8 มิ.ย. 2021 เวลา 03:27 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ใช่ ถ้าเป็นองค์ความรู้เดิมของกรีก, อินเดีย ของกรีกก็โน่น 500 ปีก่อนพระเยซู..แต่พอมีการยิงอนุภาคให้แตกตัวก็พบเล็กลงไปเรื่อย ๆ เช่นอิเล็กตรอนเริ่มรู้จักตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 18 ตอนปลาย ๆ พอถึงปี 1897 JJ Thomson ก็ค้นพบจริง..ทีนี้อะตอมเล็กที่สุดก็เริ่มไม่จริง
พอมายุคเครื่องยิงอนุภาคขนาดยักษ์ LHC ของ CERN ทีนี้แหละพบอนุภาคเล็กลงไปอีกเรื่อย ๆ เช่น คว้ากชนิดต่าง ๆ รวมทั้งแอนตี้คว๊าก..ล่าสุดก็พบอนุภาคที่เรียกกันมานานทางทฤษฎีว่าอนุภาคพระเจ้าหรือ Higgs's Boson(มาจากคำว่า Goddamn Particle เพราะมันค้นพบยากเย็นแสนเข็นแม้ในทางทฤษฎีและการคำนวณทางศาสตร์จบสมบูรณ์จนอีตา Higgs ได้รับรางวัลโนเบลทางฟิสิกส์ไปแล้วตั้งนาน)
ทีนี้อนุภาคใหม่ ๆ ที่ค้นพบภายหลังนี่ถ้าอยากรู้ว่าตัวไหนเล็กที่สุดต้องไปดูรายละเอียดเพราะเขามีตัวเลขมวลกำกับ..จริง ๆ ดูที่มวลก็ไม่ได้อีกแหละเพราะอนุภาคบางตัวไม่มีมวลแถมอายุสั้นมาก ๆ
ทีนี้ต้องคิดต่อไปถึงสภาพที่ชิ้นส่วนเล็ก ๆ มาก ๆ ก่อนที่จะกลายเป็นชิ้นส่วนที่มีมวลนั่นทางทฤษฎีที่พอที่จะคำนวณทางคณิตศาสตร์ออกมาได้ด้วย ..มันเป็นแค่คลื่น ..คลื่นของพลังงาน..แถมอีกนิดไอ้เจ้าตัว Higgs Boson หรืออนุภาคพระเจ้านี่แหละที่สมกับชื่อเขาจริง ๆ เพราะเป็นตัวที่ทำให้อนุภาคตัวอื่นมีมวลขึ้นมาจากความว่างเปล่า
ถึงระดับนี้ชักจะเกินสามัญสำนึกเพราะอนุภาคกับคลื่นคือสิ่งเดียวกันที่มีทั้งสองลักษณะเราจะคิดในมิติของขนาดว่าเล็กใหญ่กับคลื่นก็คงไม่ชัดนัก นอกจากจะพูดถึงมิติอื่นของคลื่นเช่นความถี่
สุดท้ายเราต้องคิดไปถึงว่าในทางทฤษฎีหรือแม้แต่ทำได้จากการทดลอง..สรรพสิ่งมันมาจากความว่างเปล่าได้..สสารมาจากพลังงาน พลังงานกับสสารเปลี่ยนกลับไปมาได้จริงตามสมการ E = mc square ของไอสไตน์
อะไรคือสิ่งที่เล็กที่สุดจึงไม่ใช่คำถามที่นักวิทยาศาสตร์เขาสนใจไปตั้งนานแล้ว..เขาหาว่าอะไรคือพื้นฐานเริ่มต้นสุดต่างหาก..ต้องไปหาดูพวก String Theory หรือ Quantum Fluctuation โน่นว่าเขาคิดอะไรกัน..หรือถ้าติดใจสภาพที่เล็กที่สุดของสสารก็ไปหาดูแนวคิดเรื่องหลุมดำที่มวลของสสารยุบตัวลงจนมีขนาดเป็นศูนย์แต่ยังคงมีมวลเท่าเดิม(พูดอีกอย่างคือมีแรงโน้มถ่วงเท่าเดิม)
1
โฆษณา