5 มิ.ย. 2021 เวลา 07:00 • ธุรกิจ
ความท้าทายที่ต้องเจอของการทำเดลิเวอรี่
ความท้าทายที่ต้องเจอของการทำเดลิเวอรี่
เราทุกคนรู้ดีว่าการให้บริการส่งอาหารเดลิเวอรี่ (On Demand)
ในปัจจุบันนั้นได้เริ่มเข้ามาแทนที่การขายอาหารแบบเดิมๆ
ไปเรื่อยๆโดยการล็อคดาวน์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
และทั่วโลกในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมานั้น
ทำให้ปริมาณการสั่งเดลิเวอรี่นั้นโตหลายเท่าตัวในระยะเวลา
เพียง 2-3 เดือน เพราะตัวเลือกในการทานในร้านนั้นหายไป
ทำให้เราได้เห็นพฤติกรรมหลายๆอย่างของผู้บริโภค
ซึ่งควรนำมาพิจารณาหลังจากนี้ว่าหลังจากสถานการณ์โควิด-19
นั้นคลี่คลายลงเราคงต้องมาดูกันต่อว่า พฤติกรรมของลูกค้า
ที่ถูกบีบมาใช้บริการ Food Delivery นั้นจะเปลี่ยนเป็นพฤติกรรมถาวร
หรือจะทำให้ตลาดเดลิเวอรี่เติบโตต่อเนื่องในระยะยาวได้หรือไม่
1. สัดส่วนการสั่งอาหารออนไลน์
ก่อนที่จะเกิดสถานการณ์โควิด-19 มูลค่าตลาดอาหารเดลิเวอรี่
อยู่ที่ประมาณ 7-8% ของมูลค่าตลาดรวม (4 แสนล้านบาท)
ที่ดูเหมือนไม่เยอะก็เพราะว่าบริการในช่วงนั้นยังมีแค่เฉพาะ
ตามหัวเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพฯ ชลบุรี เชียงใหม่ ขอนแก่น
หัวหิน ภูเก็ตเท่านั้น เพิ่งจะมาขยายไปยังจังหวัดต่างๆ
ในช่วงปี 2022 ที่มีโควิดนี้เอง
ซึ่งแน่นอนพอเกิดสถานการณ์โควิดสัดส่วนการสั่งอาหารเดลิเวอรี่
ได้พุ่งขึ้น สูงเป็นอย่างมาก แต่ก็ยังไม่มีตัวเลขสัดส่วนที่แน่นอนว่า ณ
ปัจจุบันอยู่ที่ สัดส่วนเท่าไหร่ เนื่องด้วยช่วงที่มีการล็อคดาวน์
ร้านอาหารสามารถขายผ่าน บริการเดลิเวอรี่ได้เท่านั้น
ทําให้ตัวเลขอาจไม่สะท้อนพฤติกรรมระยะยาวของ ลูกค้าอย่างแท้จริง
แต่หากเราลองสังเกตพฤติกรรมลูกค้าในช่วงคลายล็อคดาวน์
ในรอบแรก (ช่วงเดือนมิถุนายน 2563) ที่ภาครัฐอนุญาต
ให้ทานอาหารในร้านได้ ตามปกติ จะเห็นได้ชัดว่าจะมีลูกค้ากลุ่มนึง
ที่แทบจะเลิกสั่งอาหารเดลิเวอรี่ ไปเลยและเลือกที่จะไปทานที่ร้านแทน
ซึ่งคาดการณ์ว่าสัดส่วนเดลิเวอรี่อาจ ขึ้นมาเป็ น 20-30%
ของมูลค่าตลาดรวม และไม่รู้ว่าในอนาคตหาก สถานการณ์โควิด-19
เริ่มคลี่คลายสัดส่วนบริการเดลิเวอรี่จะคงอยู่ประมาณ
นี้หรือจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นหรือไม่
2. ลูกค้าไม่สั่งร้านเดิม
1
พฤติกรรมนึงของลูกค้าในช่วงโควิด-19 ที่สังเกตได้ชัดก็คือ
ลูกค้าส่วนใหญ่ จะไม่สั่งร้านเดิมซํ้าๆแต่จะเปลี่ยนร้านสั่งไปเรื่อยๆ
อาจเพราะง่ายแค่เพียงเลื่อนดูในแอปฯ ก็สามารถเลือกร้านใหม่ๆได้แล้ว
อีกทั้งยังมีโปรโมชั่นใหม่ๆ ดึงดูดตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็น 1 แถม 1
หรือส่งฟรีในรัศมีที่กําหนด ทําให้ ยากต่อร้านอาหาร
ที่จะรักษาลูกค้าประจํา (Repeat customers) ไว้ได้
เรียกได้ว่าจากปกติที่ลูกค้ารุ่นใหม่ Gen Y และ Z
มีความภักดีต่อแบรนด์ (Brand loyalty) ที่น้อยอยู่แล้ว
พอมาเป็นเดลิเวอรี่ยิ่งทําให้ความภักดีต่อแบรนด์นั้นยิ่งน้อยลงมากยิ่งขึ้น
แต่จะเลือกร้านโดยพิจารณาเรื่องราคา โปรโมชั่น
และกระแสในช่วงเวลานั้นมากกว่า
คําถามหลังจากนี้คือร้านอาหารจะทําอย่างไรให้เป็นที่สนใจ
ของลูกค้าและ ทําให้ลูกค้าเก่ากลับมาซื้อซํ้าอยู่เรื่อยๆ
หรือเราจําเป็นต้องมีโปรโมชั่นใหม่อยู่ตลอดเวลา
3. อัตราการใช้จ่ายต่อบิลตํ่ากว่าหน้าร้าน
1
สําหรับร้านอาหารประเภทอาหารจานเดียวหรือสตรีตฟู้ดนั้น
อาจสังเกตได้ไม่ ชัดเจนมากนัก แต่กับร้านอาหารที่เป็นกับข้าว
หรือร้านประเภท Fast Casual หรือ Casual Dining
จะสังเกตได้ว่ายอดใช้จ่ายเฉลี่ยต่อบิล (Average ticket size)
นั้นลดลงอย่างเห็นได้ชัด เช่น จากที่แต่ก่อนอาจอยู่ที่
บิลละ 800 -1,000 บาท กลับเหลือเพียง 400-600 บาท
2
เนื่องด้วยเพราะปกติอาหารประเภทนี้จะเป็นการทานเป็นกลุ่ม
ทําให้ยอดใช้จ่ายต่อบิลสูง แต่พอปรับมาเป็นเดลิเวอรี่ซึ่งส่วนมาก
จะสั่งมาทานที่บ้านหรือที่ทํางานในช่วงเที่ยง ทําให้จะสั่งมาแค่
พอทานเท่านั้น รวมไปถึงการขาด ประสบการณ์ในการนั่งทานในร้าน
ที่จะมีเมนูของหวาน เมนูโปรโมชั่นต่างๆ
และขาดการเชียร์ขายของพนักงานหน้าร้าน
แล้วถ้ารายได้เฉลี่ยต่อบิลของร้านอาหารตํ่าลงเราจะมีวิธีการยังไง
ในการ รักษาค่าเฉลี่ยต่อบิลนี้ให้สูงเหมือนกับหน้าร้าน
4. ถ้าเดลิเวอรี่แอปฯ ลดงบการตลาดลง ลูกค้าจะยังสั่งอยู่หรือไม่
อีกประเด็นที่ต้องพิจารณาก็คือ ตอนนี้แต่ละแอปฯ
ยังคงมีงบประมาณในการทําการตลาดเพื่อดึงลูกค้าเข้ามาอยู่
ในระบบให้ได้มากที่สุดอยู่ ไม่ว่าจะ เป็น Foodpanda ที่ไม่คิดค่าส่ง
Lineman ที่มีโปรโมชั่น 1 แถม 1 หรือ Grab Food
ที่ไม่คิดค่าส่งในระยะ5 กิโลเมตรแรก ซึ่งในการทําโปรโมชั่นเหล่านี้นั้น
แต่ละแอปฯต้องยอมควักเงินตัวเองจ่าย ทําให้ประโยชน์
ตกอยู่กับผู้บริโภคไปเต็มๆ ซึ่งหากเข้าไปดูงบการเงิน
ของแต่ละแอปฯแล้วจะเห็นว่าไม่มีแอปฯ ไหนเลยที่มีกําไรในปัจจุบัน
ซึ่งแท้จริงแล้วออเดอร์ส่วนใหญ่ที่มีการสั่งผ่านแอปต่างๆโดยเฉพาะออเดอร์
ที่มียอดตํ่ากว่า 200-250 บาทนั้นล้วนขาดทุนด้วยกันทั้งสิ้น
เพราะนอกจาก ค่าการตลาดแล้วแอปฯนั้นยังต้องเสียค่าขับขี่
ให้กับคนขับรวมถึงค่าใช้จ่าย ในการพัฒนาโปรแกรมอยู่ตลอดเวลา
1
เมื่อถึงวันนึงที่ผู้บริโภคเริ่มเสพติดการสั่งอาหารเดลิเวอรี่
แและแอปต่างๆเลิก ทุ่มงบการตลาดเหมือนทุกวันนี้
ผู้บริโภคจะยอมจ่ายค่าส่งในราคาปกติ หรือไม่
5. ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นของร้านอาหาร
1
ต้องเข้าใจว่าร้านอาหารส่วนใหญ่ในบ้านเรานั้น
ไม่มีการคํานวณต้นทุนแต่ละ เมนูโดยละเอียดตั้งแต่แรก
แต่เป็นการตั้งราคาโดยดูจากคู่แข่งในตลาด มากกว่า
สิ้นเดือนก็เอารายได้มาลบกับรายจ่ายทีเดียวแล้วค่อยดูว่า
เหลือติด กระเป๋าเท่าไหร่ก็จะเป็นกําไรในแต่ละเดือน
ซึ่งก่อนหน้านี้ก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรจนวันที่หน้าร้าน
ลูกค้าเริ่มลดน้อยลง เพราะสถานการณ์โควิด-19
และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของลูกค้าที่คุ้นชิน
กับการซื้อของออนไลน์มากขึ้น ร้านอาหารเองก็ไม่มีศักยภาพที่จะทํา
ระบบเดลิเวอรี่ของตัวเองทําให้ต้องหันไปพึ่ง แอปฯสั่งอาหารต่างๆ
ซึ่งร้านส่วนใหญ่นั้นไม่ได้มีการเผื่อต้นทุน GP
หรือส่วนแบ่งที่ต้องจ่ายให้แอป ฯ (30-38%ของยอดขาย)
เพราะรูปแบบเดลิเวอรี่ผ่านคนกลางนั้นเพิ่งมีมา ในช่วงไม่กี่ปีนี่เอง
ทําให้ต้นทุนของร้านสูงมากขึ้น ซึ่งหากไม่ได้มีการวาง
โครงสร้างต้นทุนเมนูให้ดีตั้งแต่แรกแล้วมีโอกาสที่จะยิ่งขายยิ่งขาดทุน
แน่นอน และยิ่งหากให้ร้านเป็นที่รู้จักในแอปฯเยอะขึ้น
ก็ต้องเสียค่าการตลาด ให้แอปฯอีก 10-20% ของยอดขาย
ซึ่งนอกจากต้นทุน GP แล้วยังมีต้นทุน
บรรจุภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นมาด้วยอีกส่วนนึง
และจากสาเหตุนี้ทําให้เริ่มเห็นร้านอาหารหลายร้าน
ที่เข้าร่วมกับแอปฯต่างๆ เริ่มออกมาบ่นว่าไม่ค่อยอยากขายผ่านแอปฯ
เพราะกําไรไม่เหลือหรือเหลือ แต่ก็เหลือก็น้อยมาก
แต่ถ้าไม่เข้าร่วมกับแอปฯหน้าร้านก็ขายไม่ได้อีก ทําให้
เป็นความท้าทายของเจ้าของร้านหลังจากนี้ว่าจะทํายังไง
ให้ขายในออนไลน์ ได้โดยที่กําไรยังเหลือด้ว
3
ติดตามTorpenguin - ผู้ชายขายบริการในช่องทางอื่นๆได้ที่
ติดต่องาน E-mail : torpenguin.channel@gmail.com
โฆษณา