4 มิ.ย. 2021 เวลา 15:16 • การเมือง
Facebook ระบุว่าเพจของ #ช่อง5 เป็น "สื่อที่อยู่ภายใต้กำกับของรัฐไทย" ชี้เกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณา คือ ความเป็นเจ้าของ การควบคุมดูแล แหล่งเงินทุน และกระบวนการที่ยืนยันความเป็นอิสระด้านบรรณาธิการ
ก่อนหน้านี้ เราจะเห็นว่าใน YouTube จะมีการแปะป้ายกำกับในคลิปเลยว่า Channel นี้มาจากสื่อจากสาธารณะหรือสื่อของรัฐ ขณะที่ใน Twitter ก็เริ่มมีการแปะป้ายกำกับระบุเช่นกันว่า Account ไหนเป็นของรัฐเช่นกัน
ล่าสุด ในวันนี้ (4 มิถุนายน 2564) เราพบว่าเพจ TV5HD1 ซึ่งเป็นเพจของสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 (ททบ.5) ซึ่งฐานะเป็นโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ประเภทบริการสาธารณะเพื่อความมั่นคง ถูกทาง Facebook ระบุว่าเป็น "สื่อที่อยู่ภายใต้กำกับของรัฐไทย" (Thailand state-controlled media)
ข้อความที่ Facebook แจงใน Help Center โดยระบุว่า Facebook ให้คำนิยามของ "สื่อที่ควบคุมโดยรัฐ" ว่าเป็นสื่อมวลชนที่ Facebook ได้ระบุว่าผลิตเนื้อหาบางส่วนหรือเนื้อหาทั้งหมดภายใต้การควบคุมของรัฐบาลในประเทศของตน Facebook กำหนดให้เพจเหล่านี้ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานความโปร่งใสขั้นสูงกว่าเพจอื่นๆ เนื่องจากเป็นเพจที่มีทั้งอิทธิพลขององค์กรสื่อสารมวลชนและการสนับสนุนจากรัฐ
Facebook ระบุต่อว่า Facebook ดูการยืนยันตัวตนขององค์กร โดยใช้คำนิยามและมาตรฐานของ Facebook เพื่อตรวจสอบ ความเป็นเจ้าของ การควบคุมดูแล แหล่งเงินทุน และกระบวนการที่ยืนยันความเป็นอิสระด้านบรรณาธิการ เมื่อองค์กรเหล่านี้ได้รับยืนยันตัวตนแล้ว จะมีป้ายกำกับปรากฏอยู่ภายใต้ส่วนความโปร่งใสของเพจ
"ป้ายกำกับนี้จะทยอยใช้งานทั่วโลก โดยจะแสดงป้ายกำกับบนองค์กรและผู้เผยแพร่ที่ตรงตามเกณฑ์ที่แสดงไว้ ... ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่เราใช้เพื่อตัดสินว่ามีการควบคุมเนื้อหาบางส่วนหรือทั้งหมดโดยรัฐบาลหรือไม่ องค์กรที่เชื่อว่าตนได้รับป้ายกำกับไม่ถูกต้องสามารถยื่นอุทธรณ์ได้ ผู้ดูแลเพจที่ถูกติดป้ายกำกับเท่านั้นที่จะเห็นแบบฟอร์มการอุทธรณ์ได้" Facebook กล่าวใน Help Center
ส่วนองค์กรสื่อสาธารณะที่ได้รับการสนับสนุนเงินทุนโดยสาธารณะ มีพันธกิจด้านการบริการสาธารณะ และสามารถแสดงให้เห็นถึงอิสระจากการควบคุมเนื้อหาได้นั้น Facebook ระบุว่า จะไม่ถูกพิจารณาว่าเป็นสื่อที่ควบคุมโดยรัฐ และจะไม่ได้รับป้ายกำกับในตอนนี้
Facebook ให้คำจำกัดความและกำหนดมาตรฐานสำหรับองค์กรสื่อที่ควบคุมจากรัฐ โดยรวบรวมข้อมูลและความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ การปกครอง สิทธิมนุษยชน และการพัฒนากว่า 65 รายทั่วโลก ส่วนรายชื่อผู้เชี่ยวชาญบางส่วนที่ Facebook ปรึกษา ได้แก่
- Reporters Without Borders
- Center for International Media Assistance
- European Journalism Center
- Oxford Internet Institute
- Center for Media, Data and Society (CMDS) at the Central European University
- The Council of Europe
- UNESCO
- Global Forum for Media Development (GFMD)
- African Centre for Media Excellence (ACME)
- SOS Support Public Broadcasting Coalition
- เป็นต้น
ส่วนปัจจัยที่บ่งบอกถึงการควบคุมเนื้อหาโดยรัฐบาล ในนิยามของ Facebook นั้นมีรายละเอียดอย่างไร อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/help/767411547028573 (มีทั้งเวอร์ชันภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
ติดตาม "ยามเฝ้าจอ" ได้จากหลายหลายช่องทางดังนี้
Twitter: https://twitter.com/YarmFaoJor (@YarmFaoJor)
โฆษณา