3 มิ.ย. 2021 เวลา 12:00 • ธุรกิจ
รู้จัก Stanley แบรนด์แก้วน้ำ ที่ร่วมมือกับ Starbucks กี่ครั้ง ก็ขายดี
2
“Stanley” เป็นแบรนด์ที่มีอายุยาวนานถึง 108 ปี
ก่อตั้งโดยนักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน คุณ William Stanley Jr.
ผู้เป็นเจ้าของสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ และอุปกรณ์ไฟฟ้ามากกว่า 100 รายการ
1
แต่สิ่งประดิษฐ์ที่สร้างชื่อให้กับเขามากที่สุด ก็คือ “ขวดน้ำสุญญากาศ”
ซึ่งเขาได้นำเอาทฤษฎีที่เขาเคยศึกษาในระหว่างพัฒนาหม้อแปลงไฟฟ้า
มาแปรเปลี่ยนเป็นการพัฒนาขวดน้ำ..
เรื่องราวของแบรนด์ Stanley น่าสนใจอย่างไร ? ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟัง
จุดเริ่มต้นของแบรนด์ Stanley มีเรื่องเล่ากันต่อ ๆ มาว่า
เกิดจากปัญหาของคุณ William Stanley Jr.
ที่อยากจะค่อย ๆ จิบกาแฟที่ร้อนอยู่ตลอด ในวันที่อากาศเริ่มหนาว
แต่ทว่าการรินกาแฟใส่แก้วทิ้งไว้ ในวันที่อากาศหนาวเย็น
ไม่นานนัก กาแฟก็จะเย็นชืดไปในที่สุด
เราอาจคิดว่านี่คงเป็นปัญหาเล็ก ๆ ที่ไม่เห็นจะแก้ยากตรงไหน
แต่ให้เราลองจินตนาการว่าเมื่อ 100 ปีที่แล้ว
ไม่ได้มีนวัตกรรมให้ความอบอุ่น ที่สะดวกสบาย เหมือนอย่างทุกวันนี้
ยิ่งไปกว่านั้น ในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เมื่อฤดูหนาวมาเยือน
มันไม่ใช่เพียงแค่ลมเย็นสบายเหมือนแบบบ้านเรา แต่มันคือความหนาวที่สุดแสนจะทรมาน
ดังนั้น การดื่มอะไรร้อน ๆ จึงถือเป็นการเติมความอบอุ่นเข้าไปให้ร่างกาย
แต่ในทางกลับกันถ้ากาแฟที่ชงมาร้อน ๆ กลับเย็นชืดไปเสียอย่างนั้น ดื่มเข้าไปก็คงจะไม่ดีเท่าไรนัก
คุณ William Stanley Jr. จึงเริ่มประดิษฐ์ขวดน้ำ ที่มีโจทย์สำคัญ คือ ต้องสามารถเก็บกักความร้อนของเครื่องดื่มไว้ได้ตลอดทั้งวัน
โดยคุณ Stanley ได้นำเอาความรู้ที่ใช้สร้าง “หม้อแปลงไฟฟ้า”
มาประยุกต์ใช้สำหรับประดิษฐ์ “ขวดน้ำสุญญากาศ” ที่หุ้มด้วยเหล็กด้านนอกทั้งหมด
ทำให้สามารถเก็บความร้อน และรักษาอุณหภูมิภายในขวดเอาไว้ได้
ซึ่งนอกจากขวดน้ำที่คุณ William Stanley Jr. สร้างขึ้นจะสามารถเก็บรักษาอุณหภูมิได้แล้ว
มันยังมีความแข็งแรงและทนทานมาก ทำให้ผู้ใช้งานไม่ต้องกังวลกับปัญหาขวดตกแตก หรือใส่น้ำที่มีอุณหภูมิสูงเกินไปจนขวดมีรอยร้าวหรือแตกได้
หลังจากนั้น ในปี 1913 แบรนด์ขวดน้ำเก็บรักษาอุณหภูมิ ที่มีชื่อว่า Stanley ก็ได้เกิดขึ้น
และในปีเดียวกันนี้เอง คุณ William Stanley Jr. ก็ได้จดสิทธิบัตรผลงานการสร้างขวดน้ำเหล็กสุญญากาศนี้ด้วย
แน่นอนว่าหลังจากที่วางขายสินค้าดังกล่าว
ก็ต้องมีทั้งคนที่ชื่นชอบ และไม่ชื่นชอบเป็นธรรมดา
สำหรับลูกค้าที่ไม่ชอบขวดน้ำของแบรนด์ Stanley ก็เนื่องมาจาก
เวลาที่ลูกค้าดื่มน้ำ พวกเขาจะได้กลิ่น “เหล็ก” ผสมมาด้วยทุกครั้ง ซึ่งมันทำให้เครื่องดื่มเสียรสชาติ
ดังนั้น คุณ William Stanley Jr. จึงได้คิดค้นขวดและแก้วน้ำในกลุ่ม Ceramivac™ ขึ้นใหม่
1
ซึ่งใช้ฉนวนที่ทำจากเหล็ก แต่มีผิวเคลือบเป็น “เซรามิก”
ข้อดีของสินค้ากลุ่มนี้ คือ ยังสามารถรักษาอุณหภูมิได้เหมือนเดิม
แต่เซรามิกที่เคลือบอยู่ด้านนอกจะไม่มีรสชาติและกลิ่นแบบโลหะ ที่บางคนไม่ชอบ
3
ด้วยคุณสมบัติต่าง ๆ ของแบรนด์ ก็ทำให้ Stanley
ถูกนำไปใช้ในหมู่ทหารและนักบิน ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกด้วย
2
ต่อมาในปี 2009 แบรนด์ Stanley ก็ได้มีการปรับให้สินค้ารุ่นดั้งเดิม มีน้ำหนักที่เบาขึ้น
เพื่อให้ลูกค้าใช้ได้สะดวกสบายมากขึ้น
แต่ข้อเสียก็คือ ความสามารถในการเก็บรักษาอุณหภูมิก็ลดตามไปด้วย
ดังนั้น ในปี 2017 แบรนด์ Stanley จึงได้ออกสินค้ากลุ่มใหม่ที่ชื่อว่า “Master Series”
ซึ่งทางแบรนด์ได้เคลมว่า รุ่นนี้จะสามารถเก็บรักษาอุณหภูมิไปได้ “หลายวัน” เลยทีเดียว..
1
ปัจจุบัน แบรนด์ Stanley เป็นที่ชื่นชอบในหมู่นักตกปลาและนักตั้งแคมป์
ซึ่งนอกจาก แบรนด์ Stanley จะผลิตขวดน้ำเก็บความเย็นแล้ว ยังมีสินค้าอื่น ๆ อีก เช่น
กล่องอาหาร, ถังน้ำ, หม้อกระทะ, แก้วเบียร์, อุปกรณ์สำหรับดริปกาแฟ และอื่น ๆ
อีกเรื่องที่น่าสนใจ ก็คือ แบรนด์ Stanley ยังเป็นผู้ที่ผลิตแก้วร่วมกับ Starbucks ที่ขายดีเกือบแทบทุกคอลเลกชัน
โดยแก้วที่ Stanley ผลิตร่วมกับ Starbucks จะมีความพิเศษตรงที่
การใช้ “วัสดุ” จากแบรนด์ Stanley ทำให้แก้วหรือขวดน้ำนั้น ๆ มีความสามารถในการเก็บรักษาอุณหภูมิเครื่องดื่มได้นานกว่าแก้วรุ่นทั่ว ๆ ไปของ Starbucks
2
และสินค้าที่ Stanley ร่วมผลิตให้ Starbucks จะมีโลโก Stanley + Starbucks อยู่เสมอ
ซึ่งคอลเลกชันแก้วน้ำที่เป็นการร่วมมือกันของทั้ง 2 แบรนด์นี้ ยังมีวางขายในหลาย ๆ ประเทศ
เช่น ไทย, สิงคโปร์, ไต้หวัน, ฟิลิปปินส์ และเกาหลีใต้
ปัจจุบัน แบรนด์ Stanley อยู่ภายใต้ PMI บริษัทผู้เป็นเจ้าของแบรนด์บรรจุภัณฑ์อาหาร และเครื่องดื่ม ที่มีการใช้นวัตกรรมเข้ามาในการพัฒนาตัวสินค้า
2
เรื่องราวของแบรนด์ Stanley ที่มองผ่าน ๆ แล้วเหมือนจะเป็นสินค้าที่แสนธรรมดา
แต่กว่าจะมาเป็นสินค้าทั่ว ๆ ไปในยุคนี้
มันก็ได้ผ่านการคิดค้นและถือเป็นนวัตกรรมเมื่อร้อยปีก่อน
ซึ่งในบางครั้งการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ก็อาจอยู่ใกล้มือเรา
เหมือนถ้วยกาแฟใบหนึ่ง..
 
References:
โฆษณา