6 มิ.ย. 2021 เวลา 05:20 • หนังสือ
คำตอบของคำถาม “ทำอย่างไรให้มีเงินเก็บกับเค้าบ้าง?
1
ต่อเนื่องมาจากโพสต์ที่แล้วค่ะ หลายคนอาจสงสัยว่า “กฎการเงิน 9/1” จากหนังสือเรื่อง เงินมีชีวิต คืออะไร?
ทำให้แอดเปลี่ยนจากคนที่ไม่เงินเก็บเลยสักบาท เป็นคนมีเงินเก็บหลักแสนได้อย่างไร?
1
ย้อนกลับไป 3 ปีก่อนหลังจากอ่านหนังสือจบ แอดไม่รีรอค่ะ นำ “กฎการเงิน 9/1” มาใช้ทันทีด้วย 2 เหตุผลคือ
1
1. เราทนไม่ไหวแล้วที่ตัวเองอยู่ในสภาพแบบนี้ อยากมีเงินเก็บกับเค้าบ้าง
2. อยากพิสูจน์ว่ากฎนี้ใช้ได้จริงไหม ยืดหยุ่นอย่างที่ผู้เขียนกล่าวไว้หรือไม่
1
มาเริ่มกันเลยค่ะ…
“กฎการเงิน 9/1” คือ การนำเงินรายรับมาแบ่งเป็น 10 ส่วนเท่าๆกัน โดย 9 ส่วนเป็นค่าใช้จ่ายและเงินเก็บฉุกเฉิน อีก 1 ส่วนที่เหลือเป็นเงินเก็บเพื่อการลงทุนเท่านั้น
ตัวอย่างเช่น แอดมีเงินเดือน 15,000 บาท นำมาแบ่งเป็น 10 ส่วนเท่าๆกัน จะได้ส่วนละ 1,500 บาท
#9 ส่วนแรก: จัดสรรเป็นค่าใช้จ่ายและเงินเก็บฉุกเฉินดังนี้
- 4 ส่วน: 4x1,500 = 6,000 บาท -> บัญชี 1: เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการดำรงชีพ เช่น ค่าเช่าที่พัก (ถ้ามี) ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอาหาร
1
- 3 ส่วน: 3x1,500 = 4,500 บาท -> บัญชี 2: เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการเดินทาง เช่น ค่าเดินทางจากที่พักไปที่ทำงาน
- 1 ส่วน: 1x1,500 = 1,500 บาท -> บัญชี 3: เป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัว เช่น ท่องเที่ยว เสื้อผ้า อะไรก็ได้ที่อยากได้
- 1 ส่วน: 1x1,500 = 1,500 บาท -> บัญชี 4: เป็นเงินเก็บสำรองฉุกเฉิน เช่น ใช้เมื่อยามเจ็บป่วยต้องหยุดงาน หรือตกงาน
#1 ส่วนที่เหลือ: เป็นเงินเก็บเพื่อการลงทุนเท่านั้น -> บัญชี 5: ต้องนำไปลงทุนในรูปแบบใดก็ได้ที่ให้ผลตอบแทนเกิดขึ้น
1. หากมีหนี้สิน ต้องนำเงินรายรับมาหักหนี้ที่ต้องจ่ายคืนต่อเดือนออกก่อน แล้วค่อยนำไปแบ่งเป็น 10 ส่วน เช่น หากต้องจ่ายค่าบัตรเครดิต 5,000/เดือน เราต้องเอา 15,000 - 5,000 บาท ก่อน เหลือ 10,000 บาท แล้วจึงมาแบ่งเป็น 10 ส่วน จะได้ส่วนละ 1,000 บาท -> ปัญหาคือ เงินค่ากินจะไม่พอ -> ทางแก้คือ กู้หนี้ส่วนบุคคลมาปิดยอดเต็มบัตรเครดิต ทำให้เหลือจ่ายหนี้ต่อเดือนแค่ 2000 บาท/เดือน ได้สภาพคล่องคืนมา จ่ายดอกเบี้ยถูกกว่า และหยุดใช้บัตรเครดิตเลย (ยังจำความรู้สึกตอนหักบัตรทิ้งด้วยมือได้อยู่เลยค่ะ)
1
2. เงิน 6,000 บาท ต้องจ่ายค่าที่พัก ค่าน้ำไฟ ค่าอาหาร บางครั้งมันไม่พอจริงๆค่ะ -> ทางแก้คือ ดึงเงินจากค่าเดินทางและค่าใช้จ่ายส่วนตัวมาชด + หาทางลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ + หารายได้เสริม
1
เวลาผ่านไป 3 ปี….
ไม่แตะต้องเงินสำรองฉุกเฉินและเงินเก็บเพื่อการลงทุนเลย ทำให้แอดมีเงินเก็บรวมดังนี้
- เงินสำรองฉุกเฉิน: 1,500 x 36 เดือน = 54,000 บาท
- เงินเก็บเพื่อการลงทุน: 1,500 x 36 เดือน = 54,000 บาท
รวมเงินเก็บ 54,000 + 54,000 = 108,000 บาท
4
1. ต้องพยายามจัดการหนี้สิน ให้จ่ายคืนต่อเดือนน้อยที่สุด ไปคุยกับเจ้าหนี้ คุยกับธนาคาร ทำมันทุกวิธี สภาพคล่องเราจะดีขึ้น ค่ากินเราจะพอทำให้เราไม่ไปเอาเงินเก็บมาใช้
2. แอดเปิดบัญชี 5 บัญชี แยกเลย ทำให้เราคำนวณได้ว่าเรามีเงินพอกับค่าใช้จ่ายแต่ละอย่างหรือไม่
3. บัญชีเงินเก็บสำรองฉุกเฉิน ฝากเข้าไปอย่างเดียว ไม่ต้องทำบัตร ATM
4. เงินเก็บเพื่อการลงทุน แอดนำไปลงทุนทันที เช่น ซื้อ LTF, RMF, ETF หรือซื้อหุ้น (ต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม) ให้ตัดเงินส่วนนี้ออกจากชีวิตเราไปเลย ให้คิดว่าไม่มีมันอยู่ ค่อยเปิดดูอีกที 10 ปีข้างหน้าค่ะ
2
5. ทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายทุกเดือน ทำล่วงหน้า 1 ปีได้ยิ่งดี
1
*** ถ้าใครทำตามกฎนี้ได้นาน 1 ปี แอดรับรองเลยว่าคนๆนั้นมีเงินเก็บแน่นอนค่ะ***
3
*** คนที่ทำสำเร็จได้คือคนที่ต้องมี 2 สิ่งนี้คือ อดทน + มีวินัย ***
1
วันนี้แอดได้พิสูจน์แล้วว่ากฎนี้ใช้ได้จริง อยากขอบคุณผู้เขียนหนังสือเล่มนี้มากๆค่ะ หนังสือเล่มนี้มันเปลี่ยนวิธีคิด เปลี่ยนหนังสือ และเปลี่ยนชีวิตแอดไปเลยค่ะ
วันนี้แอดไม่ต้องถามคำถามเดิมๆแล้วว่า “ทำไมยังไม่มีเงินเก็บกับเค้าสักที?” แต่เปลี่ยนมาถามตัวเองว่า “จะเอาเงินเก็บไปลงทุนอะไรดี ให้ได้ผลตอบแทนเยอะๆ”
คุณล่ะคะ อยากถามคำถามไหนกับตัวคุณเอง?
References:
คุณวุฒิ บูรณเขตต์ (2556), เงินมีชีวิต, หน้า 72, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ซีเอ็ด
โฆษณา