน หรือความดันโลหิตสูง จะไม่มีใครตายเพราะโรคนี้เลย ? เพราะโรคเบาหวานไม่ใช่สาเหตุการตายโดยตรงอยู่แล้ว ?
❌ ต้องตอบว่า ไม่ถูกค่ะ
เพราะจาก ICD-10 รหัสโรค E11.5
เป็นตัวบอกอยู่แล้วว่า โรคนี้อยู่ในกลุ่มโรคเบาหวาน (E11)
📍 สงสัยเล็กน้อยค่ะว่า การแถลงผู้ป่วยเสียชีวิต แบบไม่ระบุ “สาเหตุการเสียชีวิต”
อาจทำให้พลาดประเด็น ที่จะเกิดการเรียนรู้ร่วมกันของคนในสังคมได้หรือไม่คะ?
ทำไมถึงเน้นย้ำ เรื่องโรคประจำตัวและปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อ แทนที่จะพูดถึงสาเหตุของการเสียชีวิตแทน ?
เพราะนี่คือรายงานการเสียชีวิตไม่ใช่หรือคะ ?
#รายงานการเสียชีวิตแบบไม่มีสาเหตุที่เสียชีวิต
📍 หากรายไหนมีความสงสัย ในสาเหตุการเสียชีวิต ควรมีการชี้แจงจนสิ้นสงสัย แทนการปล่อยให้สังคมถกเถียง โดยไม่รู้ข้อเท็จจริง เช่น กรณีการทานยาคุมกำเนิดจนเสียชีวิต หลังจากฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19
👉 ถ้าไม่แถลงให้สิ้นสงสัย คนที่ทานยาคุมกำเนิดทุกเพศ อาจไม่กล้าไปฉีดวัคซีนก็ได้นะคะ
ทั้งที่รายงานการวิจัยบางฉบับ ที่ศึกษาในผู้หญิงกว่า 3 ล้านคน บอกว่า การทานยาคุมกำเนิด เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดหัวใจเพียง 0.0629% เท่านั้น
การศึกษาฉบับเต็มค่ะ 👇
💡สาเหตุการตายในเคสนี้ ที่ถูกต้องตาม ICD-10 ต้องบอกถึงสาเหตุ ของการเกิดลิ่มเลือดอุดตันที่ปอดค่ะว่า เกิดจากวัคซีน (Vaccine induced immune thrombotic thrombocytopenia, VITT) หรือเป็นเพราะยาคุมกำเนิด 0.0629% กันแน่
ถ้าผู้ตาย เดินเข้า รพ. เพราะโควิด-19
จะพุ่งเป้าไปที่เบาหวาน, ความดันสูง
อาจไม่ถูกต้องตามหลัก ICD-10 นะคะ
2
💡หลักเกณฑ์ การลงสาเหตุการเสียชีวิต
ด้วยการใช้ ICD-10 เป็นหลักสากล ที่ใช้เป็นมาตรฐาน ถ้าหากไม่ใช้ แล้วจินตนาการสาเหตุการเสียชีวิตเอาตามใจ สังคมเรา จะกลายเป็นไม่มีมาตรฐานนะคะ 😁🙏
1
ขอบคุณค่า
อ่างสมอง 🤗🙏

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา