7 มิ.ย. 2021 เวลา 06:30 • ศิลปะ & ออกแบบ
A House, Sriracha Chonburi Part 2
โจทย์หลักในการจัดวางพื้นที่ของบ้านหลังนี้ คือ คือบ้านสำหรับผู้พักอาศัย 3 คน และรองรับสำหรับผู้สูงอายุในกรณี คุณปู่คุณย่าคุณตาคุณยายมาเยี่ยม หรือพักผ่อนในบางโอกาส ในการออกแบบ เราออกแบบให้มีลำดับการเข้าถึงของบ้าน โดยพยายามทำบ้านให้เจ้าของบ้านเข้าบ้านจากประตูหน้าบ้าน แล้วมีพื้นที่เก็บรองเท้า กุญแจรถ จดหมาย รถเข็นเด็ก ร่ม หรืออื่นใด โดยแก้ปัญหาที่มักจะพบเจอในบ้านคนไทยทั่วๆไปที่ตั้งใจทำอย่างดี แต่สุดท้ายก็มักจะมีตู้รองเท้า หรือของสารพัดมากองอยู่หน้าบ้าน ในขณะที่ยังสามารถเข้าถึงห้องครัวในกรณีที่ไปจ่ายตลาดหรือแม่บ้านเข้ามาดูแลได้ได้เป็นปกติ
เมื่อเข้าสู่ภายในบ้าน เจ้าของบ้านจะพบกับภาพที่ประทับใจโดยเราเสนอให้พื้นที่นั่งเล่นยุบลงไปในลักษณะของ Sunken Living Room พร้อมด้วย ฝ้าโล่งทะลุถึงชั้นสอง Double Space  ต่อเนื่องไปกับส่วนรับประทานอาหารและเตรียมอาหาร โดยการวางพื้นที่ลักษณะนี้มีข้อดีคือเราสามารถใช้งานพื้นได้หลายอย่างพร้อม ๆกัน แต่เราก็ยังไม่ละเลยปัญหาการปรับอากาศ ที่เป็นสิ่งสำคัญของห้อง Double Space โดย การทำประตูเลื่อน และบานประตูหน้าต่างกันพื้นที่ใช้สอยอื่น ๆได้โดยมีจุดพักเก็บบานกรณีที่ไม่เปิดระบบปรับอากาศ  นอกจากนี้ในชั้นนี้ยังมี ห้องฟิตเนสที่มองวิวสวนด้านหน้า ห้องอเนกประสงค์ และห้องนอนชั้น 1 ออกแบบเพื่อผู้สูงอายุ โดยในส่วนบริการในชั้นนี้ประกอบไปด้วยห้องเก็บของ งานระบบไฟฟ้า CCTV  ห้องซักรีด ห้องครัวไทย ออกแบบให้ใช้พื้นที่อย่างสมเหตุสมผล ลดทางพื้นที่ทางสัญจรที่ไม่จำเป็นอันจะทำให้เสียงบประมาณโดยไม่จำเป็นให้มากที่สุด                                                                                      เกร็ดเล็กน้อยที่อยากจะเล่าในการออกแบบบ้านลักษณะนี้คือ หลายคนยึดติดว่าบ้านเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ห้ามนู่นห้ามนี่ เช่น ห้องครัว หรือส่วนบริการห้ามอยู่หน้าบ้าน ประตูหน้าต้องกว้าง ๆ ( แล้วเราไปมุดเข้าบ้านทางประตูหลังทุกวัน ) ทิศทางประตูหน้าบ้าน ทิศหัวนอน ทิศทางโถส้วม หรือหนักที่สุด กำหนดตำแหน่งของการใช้สอยตามที่ตำราของแต่ละอาจารย์บอกโดยไม่สนใจบริบทพื้นที่และการใช้สอยนั้น แทบจะไม่สามารถได้ผลลัพธ์ในลักษณะของบ้านหลังนี้ได้ เพราะหลักคิดหลายอย่างมันถูกเขียนให้เชื่อโดยมีลักษณะสถาปัตยกรรมโบราณเป็นแบบอย่าง  โดยในบ้านหลังนี้ทางผู้ออกแบบก็ใช้หลักคิดเล่านี้บ้างในจุดที่เป็นความเชื่อในทางจิตวิทยาหลัก ๆ อันเกี่ยวกับทัศนคติทางศาสนา หรืออื่น ๆที่เชื่อกันจนยึดถือจนถือเป็นมาตรฐานเช่นการนับขั้นบันได ทิศหัวนอนตามคติทั่วๆไป อื่นๆที่เรามักใช้ก็จะเป็นเรื่องสภาพแวดล้อม แดด ลม ฝน กล่าวง่ายๆคือกันแดด กันฝน ตอนบ่ายใช้ร่มเงาอาคารบังแดดให้ส่วนระเบียง วางห้องครัว หรือส่วนคอนเด็นซิงยูนิต ให้อยู่ใต้ลม หรือส่งผลกระทบกับผู้ใช้ให้น้อยที่สุด ร่วมด้วยกับการสรุปจากเจ้าของ ซึ่งก็ยังมีหลักคิดตามที่ได้กล่าวไปอยู่ แต่สุดท้าย เมื่อเทียบกับความเหมาะสม เจ้าของก็เลือกที่จะเชื่อในสิ่งที่อยากจะเชื่ออยู่ดี :)
มุมมองจากห้องนั่งเล่นแสดงมุมมองที่จะเห็นสระว่ายน้ำผ่านหน้าต่างห้องนั่งเล่น สร้างความผ่อนคลายแก่ผุ้พักอาศัย
มุมมองเมื่อมองจากส่วนรับประทานอาหารผ่านระเบียงริมสระและการจัดวางต้นไม้บังส่วนอาบน้ำริมสระ และส่วนบ่อตื้นเพื่อสร้างมิติและคุณค่าแก่พื้นที่ย่อย ให้รู้สึกพิเศษในแต่มุมมองของการใช้สอย โดยจากจุดนี้สามารถเดินต่อเนื่องไปยังอาคารอเนกประสงค์ริมน้ำได้อย่างสะดวก
ส่วนชั้นสอง ประกอบไปด้วยส่วนห้องนอน 1 พร้อมมินิบาร์ ห้องน้ำแบบแยกส่วนอาบน้ำ ที่มีการระบายอากาศ กับวิวที่ดี และส่วนห้องแต่งตัวขนาดใหญ่  อีกด้านของอาคารจะเป็นห้องนอน2 พร้อมห้องน้ำในตัว และห้องพระ
สุดท้ายนี้อยากหลักคิดพื้นฐานที่สามารถนำไปใช้สำหรับการเริ่มต้นออกแบบบ้านคือ การออกแบบด้วยกระบวนการออกแบบ เริ่มต้นที่ศึกษาสภาพพื้นที่ สรุปความต้องการของตัวเอง แล้วลองทำหลายๆแบบ หลายๆทางเลือก ตั้งแต่การวางตำแหน่งโซนนิ่ง การวิเคราะห์ตำแหน่งในอาคารโดยไม่ต้องสนใจหน้าตาอาคาร หากพบว่าไม่ใช่ ไม่ถูกทางก็แก้ไขหรือล้มแนวคิดนั้นก็ควรทำ อย่าฝืนกับสิ่งที่ไม่ใช่ สร้างบ้านใหม่ไม่ใช่งานรีโนเวท แล้วที่สำคัญที่สุดคือ เอาเชือกหรือปูนขาว มาวางตำแหน่งอาคารบนพื้นที่จริง ในขั้นตอนของการพัฒนาแบบ เพราะไม่ว่าสามมิติจะออกมาเหมือนจริงแค่ไหน ของจริงที่แท้ก็คือตัวเราที่ใช้ชีวิตอยู่ในบ้าน โดยสิ่งที่ควรระวังเมื่อวางตำแหน่งอาคาร คือการหลงเข้าใจสัดส่วนผิดพลาด กล่าวคือ เมื่อเราวางตำแหน่งอาคารบนที่โล่งความรู้สึกของเราจะคิดว่าขนาดมันเล็กกว่าความจริงอันเนื่องมาจากการขาดตัวเทียบสัดส่วน จึงฝากให้ระวังหรือนำของเทียบเสกลเช่นเก้าอี้หรือวัดขนาดอ้างอิงกับของจริงจะช่วยได้ แค่นี้การออกแบบบ้านก็จะสนุกไร้ขีดจำกัดทุกครั้งไป :)
โฆษณา