29 ก.ค. 2021 เวลา 10:00 • ถ่ายภาพ
Portrait Photography | เปิดตำราวิชาถ่ายสาว 101
การถ่ายภาพ Portrait หรือ การถ่ายภาพบุคคลนั้น ถือเป็นการถ่ายภาพอีกรูปแบบหนึ่งที่ยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะยุคฟิล์ม , Digital รวมไปถึง Smartphone ล้วนแล้วแต่สามารถรังสรรค์ผลงานออกมาได้ อาจจะแตกต่างกันในส่วนของคุณภาพด้วยเช่นกันนะ
พื้นฐานที่ควรรู้สำหรับการถ่าย Portrait
1. อุปกรณ์ที่ใช้ถ่าย
สำหรับการถ่าย Portrait หากว่ากันจริงๆแล้ว ไม่มีกฏตายตัวว่าจะต้องใช้กล้องอะไร หรือ เลนส์อะไรเป็น เหมือนที่ Admin เกริ่นไปข้างต้นว่า Smartphone ก็ถ่ายได้เช่นกัน แต่สำหรับใครที่ต้องการภาพ Portrait ที่มีความสวยใสละก็ ลองมาดู Checklist ทีละรายการกันค่ะ
1.1 กล้อง
ถ้าคุณกำลังคิดจะจริงจังกับการถ่ายภาพ Portrait ก็อยากแนะนำให้ใช้กล้อง DSLR หรือ Mirrorless จะดีกว่าค่ะ เพราะให้ไฟล์ภาพที่ดีและยังสามารถเปลี่ยนเลนส์ได้ซึ่งจะช่วยสร้างอารมณ์ภาพที่แตกต่างกันไปตามแต่ละช่วงเลนส์ จะเป็นกล้องรุ่นไหนก็ได้ไม่เกี่ยงไม่ว่า Nikon, Canon, Fujifilm, Sony, Olympus, Panasonic หรือ จะเป็นกล้องฟิล์มก็ได้นะคะ
1.2 เลนส์
เลนส์ที่เหมาะสำหรับถ่ายคนขอแนะนำให้ใช้ช่วงตั้งแต่ 50mm ขึ้นไปครับ ส่วนใหญ่แต่ละค่ายจะมีเลนส์ 50mm F1.8 ในราคาไม่แพงขายกันอยู่แล้วประมาณ 5,000-15,000 บาท ถือเป็นช่วงเลนส์ที่นิยมมากสำหรับคนที่อยากจะเริ่มถ่าย Portrait อย่างจริงจังก็มักจะเริ่มกันด้วยเลนส์ระยะนี้
สาเหตุที่หลายๆท่าน รวมถึง Admin แนะนำเลนส์ในช่วง 50mm. นั้น เพราะ ในอดีตเป็นเลนส์ที่ติดมากับกล้องฟิล์มเป็นหลัก ประกอบกับมีมุมรับภาพที่กำลังพอดี สามารถถ่าย Portrait รวมไปถึงถ่ายภาพแนวอื่นๆได้ด้วยเช่นกันนะคะ
แต่ใครจะเล่นระยะมากกว่านี้ก็ได้ครับอย่างเช่น 85mm หรือ 135mm
1.3 Flash
ถ้าคุณชอบถ่ายกับแสงธรรมชาติจะไม่ใช่แฟลชก็ไม่ผิดอะไร เพราะส่วนตัวผมเองก็ชอบจะใช้แสงธรรมชาติเช่นกันแต่หลายครั้งแสงธรรมชาติมันก้ไม่เอื้ออำนวยเอาซะเลยถึงตอนนั้นแฟลชจะช่วยเราได้มาก ฉะนั้นถ้าคุณหาตัวเองเจอแล้วว่าชอบทางนี้แล้วอยากจะเริ่มถ่าย Portrait อย่างจริงจังแฟลชคือสิ่งที่ควรจะมีไว้ซักตัวสองตัวนะ
2. Composition
Admin เชื่อว่าเราๆซื้อกล้องมา ก็อยากจะเก็บภาพบุคคลอันเป็นที่รักไว้เป็นที่ระลึกกันทั้งนั้น แต่ทั้งนี้การถ่ายภาพแบบปกติแม้ว่าเราจะได้ภาพที่ดูสวยงามในระดับหนึ่งแล้ว ถ้าเราประยุกต์ในส่วนของกฏการถ่ายภาพเข้ามาผสมลงไปในรูปด้วยแล้ว จะยิ่งช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับภาพ Portrait ของเราได้เป็นอย่างดี อาทิเช่น
- วาง Subject กลางภาพ
- Negative Space
- Rule of thirds
- Foreground / Background
- Natural Frame
3. เล่นกับ DOF เพิ่มมิติให้กับตัวแบบ
เทคนิคในการถ่ายคนข้อหนึ่งคือการละลายหลังให้มากเพื่อแยกแบบให้โดดเด่นออกจากฉากหลัง ซึ่งในการจะละลายหลังก็ทำได้หลายวิธีหนึ่งในนั้นคือการช่วงเลนส์ Tele ยิ่ง Tele มากเท่าไหร่ฉากหลังจะยิ่งละลายมากขึ้นและวัตถุในฉากหลังจะดูใหญ่และใกล้กว่าความเป็นจริงมากขึ้นตามช่วงระยะเลนส์ที่มากขึ้นด้วย
หากเราอยากถ่ายภาพบุคคลให้ละลายหลังมากๆ สิ่งที่เราต้องทำคือตั้งค่ารูรับแสงให้กว้าง โดยในกล้องจะแสดงค่าขนาดรูรับแสงให้เราเห็นเป็นเลข F2.8 , F4, F5.6, F8
ยิ่งค่า F มีเลขน้อยเท่าไหร่รูรับแสงจะยิ่งกว้างขึ้นทำให้ละลายหลังได้มากขึ้นเพราะระยะชัดมีอยู่น้อยเราเรียกว่า ชัดตื้น กลับกันถ้าเลข F มากรูรับแสงจะแคบภาพจะชัดตั้งแต่ข้างหน้าจนถึงข้างหลังเพราะระยะชัดมีมากเราเรียกว่า ชัดลึก
4. โฟกัสที่ดวงตา
จุดสำคัญมากที่สุดในการถ่ายภาพบุคคลคือการ โฟกัสที่ดวงตา เพราะดวงตาจะถ่ายทอดอารมณ์ของคนๆนั้นออกมาได้ การถ่ายภาพบุคคลนั้นไม่ใช่แค่เราถ่ายรูปคนๆหนึ่งยิ้มเฉยๆแต่ยังเป็นการเก็บอารมณ์ของเขามาอีกด้วยการโฟกัสที่ดวงตาขึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ซึ่งระบบโฟกัสที่ผมแนะนำให้ใช้คือ AF-S(บางยี่ห้อเรียก One Shot) เลือกใช้จุดโฟกัสแบบจุดเดียว และในการใช้งานแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ
โฟกัสก่อนแล้วจึงจัดองค์ประกอบ
วิธีนี้ให้เรากดชัตเตอร์ครึ่งหนึ่งโดยเล็งไปโฟกัสที่ดวงตาแบบก่อน แช่นิ้วค้างไว้แล้วค่อยๆเลื่อนกล้องอย่างช้าๆเพื่อจัดองค์ประกอบภาพ ระวังอย่าให้ระนาบระยะห่างระหว่างตัวแบบและกล้องเปลี่ยนไปมากนัก(จริงๆไม่ควรเปลี่ยนเลย)เพราะจะทำให้ดวงตาที่เราโฟกัสไว้หลุดออกจากระยะโฟกัส เมื่อจัดองค์ประกอบภาพได้แล้วจึงลั่นชัตเตอร์ วิธีนี้นิยมใช้กันมากที่สุดเนื่องจากมีความรวดเร็ว ในช่วงแรกๆเราจะยังไม่ชำนาญและทำให้ภาพหลุดโฟกัสบ้างตอนช่วงจัดองค์ประกอบ เป็นเรื่องปกติครับอย่าเพิ่งท้อ ทำต่อไปบ่อยๆเราจะยิ่งชำนาญจนแทบไม่พลาดเลย
จัดองค์ประกอบก่อนแล้วจึงโฟกัส
1
วิธีนี้โฟกัสเข้าแน่นอนกว่าวิธีแรกใครที่ซีเรียสงานมากๆจะใช้วิธีนี้คือเราจัดองค์ประกอบไว้ก่อนเลยจากนั้นจึงค่อยเลื่อนจุดโฟกัสไปหาดวงตานางแบบเพื่อโฟกัสแล้วกดถ่ายได้เลย วิธีนี้โฟกัสเข้าตาแน่นอนแต่ค่อนข้างช้าจนบางครั้งอาจทำให้เราเสียโอกาสจะได้รูปนั้นไปเลย
🖥 Facebook Page : ตัวติดกล้อง
โฆษณา