31 พ.ค. 2021 เวลา 13:25 • สุขภาพ
กระท้อน หรือ ภาษาอีสานเรียกว่า ' บักต้อง'พึ่งรู้เหมือนกัน55+👇
สรรพคุณและประโยชน์ของกระท้อน
กระท้อน ชื่อวิทยาศาสตร์ Sandoricum koetjape ( Burm. f.) Merr. และจัดอยู่ในวงศ์ MELIACEAE เช่นเดียวกับกัดลิ้น ตะบูนขาว ตะบูนดำ ลองกอง และสะเดา
กระท้อน ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีก เช่น สะตู สตียา (นราธิวาส), สะโต (ปัตตานี), เตียนล่อน สะท้อน (ภาคใต้), มะติ๋น (ภาคเหนือ), มะต้อง (อุดรธานี,ภาคเหนือ) เป็นต้น
ลักษณะของกระท้อน
ต้นกระท้อน เชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดแถวอินโดจีนและมาเลเซียตะวันตก ก่อนจะแพร่ขยายไปในอินเดีย อินโดนีเซีย มอริเชียส และฟิลิปปินส์จนกลายเป็นพืชท้องถิ่นไป โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 15-30 เมตร เปลือกต้นเป็นสีเทา
ใบกระท้อน ลักษณะของใบเป็นใบประกอบ ใบย่อยมี 3 ใบ คล้ายรูปรีแกมไข่ เมื่อใบแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง โดยความกว้างของใบประมาณ 6-15 เซนติเมตร และยาว 8-20 เซนติเมตร
ดอกกระท้อน ลักษณะของดอกกระท้อน กลีบดอกเป็นสีเหลืองนวล ออกดอกเป็นช่อที่ซอกใบปลายกิ่ง และมีดอกย่อยจำนวนมาก
ผลกระท้อน ผลกระท้อนรูปทรงกลมแป้น ผิวมีขนคล้ายกำมะหยี่อ่อนนุ่ม ผลอ่อนจะมีสีเขียวมีน้ำยางสีขาว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและมีน้ำยางที่น้อยลง ผลกระท้อน มีขนาดประมาณ 5-15 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ด 4-5 เมล็ดและมีปุยสีขาวๆหุ้มเมล็ดอยู่ และเมล็ดมีรูปรีมีปลอกเหนียวห่อหุ้มอยู่
สายพันธุ์กระท้อน สำหรับสายพันธุ์ของกระท้อนที่ได้รับความนิยมนั้นเป็นพันธุ์กระท้อนห่อที่มี รสหวาน ได้แก่ สายพันธุ์อีล่า ปุยฝ้าย ทับทิม อินทรชิต นิ่มนวล ขันทอง เทพรส อีแดง ส่วนพันธุ์พื้นเมืองนั้นจะมีรสเปรี้ยว ผลดกแต่มีขนาดเล็ก จึงนิยมนำมาทำเป็น กระท้อนทรงเครื่อง กระท้อนดอง
กระท้อน เป็นผลไม้ที่มีธาตุโพแทสเซียมสูง จึงไม่ค่อยเหมาะนักสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคไต เพราะผู้ป่วยบางรายอาจจะมีภาวะโพแทสเซียมสูงอยู่แล้ว จึงต้องควบคุมการรับประทานโพแทสเซียมเป็นพิเศษ และสำหรับบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้เป็นโรคไตก็ไม่ควรประมาท เนื่องจากมีการตรวจพบว่ากระท้อนก็มีสารฟอกขาว (สารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์) ปนเปื้อนได้เช่นกัน ซึ่งหากได้รับเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากจะเกิดอาการอักเสบตามอวัยที่สัมผัส เช่น ปากและกระเพาะอาหาร รวมไปถึงมีอาการแน่นหน้าอก ปวดท้อง อาเจียนอีกด้วย
สรรพคุณของกระท้อน
กระท้อนประโยชน์ใช้ทำเป็นยาธาตุ (ราก)
ใช้ใบสดต้มอาบแก้ไข้ (ใบ)
ใบกระท้อน สรรพคุณช่วยขับเหงื่อ (ใบ)
สรรพคุณของกะท้อน รากกระท้อนช่วยแก้บิด (ราก)
ช่วยแก้อาการท้องเสีย (ราก)
ใช้ทำเป็นยาขับลม (ราก)
กระท้อนสรรพคุณใช้เป็นยาฝาดสมาน (ผล)
ช่วยรักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน (เปลือก)
สรรพคุณกระท้อน หลายส่วนของกระท้อนมีสรรพคุณออกฤทธิ์แก้อาการอักเสบ
สารสกัดจากเมล็ดกระท้อนมีฤทธิ์เป็นยาฆ่าแมลง
สารสกัดจากกิ่งกระท้อนมีผลยับยั้งมะเร็งในหลอดทดลองได้
ประโยชน์ของกระท้อน
กระท้อนประโยชน์ ผลใช้รับประทานเป็นอาหาร ใช้ทำอาหารคาวหวานได้หลากชนิด เช่น แกงคั่ว แกงฮังเล ผัด ตำกระท้อน ส่วนอาหารหวานก็เช่น กระท้อนทรงเครื่อง กระท้อนลอยแก้ว กระท้อนดอง กระท้อนกวน กระท้อนแช่อิ่ม เยลลี่กระท้อน แยมกระท้อน น้ำกระท้อน หรือใช้กินเป็นผลไม้สดก็ได้เช่นกัน (ผล)
ประโยชน์กระท้อน ลำต้นใช้ทำเป็นไม้ใช้สอยต่างๆ เช่น ทำไม้กระดาน เป็นต้น
โฆษณา