6 มิ.ย. 2021 เวลา 17:01 • คริปโทเคอร์เรนซี
สรุปจาก 📝 What Do You Think? EP.1: Cryptocurrency
🗣 Speaker: คุณหาญ (พีรพัฒน์ หาญคงแก้ว)
- CEO of Blockchain Review
- เจ้าของรายการ DeFi WTF
- ผู้เขียนหนังสือ Bitcoin & Blockchain 101, Digital Asset Investment 101
✳️ Moderator: พี พนิต P Panit
🏠 Clubhouse: “วันนี้..สรุปมา” club
📅 Date: 27 May 2021 (21:00-22:30)
🎧 สามารถรับฟังย้อนหลังในรูปแบบของ Podcast ได้ที่
======================
1. Cryptocurrency จะตายไหม?
======================
1.1 คริปโต จะตายไหม?
- ถ้าถามว่ามันจะตายไหม มันไม่ตายหรอก มาไกลขนาดนี้แล้ว คำถามนี้อาจจะดูเป็นคำถามโง่ๆ สำหรับคนในวงการ แต่ถ้าถามคนนอกวงการบางทีเขาไม่รู้จริงๆ และเขาคิดว่ามันมีโอกาสตายได้จริงๆ
- ในอีกแง่หนึ่งเวลาคนถามคำถามนี้มักจะหมายถึงว่า มันจะลงอีกไหมมากกว่า ตอนนี้ยังไม่ได้รู้สึกว่าตลาดมันเป็น Bear Market (ตลาดขาลง) เต็มตัว ยังเป็นลักษณะของ Sideway (ไม่มีทิศทางการปรับตัวที่ชัดเจน)
1.2 ทำไมช่วงที่ผ่านมา คริปโตถึงลงหนัก
- ตอนที่ตลาดมันตก พูดในแง่ของ technical อาจจะมีคนออกมาเตือน เช่น อาจารย์พิริยะ Piriya ว่ามันขึ้นมาเยอะแล้วก็ควรมีจุดที่ควรจะลงบ้าง แต่ครั้งนี้ไม่คิดว่าจะลงเยอะขนาดนั้น ในทาง technic ควรจะมีการทยอยขายบ้าง แต่ผมไม่ได้ทำอะไรเพราะขี้เกียจ และไม่คิดว่ามันจะลงขนาดนั้น ตอนนั้นเรามองว่า fundamental ของคริปโตมันไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง และไปในทิศทางค่อนข้างบวกด้วยซ้ำ ไม่มีปัจจัยเหตุผลด้านการเงิน หรือตลาดทุนอะไรที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ที่จะทำให้ตลาดมัน crash แรง ที่ Elon Musk พูดก็มีผลทางกระแส แต่ไม่ได้รุนแรงขนาดนั้น
- ปัจจัยที่มีผลจริงๆ คือ เรื่องการแบนในตลาดจีน ซึ่งน่าจะเป็นครั้งที่ 3 หรือ 4 ที่จีนประกาศข่าวในด้านไม่ดีกับ cryptocurrency ซึ่งทุกๆ ครั้งจะมี cycle คล้ายๆ กัน คือการที่คนจีน panic แล้วเทขายเหรียญเอาเงินออกนอกตลาด เพราะกลัวว่าจะขายเหรียญไม่ได้ คนจีนเอาเงินออกจริงๆ ผมไปดูกราฟ cryptocurrency คู่กับ RMB ที่เป็นเงินหยวนของจีน จะเห็นเลยว่าแรงเทขายมหาศาลมากในช่วงนั้น แต่คราวนี้ที่มันรุนแรงกว่าครั้งอื่น เพราะเขาเอาจริงในการจัดการ ธุรกิจที่โดนหลักที่สุดคือ ธุรกิจการขุด เขาเอาจริงถึงขั้นที่ว่าห้ามขุดเลยในจีน ธุรกิจตรงนี้เป็นธุรกิจที่ไม่ได้เอาเงินออกง่าย คริปโตอาจจะเอาเงินออกง่าย แต่ตัวธุรกิจที่มีเครื่องอยู่ การที่จะเคลื่อนย้ายมันยาก ก็เลยเกิดแรง panic มากกว่าปกติ รวมถึงกระแสจาก Elon Musk นู้นนี่ด้วย เลยเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นมา
เหตุการณ์ครั้งนี้ correction จะมาช้ากว่าปกติ จีนเมื่อก่อนที่แบน correction เดี๋ยวก็มา แต่คราวนี้รู้สึกว่า correction น่าจะมาช้า ในระยะสั้นคนจีนก็ panic เอาเงินออก แล้วค่อยๆ หาทางดูว่าจะเอาเงินกลับเข้าสู่ตลาดยังไง ธุรกิจการขุดในจีนใหญ่ๆ ก็อาจจะมาหาเส้นทางว่า เราจะไปเปิดในเมืองนอกยังไง ข่าวล่าสุดเพิ่งมีมาคือ รัฐบาลจีนจะหารือถึงผลกระทบ เรื่องการแบนการขุด ฟังแล้วก็แปลกใจว่า สรุปจะแบนหรือไม่แบน ก็ไม่รู้ว่าข่าวอะไรจะมาต่อไป อาจจะแบนแค่บางส่วน ปล่อยให้บางจุดขุดได้ มีการประนีประนอม ตลาดก็จะกลับขึ้นมาอีก เราไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นเลย
- ถ้าเหตุการณ์เป็นอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆ โดยไม่มีอะไรมากระทบ ในระยะยาว มันก็จะ correction กลับไปที่จุดๆ เดิม แต่สมมุติถามว่าจะมีอะไรที่จะมาทำให้มันกลายเป็น Bear Market เลย สำหรับผมคิดว่าต้องเป็นการที่ตลาดการเงิน ตลาดทุนหลักของโลกมีการเปลี่ยนแปลง เช่น มีการดึงกลับ ตลาดหุ้นตก มีคนต้องการเงินสดอย่างกระทันหัน เพราะตลาด cryptocurrency เป็นตลาดที่มีความเสี่ยงสูง พอเขาคิดจะเอาเงินออก ตลาดนี้จะเป็นตลาดแรกที่คนเลือกที่จะเทขายทุกอย่างทิ้ง แล้วไปเก็บออมในสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงกว่า ถ้ามีเหตุการณ์แบบนั้นค่อนข้างมั่นใจเลยว่า Bear Market จะมา แต่ตอนนี้ยังไม่มีสัญญาณที่ชัดเจนขนาดนั้น เพราะทางอเมริกา ไบเดนยังมีนโยบายที่จะอัดฉีดซัพพลายเงินไปอีกสักพักหนึ่ง ยังไม่มีนโยบายดึงเงินกลับเท่าไหร่ เลยรู้สึกแปลกใจเหมือนกันที่ตลาดตกคราวนี้ เลยคิดว่าจีนน่าจะเป็นเหตุผลเดียวที่เป็นไปได้
- ที่มีข่าวว่าอิหร่านจะแบนหรืออะไรก็ตาม ถ้าเป็นประเทศอื่นๆ มันไม่มีผลกระทบเท่าจีน จีนเป็นประเทศที่ใหญ่ และเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมคริปโตมากพอสมควรตั้งแต่สมัยต้นๆ ถ้าเป็นอเมริกาหรือจีนมีท่าทีอะไรก็ไม่ค่อยห่วงเท่าไหร่
1.3 อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้ตลาดตกตอนปี 2018
- ในตอนปี 2018 มีหลายปัจจัยและหลายทฤษฎี
*1. ตลาดทุนหลักเกิดการปรับตัว
- ตอนนั้นเป็นเหตุการณ์ที่ QE Unwin ทุกตลาดปรับตัวพอดีเลย ตลาดตอนนั้นมีการดึงเงินกลับจากสหรัฐอเมริกา ตลาดทุนจะต้องเอาเงินมาคืน Fed (ธนาคารกลางของสหรัฐฯ) ตอนนั้นทุกตลาดลงมาหมดเลย รวมถึงตลาดหุ้น ตลาดน้ำมัน ตลาดทอง ทุกอย่างลงหมด ลองคิดถึงเหมือนตอนโควิด แต่อาจจะไม่รุนแรงเท่า ตอนที่ตลาดทุกอย่างลง คล้ายๆ แบบนั้น ทุกคนต้องการเงินสดอย่างกระทันหันขึ้นมาชั่วคราว
*2. ตลาดคริปโตเพิ่งเปิดตลาด future
- ทำให้นักลงทุนสามารถทำการ short ได้ คล้ายๆ จะเป็นการพนันระดับนึง ในช่วงก่อนที่ตลาดจะ crash จะมีคนเปิด short ไว้จำนวนมหาศาล ก็เลยเป็นอีกทฤษฎีนึง ที่คนบอกว่าอาจจะมีคนเปิด short ไว้มหาศาล แล้วถือไว้ volume มากพอที่จะเท แล้วก็ทุบตลาดลงไปได้ มีคนเอาทฤษฎีนี้ไปล้อเหมือนกับตอนที่ตลาดทองเกิด future ครั้งแรก ก็มีคนมา short เยอะๆ แล้วทุกคนก็พร้อมใจกันเทขายเพื่อเอากำไร
*3. Ethereum Foundation เทขาย cryptocurrency
- หนึ่งในหลายๆ สิ่งที่หลายคนไม่รู้เกี่ยวกับ Ethereum คือ Ethereum เป็นแพลตฟอร์มและเป็นเหรียญที่มีการเสกขึ้นมาเยอะมาก เรียกว่า Ethereum ทั้งหมดที่เราขุดขึ้นมาได้ยังไม่สามารถเทียบได้กับ Ethereum ที่เสกขึ้นมาตอนแรก แล้วมอบให้กับ Vitalik และ Ethereum Foundation ซึ่งน่าจะมีอยู่เกือบๆ 70% Vitalik มีบทเรียนจากตอนปี 2014 ที่ตลาดตก เขาพบว่าตอนที่ตลาดตก Ethereum Foundation หาทุนไม่ทัน เพราะตอนยอดดอยไม่ได้ขาย แล้วตอนตลาดตกก็หาทุนได้ไม่พอ แล้วถ้าเกิดว่าขายอีก เหรียญก็จะตกไปอีก เพราะฉะนั้นก็เลยมีรายงานออกมาทีหลังว่า Vitalik เป็นคนพูดเองว่าตอนช่วงปี 2018 ตอนที่ Ethereum ขึ้นไป 50,000 บาท แล้วตกลงมา ส่วนนึงเกิดจาก Vitalik เองที่โน้มน้าวให้ Ethereum Foundation เทขายเหรียญเพื่อมาเป็นทุนต่อ
รอบนี้ก็ล้อกับคราวที่แล้วเหมือนกัน คราวที่ผ่านมาก็มีข่าวเหมือนกันว่า Ethereum Foundation เทขาย Ethereum จำนวนมหาศาล พอถึงจุดยอดเขาก็ต้องเทขาย ค่อนข้างเป็นเรื่องปกติ เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ตลาดตกค่อนข้างแรง
*4. โปรเจค ICO ส่วนใหญ่เป็นโปรเจคขายฝัน ไม่มีเงินหมุนเวียน
- ในปี 2018 ICO ส่วนใหญ่ระดมทุนมาด้วย Ethereum มีโปรเจค ICO เต็มไปหมดเลย ซึ่ง ICO ส่วนใหญ่เป็นโปรเจคขายฝัน ล้มตายซะเป็นส่วนใหญ่ ทำอะไรไม่ค่อยได้ ถ้าเทียบกับสมัยนี้ที่มี DeFi และ NFT พอเริ่มมีการเทขายจาก Etheruem Foundation สิ่งที่เกิดขึ้นคือ โปรเจคต่างๆ ที่ระดมทุนเก็บไว้ด้วย Etheruem พอเขาเห็นตลาดเริ่มตก ทุกโครงการก็จัดการเท Ethereum แล้วเปลี่ยนเป็นเงินสด เพราะเขามองว่าตลาดตกแล้ว เก็บ Ethereum ไปก็เท่านั้น เขาต้องการเงินทุนมาหมุนเวียนโครงการต่อ
- มันก็เลยเป็นเหมือนปฏิกิริยาลูกโซ่ทำให้ตลาดตกทุกอย่าง ผลกระทบจากตลาดทุน มีตลาด short เข้ามาชน Ethereum Foundation เทขาย fundamental ของ cryptocurrency ยังทำอะไรไม่ได้มาก การสนใจของสถาบันการเงินก็ยังน้อยมาก เลยเป็นเหตุการณ์ที่ค่อนข้างรุนแรงมาก ตอนนั้น correction ของ Bitcoin ประมาณเกือบ 80% แต่ครั้งนี้แค่ 50% นั้นคือสิ่งที่เกิดขึ้นในปี 2018
2
1.4 คิดว่าปัจจุบันจะมี Big Crash เหมือนปี 2018 ไหม
- ผมมองว่าอันนี้ไม่ใช่ big crash เหมือนต้นปี 2018 แต่ว่าเป็น crash ทั่วๆ ไปที่สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะว่าอย่างในปี 2017 ตอนที่ตลาดลง 30-50% กว่าที่จะเป็น Bear Market (ตลาดขาลง) จริงๆ เหตุการณ์แบบนี้ก็เกิดขึ้นประมาณ 4-5 ครั้งในช่วงปีนั้น พอมาในปีนี้จะเกิดขึ้นสักครั้งสองครั้งมันก็ไม่แปลก แล้วก็นี่รู้สึกจะเป็นครั้งแรกตั้งแต่ Bull Market (ตลาดขาขึ้น) เริ่มต้นขึ้น เพราะหลังจากนั้นเราจะเห็นว่ามีแต่ข่าวดีมาตลอดว่า กองทุนนู้นกองทุนนี้เข้าซื้อ แต่เราก็จะเห็นว่าตลาดไม่ได้ correction กลับไปที่ 50,000 USD
การที่มันไม่ correction กลับไป มันค่อนข้างชัดเจนว่า ความ panic และก็การเทขายจากจีนมันยังมีอยู่จาก policy ที่ไม่ค่อยมั่นคง​ ซึ่งถ้าตรงนั้นมีความแน่นอนเมื่อไหร่ เช่น มีความชัดเจนว่าจีนยังไงก็ไม่เอา คนก็จะเตรียมย้ายธุรกิจไปนอกประเทศ เงินก็จะเริ่มไหลกลับ ซึ่งกว่าจะถึงจุดๆ นั้นก็คิดว่าต้องใช้เวลาอย่างน้อยเดือนหนึ่ง ขั้นต่ำแน่นอน
- ถ้าถามว่าตลาดมีสิทธิ์กลับลงไปเหมือนตอนปี 2018 ได้ไหม คิดว่ามีแน่ๆ แต่ว่าโดยส่วนตัวคิดว่ารอบนี้ยังไม่ใช่ ปีนี้มันต่างกัน ตลาดทุนเราไม่รู้ว่าจะมี effect เกิดขึ้นเมื่อไหร่ แต่ว่าในแง่ของ fundamental ที่มีนักลงทุนสถาบันสนใจ เราก็อุ่นใจขึ้นได้ในระดับหนึ่ง เราจะเห็นว่าช่วงที่ตลาดตกที่ผ่านมามีหลายแห่งที่ประกาศว่า เราจะลงทุนใน Bitcoin เต็มไปหมด
ในแง่ของ fundemental ของ DeFi และ NFT ทำให้ตลาดดูมีพื้นฐานขึ้นมาบ้าง เราจะเห็น transaction ของ Ethereum เพิ่มขึ้น ค่า Fee เก็บได้มหาศาล Binance Smart Chain เกิดขึ้น แล้วก็มี DeFi เกิดขึ้นเต็มไปหมด ไม่ว่า DeFi เราจะมองมันแย่แค่ไหน แต่มันก็ยังทำให้เกิดการหมุนเงิน ในปี 2018 ที่เขาระดมทุนโครงการ อัตราการหมุนเงินมันไม่ได้เหมือนกับ DeFi มันเป็นการเอาเงินไปกองไว้ที่คนๆ นึง แล้วเขาก็เทขายออกไป แต่พอเป็น DeFi จะมีการหมุนเงินตลอด ไม่ว่าโปรเจคจะแย่แค่ไหน นี่เป็นข้อดีที่ทำให้ตลาดมีพื้นมากขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2018 ผมเลยมองว่าตลาดมีสิทธิที่จะ crash แต่ไม่ว่าจะ crash ยังไงก็จะไม่หนักเท่าตอนปี 2018
======================
2. เปรียบเทียบ Binance กับ Ethereum
======================
2.1 Binance vs. Ethereum
- ถ้าพูดในแง่ของ fundamental หลายๆ อย่าง BNB (Binance Coin) ค่อนข้างดีกว่า ETH (Ethereum) อย่างแรกเลยคือ BNB เป็น fixed supply มันไม่เฟ้อเหมือน ETH แล้วก็จะมีการเผา BNB ไปเรื่อยๆ Supply ของ BNB จะลดลงๆ (ETH ปัจจุบันเหรียญยังสามารถออกมาได้แบบไม่จำกัด)
- ปัจจุบันเราสามารถเอา BNB ไป stake ใน BSC (Binace Smart Chain) เพื่อรับ fee ได้ ผลตอบแทนประมาณ 10-20% ต่อปี เหมือนกับเราว่าเราเอาไปวางบน node แล้ว node ก็จะเก็บค่า fee ที่เกิดขึ้นบน BSC แล้วก็ปันผลมาให้เรา มันจะลักษณะคล้ายพวกเงินปันผล ซึ่ง ETH มีแผนนี้ใน Ethereum 2.0 แต่ว่ามันยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งจะเป็น game change ของ ETH เหมือนกัน แต่ว่า BSC ทำเกาะไปแล้ว นอกจากนี้ Binance ยังเป็น exchange ขนาดใหญ่ แล้วก็มีการปรับตัวได้ค่อนข้างเร็วในแง่ของการที่มันเป็น centralized เร็วจนไม่น่าเชื่อ เป็น exchange เดียวที่สามารถอยู่รอดได้จากการที่มี exchange ส่วนใหญ่ที่ทำ ICO ในช่วงปี 2017 แล้วก็ขึ้นมาเป็นเบอร์หนึ่ง
แต่มีสองจุดที่ Binace ไม่สามารถแก้ได้เลยคือ
*1. เทคโนโลยี
- ยังไง Binace Smart Chain ก็ก็อปปี้เทคโนโลยีมาจาก Ethereum และทาง Binance ก็ไม่ได้เด่นด้านเทคเท่ากับ Ethereum เท่าไหร่ เพราะฉะนั้นอะไรที่เกิดขึ้นมาบน Binance Smart Chain ส่วนใหญ่ก็ก็อปปี้มาจาก Etheruem ทั้งนั้น
*2. ความเป็น decentralized
- ถ้าเราลงทุน BSC (Binance Smart Chain) จะเป็นลักษณะเหมือนว่า เราลงทุนในบริษัทเอกชนบริษัทหนึ่ง แต่เวลาที่เราลงทุนกับ Ethereum เหมือนเราลงทุนในเทคโนโลยีที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ เราจะเห็นว่าในปัจจุบันตลาด NFT ของ Ethereum จะใหญ่กว่า ตลาด NFT ของ BSC เพราะว่าสุดท้ายแล้ว BSC และตัว Binance มันก็เป็น Centralized ถ้าคุณเอาเงินไปฝากหรือว่าเล่นอะไรบน BSC จริงๆ แล้วในลักษณะหนึ่งก็เหมือนกับว่าคุณเอาเงินไปฝากในบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง เพราะฉะนั้นคือ ความเชื่อใจตรงนี้มันถึงต่างกันมาก ในแง่ของการที่เราจะฝากเงินมูลค่ามหาศาลบน BSC ได้ และนี่เป็นข้อจำกัดของ BSC
- อีกอย่างหนึ่งคือที่ BSC เติบโตขึ้นมาได้เพราะมันโหน Ethereum พอสมควร DeFi เกิดมาจาก Ethereum เพราะว่า Ehtereum เป็น blockchain ที่มี TVL (Total Value Locked) สูง จากการที่เหรียญ Ethereum เป็นเหรียญที่มีมูลค่า มีเหรียญมากมายที่ไปทำงานบน Ethereum จากการระดมทุนต่างๆ มากมาย Stable Coin แทบจะทุกชนิดจะไปอยู่บน Ethereum ไม่ว่าจะเป็น USDT, USDC มันก็เลยมีเงินกองอยู่บน Ethereum มหาศาล พอ Ethereum ทำ DeFi ที Value Locked ตรงนั้นเลยทำให้ DeFi เติบโตขึ้นมาได้
- พอมาฝั่ง BSC (Binance Smart Chain) ทำท่าที่ง่ายมากที่ทำให้ตัวเองเติบโตคือ เอาเหรียญทุกเหรียญของ Ethereum มาเพคไว้บน BSC แล้วก็ทำเป็น DeFi ขึ้นมา การเติบโตของ BSC มันโหน Ehtereum อยู่ เพราะฉะนั้นถ้ามองแค่ในแง่ของ DeFi อย่างเดียว Binance ยากที่จะเอาชนะ Ethereum ได้
- แต่ถ้ามองในแง่ของภาพใหญ่ว่า Binance เป็นเหมือนหุ้นของบริษัทเอกชนที่เหรียญสามารถเอาไปจ่าย fee ได้ เอาไปเคลมค่า fee ได้ แล้วก็มีการยอมรับ มีการผลักดัน fundamental โดยพื้นฐานค่อนข้างดีกว่า Ethereum ในหลายๆ อย่าง ยกเว้นสองอย่างที่พูดไป
2.2 การมาของ Ethereum 2.0 มีผลกระทบต่อ Binance ยังไงบ้าง
- ถ้า Ethereum 2.0 มาจะเป็นผลดีต่อ Binance เพราะว่า Binance จะสามารถคัดลอกเทคโนโลยีของ Ethereum ไปใช้ได้อย่างง่ายๆ เลย และมันจะทำให้ Total Value Locked ของ Ethereum โต แล้วก็จะส่งผลดีต่อตัว Binance ไปด้วย
- การมาของ Ethereum 2.0 มันจะไม่ได้มาแบบ 100% มันจะค่อยๆ มา ค่อยๆ เปลี่ยนเครือข่าย network ไปทีละนิด อาจจะ 5-10% ก่อน พอเครือข่ายเห็นว่ามันดีแล้ว มันจะค่อยๆ ขยับไปทีละนิดๆ แต่พอ Binance ถ้าเขาเห็นว่าดี เขาสามารถเปลี่ยนทั้งหมดได้เลย นี่คือความแตกต่างกันของทั้งคู่
2.3 การที่ Ethereum Foundation ถือเหรียญไว้เกือบๆ 70% ของ Ethereum จะมีผลกระทบอะไรบ้าง
- มีทั้งข้อดีข้อเสีย ข้อดีคือ ลองนึกภาพบริษัทนึงที่ถือหุ้นไว้จำนวนมาก แปลว่าเขาจะมีเงินทุนและกำลังในการผลักดันบริษัทไปต่อเรื่อยๆ ในอนาคต แต่ถ้ามองในแง่ของข้อเสียก็คือ มันเหมือนหุ้นที่มีเจ้า ไม่เหมือนสกุลเงินที่มีความอิสระเหมือน Bitcoin การกระจายตัวมันไม่ดีขนาดนั้น หมายความว่าการเทขายของมันจะมีเจ้าอยู่เสมอ ถ้าเราจะเก็งกำไรก็ต้องคำนึงไว้ด้วยว่า ทุกครั้งที่มันขึ้นไปทำ high สูงๆ Etheruem Foundation ก็พร้อมจะทุบเสมอเพื่อเอาทุนออกมา
======================
3. DeFi กับการโดนแฮก
======================
3.1 ข่าวที่ไม่ดีเกี่ยวกับ DeFi ในช่วงนี้
- เรื่องของ DeFi ตอนนั้นที่เป็นประเด็นร้อนเลย คือมี DeFi แพลตฟอร์มเจ้าหนึ่งชื่อ DeFi100 ที่เหมือนกับว่าโดนแฮกแล้ว ลงทุนแมน เอาไปลงก็เลยกลายเป็นข่าวในกระแสหลัก ทั้งๆ ที่จริงๆ มันมี DeFi อีกหลายๆ ตัวที่โดนแฮกไปเหมือนกันแต่ว่าไม่ได้เป็นข่าวในกระแสหลัก เหตุผลที่ DeFi100 กลายเป็นกระแสหลัก มันมีอยู่ 2 ประเด็นคือ
*1. เป็นแพลตฟอร์มที่ระดมทุนบน Bakery Swap ของ BSC (Binance Smart Chain)
- ซึ่งมันคล้ายๆ กับ Pancake แต่เหมือนกับว่าเป็นเบอร์รองๆ อันดับ 2 อันดับ 3 Bakery Swap มันก็มีความน่าเชื่อถือในระดับหนึ่ง พอเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น Bakery Swap ก็เสียเครดิตไปพอสมควร
*2. มีการเขียนประกาศข้อความที่กวนมากหลังจากโกงเงินไปแล้ว
- โดยเขียนประกาศออกมาว่า ผมโกงเงินคุณแล้ว แล้วก็คุณทำอะไรไม่ได้หรอก กับการที่ผมโกงเงินคุณไป ก็เลยทำให้เป็นข่าวใหญ่โต
- โดยส่วนตัวที่ผมพูดคุย community DeFi ของประเทศไทย ผมยังไม่เจอผู้เสียหายแม้แต่คนเดียว คนไทยเนี่ยชอบเล่น DeFi มาก และความรู้ติดตัวก็ค่อนข้างเชี่ยวชาญ พวกที่เล่นสายซิ่งเป็นพวกที่เหมือนกับว่า ชอบลงทุนเสี่ยงๆ แล้วก็ไม่ลงทุนโดยที่ไม่มีความรู้ จะไปลงทุนเสี่ยงๆ ที่ไหนก็ต้องมีความรู้ดี แล้วแพลตฟอร์มนี้ตอนที่มันเปิดตัวใหม่ๆ ใน community ก็มีการพูดคุยกันว่าเจ้าของแพลตฟอร์มเคยโกงเงินคนอื่นมา ให้ระวังกัน อย่าไปเล่นแพลตฟอร์มนี้ เพราะฉะนั้นคือ community ของคนที่เล่นซิ่งๆ กันทั้งหลายในประเทศไทย ก็เลยไม่ได้ไปยุ่งกับมัน เพราะมีคนที่เชี่ยวชาญคือ ลุงเต่า มาเตือนไว้ ข่าวนี้เกิดขึ้นก็จริง แต่คนไทยความเสียหายเท่ากับศูนย์
3.2 ความหมายที่แท้จริงของการพูดว่า DeFi โดนแฮก
- เวลาเราพูดถึงการแฮกของ DeFi มันจะย้อนแย้ง เพราะ DeFi ทั้งหมดทำงานโดยลักษณะของ Smart Contract เปรียบเทียบง่ายๆ Smart Contract เนี่ยเหมือนหนังสือสัญญาตัวนึง ถ้าจะบอกว่า Smart Contract ถูกแฮก มันจะเหมือนกับว่าการเอาหนังสือสัญญามาฉีกแล้วเขียนใหม่ หรือถูกแก้ไข เหมือนเวลาเราไปทำสัญญาซื้อขาย แล้วคนแอบเติม 0 เข้าไปอีกตัวในราคา อันเนี่ยคือการโดนแฮกจริงๆ
- แต่ว่า DeFi เนี่ยเป็นลักษณะของการที่เราเขียนสัญญา แล้วสัญญามีช่องโหว่ ความผิดพลาดบนโลก DeFi จะมีสองอย่างคือ
*1. ความผิดพลาดจากโครงการของคนที่เขียนสัญญา
- โดยที่ไม่ได้ตั้งใจจะให้เกิดเหตุการณ์ผิดพลาด แล้วมีคนฉวยโอกาสใช้ช่องโหว่นี้ เปรียบเทียบเหมือนสมมุติเราทำสัญญากู้ยืมแล้วระบุว่าต้องคืน 12 งวด แต่ไม่ได้ระบุว่างวดละเท่าไหร่ เพราะฉะนั้นคนก็จะไปคืนงวดสุดท้ายงวดเดียวเลย ซึ่งพวก Bunny, Venus หรือแพลตฟอร์ม DeFi น้ำดีทั้งหลายที่โดน ที่เกิดความเสียหาย จะเป็นลักษณะแบบนี้
2. แบบที่เจ้าของตั้งใจเขียนมาเพื่อโกง
- เช่น DeFi100 จะเป็นลักษณะเหมือนกับว่า เราเขียนสัญญา ผมขอกู้เงินคุณ แล้วผมจะไม่คืนเงินคุณด้วยนะ แล้วเราก็เซ็นสัญญาไปโดยที่เราไม่ได้สนใจ เพราะเราคิดว่าสัญญามันคงไม่มีอะไร เราก็เซ็นๆ ไป แต่จริงๆ สัญญามันเขียนไว้แบบนั้นอยู่แล้ว และสัญญาก็แก้ไขไม่ได้ ก็คือสัญญาบอกว่าไม่ต้องคืนเงิน จบ นี่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น
3.3 เคสที่เกิดขึ้นกับ Bunny
- เคส Bunny เนี่ยเจ้าของแพลตฟอร์มก็ไม่ได้ตั้งใจให้เกิด แต่มันก็น่าตำหนินิดนึง เพราะว่ามันมี audit เข้าไปตรวจ Bunny แล้วช่องโหว่ที่ว่าเนี่ย audit ก็เตือนแล้วว่าควรจะแก้ไข แต่ก็เหมือนว่า Bunny ก็ยังไม่ได้แก้ ถ้าสมมุติไปอ่านรายงาน audit จะระบุไว้เลยว่าตรงนี้มีความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้
#ClubhouseTH #WhatDoYouThink #คุณคิดยังไงบ้าง #Cryptocurrency #BlockchainReview #DeFiWTF #pxpanit #todayinotetoevent #todayinoteto #วันนี้สรุปมา
โฆษณา