31 พ.ค. 2021 เวลา 10:23 • สุขภาพ
ประสิทธิภาพในชีวิตจริงของ Sinovac ในผู้สูงอายุ >60 ปี
ประเด็นที่ แม้แต่ WHO ก็ยังไม่มั่นใจ
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_2581767
ตามที่ WHO เพิ่งอนุมัติ Sinovac เป็นวัคซีนที่ใช้ในกรณีฉุกเฉิน
เมื่อวานตอน 4 ทุ่ม แต่มีประเด็นที่น่าสนใจ ในย่อหน้าสุดท้าย
" Few older adults (over 60 years) were enrolled in clinical trials, so efficacy could not be estimated in this age group. Nevertheless, WHO is not recommending an upper age limit for the vaccine because data collected during subsequent use in multiple countries and supportive immunogenicity data suggest the vaccine is likely to have a protective effect in older persons. There is no reason to believe that the vaccine has a different safety profile in older and younger populations. WHO recommends that countries using the vaccine in older age groups conduct safety and effectiveness monitoring to verify the expected impact and contribute to making the recommendation more robust for all countries. "
สรุปง่ายๆ คือ
ถ้าอายุ 60 ขึ้น WHO เองก็ไม่มั่นใจทั้งในเรื่องของความปลอดภัยและประสิทธิภาพ เนื่องจากมีข้อมูลของประชากรกลุ่มนี้ค่อนข้างน้อยในงานวิจัย
ด้านความปลอดภัยน่าจะไม่ต่างกันแต่ด้านประสิทธิภาพ ???
ให้แต่ละประเทศประเมินความปลอดภัยและประสิทธิภาพกันเอาเอง
ทำไมประสิทธิภาพของ Sinovac ในผู้สูงอายุ จึงน่าจะแตกต่างกับคนอายุน้อย
เรามาดูข้อมูลกัน
จะเกิดอะไรขึ้นถ้า เชื้อ Brazil P1 เชื้อกลายพันธุ์
ระดับรอง Top ดื้อวัคซีนหลายอย่าง
เจอกับ Sinovac Vaccine ที่มีข้อกังขาเกี่ยวกับประสิทธิภาพ
ใน setting คนสูงอายุ ที่วัคซีนกระตุ้นภูมิขึ้นได้ไม่ดี
ในประเทศที่ช่วงเวลานึง มีการระบาดมากที่สุดในโลก
เรียกได้ว่าเป็น Worst case scenario
Vaccine จะเอาอยู่ไหม
เป็นคำถามของงานวิจัยนี้ ที่ทำในประเทศ Brazil
** ที่พึ่งตีพิมพ์ ตัว PrePrint ที่ยังไม่ผ่าน Peer-Reviewed **
Brazil ณ เวลาที่ศึกษา
เจอสายพันธุ์ P1 ถึง 85% ของ สิ่งส่งตรวจที่พบเชื้อ
และฉีดVaccine ไปได้แค่ 4.6 % ของประชากร
โดยเป็น Sinovac ไป 8.5 ล้านโดส และ Astra 2 ล้านโดส
1
งานวิจัยศึกษาในประชากร อายุ >70 ปี จำนวน 43774 คน
โดยทำในลักษณะ Case control
ที่คัดมาแค่ 15862 คนจาก 43774 คน
เนื่องจาก อายุ เพศ โรคประจำตัวคล้ายคลึงกันเหมือนเป็น แฝดคนละฝา
ต่างกันเพียงว่า ได้รับ Vaccine หรือไม่
แล้วดูว่าVaccine มีประสิทธิภาพ
ในการป้องกัน Symptomatic PCR Confirmed Covid-19 เท่าไร
ผลการศึกษา
อายุเฉลี่ยของกลุ่มวิจัย อยู่ที่ 76 ปี
ช ญ เท่ากัน มีโรคประจำตัว 44 %
ส่วนใหญ่เป็น เบาหวานและโรคหัวใจ
งานวิจัยพบว่า Sinovac
มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อ P1
ฉีด 1 เข็ม : ป้องกันไม่ได้
เมื่อฉีดครบ 2 เข็มแล้ว
< 2 สัปดาห์ = 19.5% (1.9%-34%)
>=2 สัปดาห์ = 41.6% (26.9-53.3%)
เมื่อแยกตามอายุ
อายุ 70-74 ปี ประสิทธิภาพ อยู่ที่ 61.8% (95%CI 34.8% - 77.7%)
อายุ 75-79 ปี ประสิทธิภาพ อยู่ที่ 48.9% (95%CI 23.3% - 66.0%)
อายุ >80 ปี ประสิทธิภาพ อยู่ที่ 28.0% (95%CI 0.6 - 47.9%)
งานวิจัยไม่ได้ศึกษาถึงผลในการลดความรุนแรง
และลดอัตราการเสียชีวิตของวัคซีน
แต่พบว่า ยอดผู้สูงอายุที่เสียชีวิต จาก Covid-19 ลดลง
หลังฉีดวัคซีนครบเป็นวงกว้าง
เมื่อเทียบประสิทธิภาพกับการศึกษาคล้ายกัน
ที่ทำในบุคลากรทางการแพทย์อายุ > 18 ปี อยู่ที่ = 50.7%
ที่ถือว่าอยูในระดับที่ใกล้เคียงกัน
คห.ส่วนตัว
เป็นงานวิจัยอีกชิ้นนึงที่แสดงให้เห็นถึง
ประสิทธิภาพของSinovac ว่าต้องฉีดให้ครบ 2 เข็มแล้ว 2 wk
ถึงจะมีประสิทธิภาพเพียงพอในการป้องกันโรค
1
ในภาพรวมแม้ว่าประสิทธิภาพแม้จะไม่ดีนัก
แต่ยังคงน่าจะลดความรุนแรงและโอกาสเสียชีวิตได้
และประสิทธิภาพจะลดลงเมื่อายุมากขึ้นชัดเจน สำหรับเชื้อ P1
ในคนอายุ 70-74 ปีก็ยังกันได้ > 50%
ก็ยังน่าจะพอใช้ได้ในกรณีที่ยังไม่มีวัคซีนที่ดีกว่านี้
แต่ในกรณีที่อายุมากกว่า 75 ปี เริ่มไม่ถึง50 %
โดยเฉพาะ >= 80 ปี ที่เหลือเพียง 28%
95%CI เกือบคร่อม 0
น่าจะเปลี่ยนไปใช้วัคซีนตัวอื่นน่าจะมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า
อย่างเช่น Astra หรือ วัคซีนทางเลือกอื่นๆ
ถ้ามีโอกาสเลือกได้
1
โฆษณา