19 มิ.ย. 2021 เวลา 11:28 • หนังสือ
" สบายดีนะ.. ไอ้สัส"
คำพูดที่เราได้ยินจากน้าค่อม ชวนชื่น
ศิลปินตลกชื่อดังผู้ล่วงลับ
เวลาฟังน้าสบถแล้ว
คนส่วนใหญ่กลับรู้สึกขำๆ
มากกว่าจะโมโหหรือหงุดหงิด
.
ผมว่ามีไม่กี่คนที่พูดคำหยาบแล้ว
รู้สึกว่ามันไม่ได้ดูหยาบคายหรือรุนแรง
.
ปัญหาหนึ่งในที่ทำงาน
ที่ผมเคยรับฟังปัญหาจากหัวหน้างาน
และคนที่เข้ามาปรึกษาปัญหาการทำงาน
คือการพูดคำหยาบในเวลาทำงาน
พอเราได้ยินหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงาน
สบถคำหยาบ
เรารู้สึกไม่พอใจ ?
โกรธ ? หรือหงุดหงิดบ้างไหม?
.
เพราะคนส่วนใหญ่คิดว่า
คนที่ชอบสบถคำหยาบตลอดเวลา
เป็นคนที่เป็นพิษ คิดลบ (toxic person)
ทำให้คนที่ทำงานด้วยเครียดกดดัน
และหมดพลังงานง่ายๆ
=========
.
ในหนังสือ Trillion Dollar Coach (โค้ชแห่งซิลิคอนแวลลีย์) เล่าถึง บิล แคมป์เบล์ โค้ชที่ช่วยเหลือผู้บริหารองค์กรใหญ่ๆอย่าง Apple และ Google
ว่าบิลเป็นคนที่ชอบสบถคำหยาบมากๆ
เช่น อย่าทำฉิบหายนะ (don't f_ck it up) เรื่องง่ายๆ ก็ทำบรรลัยได้ (you'd f_ck up a free lunch)
.
แต่ผู้บริหารที่ได้รับการโค้ชจากบิลนั้น
ไม่ได้รู้สึกว่าคือความหยาบคาย
แต่มันคือความตรงไปตรงมา
และความเอาใจใส่ของบิล
ที่ทำให้พวกเขามีกำลังใจ
และกล้ายืนหยัดในการแก้ปัญหามากขึ้น
.
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?
.
มีงานวิจัยพบว่า
การใช้คำหยาบในที่ทำงานจะช่วยคลายความเครียด ช่วยเพิ่มความซื่อสัตย์
และเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ให้กับคนทำงานด้วย
.
นอกจากนี้ การพูดคำหยาบในที่ทำงาน
ยังช่วยเพิ่มกําลังใจในการทํางาน อีกด้วย
.
ผมไม่ได้แนะนำให้ใช้คำหยาบ
ในการคุยกับเพื่อนร่วมงาน
และลูกน้องนะครับ
.
ผมลองทบทวนดูว่า
ทำไมบางครั้งการใช้คำหยาบ
จึงช่วยกระตุ้นการทำงานให้ดี
และไม่เป็นพิษกับผู้ฟัง
ซึ่งน่าจะมีปัจจัย 2 ประการครับ
.
1. เสน่ห์ของผู้พูด
ข้อนี้ผมคิดว่าเป็นพรสวรรค์ส่วนตัวครับ
รวมไปถึงบุคลิก น้ำเสียงและท่าทาง
ของผู้พูดด้วย ทำให้ทุกครั้งที่เราฟังแล้ว
รู้สึกว่ามันไม่ใช่คำด่าเลย
ลองคิดเล่นๆ ก็ได้ครับว่า
ถ้าหัวหน้างานเรา
มีบุคลิกหน้าตาน้ำเสียง
แบบน้าค่อม ชวนชื่น
เวลาพูดคุยกัน
เราจะรู้สึกอย่างไร?
.
2. การสบถคำหยาบในเชิงบวก
.
ส่วนใหญ่เรามักจะใช้คำหยาบในเชิงลบมากกว่า เช่น เจ้านายด่าลูกน้อง
เมื่อทำงานห่วยหรือไม่ถูกใจ
.
มีงานวิจัยกลุ่มหนึ่งพบว่า
คนที่หยาบคายมักจะถูกมองว่า
ไม่น่าไว้วางใจและ
ไม่ฉลาดเท่ากับคนสุภาพ
.
ซึ่งผมคิดว่าเราสบถคำหยาบในเชิงบวกได้
เมื่อเราและทีมงานมีความสนิทสนม
และไว้วางใจกันเหมือนกับเพื่อนสนิท
เช่น เรียกว่า "ไอ้เห้- สมพล สบายดีไหม"
หรือ "ไอ้สัส แจ็กกี้กินข้าวรึยัง"
เราไม่รู้สึกว่านั่นคือคำหยาบในการด่า
แต่คือการทักทาย
.
ครั้งหนึ่งเมสัน แรนดัลล์ นักกีฬาทีมแฟลกฟุตบอล ที่บิลเป็นโค้ชอยู่ เกิดเล่นพลาดทำให้ทีมของเขาต้องพ่ายแพ้
.
เมสันเดินคอตกไปเจอบิลยืนเอานิ้วชี้ล้วงเข้าไปในปากของตัวเองแล้วดัน "เมสัน นี่เสียงอะไร?"
"เสียงหัวของผมโผล่ออกมาจากตูดตัวเองใช่ไหม"
เมสันตอบตามที่ได้ยินเวลาบิลสบถบ่อยๆ
.
บิลตอบ "ใช่ ยืดอกแล้วยกหัวขึ้นมา
เธอไม่ได้แพ้คนเดียว แต่เราแพ้ร่วมกัน"
.
ท่าทางและคำพูดของบิลอาจแฝงไปด้วยคำหยาบคายแต่ก็คือ คำปลอบประโลมที่ซื่อตรงและจริงใจ
.
ถ้าเราลองดูในบริบทนี้
การสบถคำหยาบในเชิงบวก แสดงถึง
1. คุณมีความสนิทสนมและไว้วางใจกัน
2.ไม่ใช่การด่าหรือการกล่าวโทษ
ผมมองว่าการใช้คำหยาบในรูปแบบนี้น่าจะสอดคล้องกับงานวิจัยที่กล่าวไว้
เพราะเป็นการแสดงถึงความสนิทสนม
ความไว้วางใจกัน
และไม่ได้มีใครมุ่งจะกล่าวโทษหรือตำหนิใคร
.
แม้ว่า บิลจะเป็นคนที่ชอบพูดคำหยาบ
อย่างตรงไปตรงมาในการทำงาน
แต่หัวใจหลักในการทำงานเป็นทีม
คือทุกคนจะต้องให้เกียรติกัน
.
ครั้งหนึ่งเมื่อโจนาธาน โรเซนเบิร์กหนึ่งในผู้บริหารของ Google ได้มีชื่อติดอยู่ใน
บทความ "10หัวหน้าเผด็จการยอดแย่"
โจนาธานไม่คิดว่าเป็นปัญหา
กลับรู้สึกภาคภูมิใจแทน
.
แต่บิลเห็นต่างออกไป
เขาเรียกโจนาธานมาดุว่า
อย่าได้หลงภาคภูมิใจกับสิ่งนี้
ก่อนตักเตือนให้รู้ตัวว่า
ถ้าแม่ของโจนาธานมาเห็นชื่อของเขา
ในบทความนี้ จะรู้สึกยังไง
.
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากเรื่องนี้คือ
.
1. คำหยาบคือดาบสองคม
การสบถคำหยาบอาจ
เป็นการระบายความเครียด
แต่กลับกันแล้วก็ทำให้คนรอบข้าง
มองเราไม่ดีไปด้วย
เราจึงต้องเลือกทำตามกาละเทศะ
และความเหมาะสมด้วยครับ
.
2. ถ้าคุณและทีม
มีความสนิทสนมและไว้วางใจกันมากพอ
บางครั้งการเลือกใช้คำหยาบ
ก็ถือเป็นการแสดงความเห็นอย่างตรงไปตรงมา
ช่วยกระตุ้นให้ทีม มีกำลังใจในการทำงาน
.
และนี่ก็เป็นข้อคิดง่ายๆ
ที่ทำให้ชีวิตคุณดีขึ้น
ผ่านการเปลี่ยนความคิด
และข้าวของในบ้านของคุณ
.
🙂🙂🙂🙂
.
.
ชอบสาระดีๆแบบนี้
โปรดกดแชร์และกดติดตาม
เพื่อเป็นกำลังใจ
เพจ @proud จัดระเบียบเปลี่ยนชีวิต
..
เพราะเราเชื่อว่า
การเปลี่ยนชีวิต
เริ่มที่ความคิด
และบ้านของคุณ
===
สำหรับมือใหม่อยากลองจัดตู้เสื้อผ้าด้วยตัวคุณเอง
เรียนรู้ง่ายๆ ได้ในคอร์สออนไลน์
"ชีวิตใหม่สร้างได้ในตู้เสื้อผ้า"
===
#proud #หนังสือ #จัดบ้าน #จัดระเบียบเปลี่ยนชีวิต #trilliondollar #coach #bill
.
แรงบันดาลใจจาก - หนังสือ Trillion Dollar Coach (โค้ชแห่งซิลิคอนแวลลีย์)
ผู้แปล @The Essential Coach
.
เครดิตภาพ
โฆษณา