14 มิ.ย. 2021 เวลา 23:32 • หนังสือ
สมัยก่อน เรื่อง "บ้านรก"
ทำให้ผมกับแม่ทะเลาะกันประจำครับ
ก่อนที่ผมจะเริ่มต้นฝึกฝนจัดระเบียบบ้าน
ผมก็เป็นคนที่ไม่ดูแลเสื้อผ้าเลย
เสื้อผ้าที่แม่ซักและวางไว้
ผมจะยัดใส่กล่องถึงเวลาก็แค่คุ้ยหา
เจอตัวที่ใช้ก็เอามาใส่
ส่วนที่เหลือก็ยัดกลับเข้าไปเหมือนเดิม
.
จนแม่ต้องบ่นและคอยสอนวิธีพับผ้าอยู่ตลอดเวลา ผมไม่เคยคิดว่าการคุ้ยหาเสื้อผ้าจะเป็นปัญหา
กลับกันผมมองว่าแม่เป็นคนที่จุกจิก
น่ารำคาญมาก
.
ผมเถียงกลับด้วยซ้ำว่า
คนทำบ้านรกไม่ใช่ผมแต่คือ...แม่
เพราะแม่เก็บของแล้วไม่ยอมทิ้งอะไรเลย
.
.
วงจรบ้านรกอยู่ในรูปแบบ
ผมหาของไม่เจอก็จะร้องให้แม่ช่วยหา
ชอบคุ้ยเสื้อผ้ามาแล้วก็ยัดกลับเข้าไป
.
ในสายตาของผมมองว่าแม่เป็นคนที่เชี่ยวชาญในการหาสิ่งของและแม่เป็นคนที่รู้ว่าของทุกอย่างในบ้านนั้นอยู่ไหน
.
ตอนนั้น ผมไม่รู้หรอกครับว่า
ตัวเองเป็นสาเหตุที่ทำให้
แม่ต้องจมอยู่กับของรกๆ ตามลำพัง
.
========
ในสารคดี Tidying up with Marie Kondo
ตอน the downsizer
.
คนโด มาริเอะ พาเราไปพบกับครอบครัวของแคทรีน่า และดั๊กลัส ช่างทำผมและนักดนตรี พร้อมกับลูกชายลูกสาวรวมกันทั้งหมด 4 คน
.
ครอบครัวเพิ่งย้ายบ้านจากเดิมที่มี 4 ชั้น 4 ห้องนอนมาอยู่ในอพาร์ทเม้นท์เพียงแค่ 2 ห้องเท่านั้น
.
แคทริน่าเป็นเหมือนศูนย์กลางของครอบครัว เธอเล่าปัญหาให้ฟังว่า ที่บ้านมีข้าวของรกมาก เช่น แผ่น DVD เครื่องครัว เครื่องปรุงต่างๆ รวมไปถึงข้าวของเครื่องใช้
.
เธออยากเห็นบ้านสวยเป็นระเบียบ
เพราะเธออยากทำบ้านให้เป็นบ้าน
มากกว่าเป็นแค่สถานที่เอาไว้เก็บของเท่านั้น
เธอตระหนักดีว่า
แม่มีหน้าที่สร้างความทรงจำที่ดีให้กับลูก
เธอจึงพยายามดูแลงานบ้าน และดูแลข้าวของเครื่องใช้ของสมาชิกทุกคนในครอบครัว
.
ขณะเดียวกันสามีและลูกๆเอง
พวกเขามักจะหาเสื้อผ้าไม่เจอเป็นประจำ
ใช้คุ้ยหาแล้วยัดกลับเข้าไป
เวลาหาเสื้อผ้าไม่เจอ
ทั้งลูกและสามีจะตะโกนเรียกหาให้แคทริน่าช่วยหาให้
.
เวลาที่ลูกทำรกแม่จะต้องพยายามจัดให้กลับมาเป็นระเบียบเรียบร้อยมากที่สุด
แต่ลูกก็ทำรกอีก
.
แคทริน่า เห็นภาพนี้อยู่บ่อยๆ
ก็ทำให้รู้สึกอดห่วงไม่ได้ว่า
ลูกๆโตไปจะเป็นเช่นไร
เธอเชื่อว่าบ้านที่สะอาด
จะช่วยเพิ่มความสงบทางใจให้กับลูกๆด้วยเช่นกันดังนั้น บ้านรกจึงสะท้อนถึงความบกพร่องของแม่อย่างเธอ
.
เมื่อเด็กๆได้ลองจัดบ้านให้ตัวเอง
พวกเขาได้เรียนรู้การพับผ้า
ฝึกให้เด็กรับผิดชอบ
สิ่งของที่ต้องดูแล
.
พวกเขาเรียนรู้ว่าการทำงานบ้านไม่ใช่เรื่องง่าย
และพยายาม ไม่ทำบ้านให้รกเพื่อไม่ให้แม่ต้องเหนื่อยเกินไป
.
ฝ่ายสามี พบว่าเขาได้มุมมองและทัศนคติใหม่
ก่อนหน้านี้เขามองว่างานบ้านเป็นหน้าที่ของแม่หรือภรรยาที่ต้องดูแล
.
เมื่อจัดบ้านร่วมกันได้พูดคุยและสื่อสารกัน สัมผัสได้ถึงความรู้สึกเครียดและกังวลของภรรยา
.
จากการร่วมกันจัดบ้านทั้งพ่อแม่และลูกพวกเขาได้มองเห็นถึง ภาระอันยิ่งใหญ่และความกดดันของแม่ที่ต้องดูแลข้าวของทุกอย่างภายในบ้าน
เขาบอกว่าการดูแลบ้านเป็นหน้าที่ของทุกคนในครอบครัวที่ควรจะต้องช่วยเหลือดูแลซึ่งกันและกัน
.
การจัดบ้านร่วมกันในครั้งนี้
จึงทำให้ทุกคน ได้สื่อสารและพูดความในใจ
โดยไม่ต้องมานั่งพูดคุยกัน
.
แต่เป็นการสื่อสารผ่านการลงมือทำ
เพื่อสร้างพื้นที่ในบ้านให้น่าอยู่
และสร้างพื้นที่เห็นอกเห็นใจกันมากขึ้น
========
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากเรื่องนี้คือ
.
1.การเข้าใจผู้อื่น...เราต้องยืนอยู่ในมุมมองเดียวกันก่อน
.
เมื่อก่อนผมไม่เข้าใจว่าทำไมแม่ชอบบ่นเมื่อเห็นผมยัดผ้าจนยับ เมื่อผมลองมองในมุมเดียวกัน
ก็เห็นว่าแม่คอยทำหน้าที่ของภรรยาและแม่อย่างดีที่สุด
.
เธอพยายามดูแลข้าวของของสมาชิกทุกคนในครอบครัว ให้ทุกคนมีข้าวของใช้ได้ตลอดเวลา
การที่ผมทำบ้านรกจึงเป็นการสร้างภาระให้กับแม่มากๆ ด้วย
.
2. การนั่งพูดคุยปัญหาตรงๆ อาจเป็นเรื่องยาก
ให้ลองใช้การลงมือทำ สื่อสารกัน
เช่น การจัดบ้าน ถือเป็นเครื่องมือ
ที่ทำให้คนในบ้านไเปิดโอกาสพูดคุยกัน
และสื่อสารเพื่อจะเข้าใจกันมากขึ้น
...
และนี่ก็เป็นข้อคิดง่ายๆ
ที่ทำให้ชีวิตคุณดีขึ้น
ผ่านการเปลี่ยนความคิด
และข้าวของในบ้านของคุณ
.
🙂🙂🙂🙂
.
.
ชอบสาระดีๆแบบนี้
โปรดกดแชร์และกดติดตาม
เพื่อเป็นกำลังใจ
เพจ @proud จัดระเบียบเปลี่ยนชีวิต
..
เพราะเราเชื่อว่า
การเปลี่ยนชีวิต
เริ่มที่ความคิด
และบ้านของคุณ
===
สำหรับมือใหม่อยากลองจัดตู้เสื้อผ้าด้วยตัวคุณเอง
เรียนรู้ง่ายๆ ได้ในคอร์สออนไลน์
"ชีวิตใหม่สร้างได้ในตู้เสื้อผ้า"
===
#proud #หนังสือ #จัดบ้าน #จัดระเบียบเปลี่ยนชีวิต #konmari #netflix #ชีวิตดีขึ้นทุกๆด้านด้วยการจัดบ้านแค่ครั้งเดียว
.
แรงบันดาลใจจาก - หนังสือ ชีวิตดีขึ้นทุกๆด้านด้วยการจัดบ้านแค่ครั้งเดียว+
netflix : Tidying up with Marie Kondo
.
เครดิตภาพ
โฆษณา