8 มิ.ย. 2021 เวลา 06:51 • สิ่งแวดล้อม
Kamitkatsu เมืองเล็กในชนบทญี่ปุ่น ที่ปลอดขยะอันดับต้นของโลก
1
Kamitkatsu (คามิคัตสึ) คือเมืองเล็ก ๆ ในจังหวัดโทคุชิมะ ตั้งอยู่บนเกาะชิโกกุ เมืองเล็กๆนี้มีประชากรเพียง 1,700 คนเท่านั้น
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เมืองเล็ก ๆ แห่งนี้ได้กลายเป็นหนึ่งในแลนด์มาร์คของคนที่รักสิ่งแวดล้อม ในฐานะเมืองปลอดขยะอันดับต้น ๆ ของโลกและต้นแบบการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน
สถานที่แห่งนี้กลายเป็นเมืองปลอดขยะได้ยังไง วิถีชีวิตของคนที่นี่เป็นแบบไหน ไปหาคำตอบกันครับ
ขอบคุณภาพจาก medium.com
ย้อนกลับไปในปี 2003
ถ้าจำกันได้ในช่วงเวลานั้นทั่วทั้งโลกกำลังเกิดการตื่นตัวเรื่องของสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงและวิกฤตของขยะพลาสติก แน่นอนว่า ชาวเมือง คามิคัตสึ ต่างก็เริ่มตื่นตัวกับปัญหานี้
สิ่งที่ชาวเมืองทำในตอนนั้นคือ พวกเขาเริ่มจัดการขยะทุกชิ้นในเมือง Reduce, Reuse และ Recycle ทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อยุติการพึ่งพาเตาเผาและการฝังกลบขยะ
รัฐบาลท้องถิ่นก็สนับสนุนโครงการนี้อย่างจริงจังจนก่อตั้ง Zero Waste Academy พื้นที่ให้พลเมืองและเยาวชนได้เรียนรู้รูปแบบการคัดแยกขยะที่ทรงประสิทธิภาพ ซึ่งต้องแยกขยะอย่างละเอียดออกเป็น 45 ประเภท
1
เกร็ดความรู้ : การแยกขยะออกเป็น 45 ประเภท จะช่วยให้การรีไซเคิลมีประสิทธิภาพมากขึ้น
3
นอกจาก Zero Waste Academy แล้วทางรัฐบาลท้องถิ่นยังออกนโยบายลดขยะอีกหลายอย่างเช่น การสนับสนุนให้ผู้คนนำของใช้มาแลกเปลี่ยนกัน ไปจนถึง การสร้างอาชีพนักอัพไซเคิล เพื่อผลิตสินค้าชิ้นใหม่อย่างสร้างสรรค์จากข้าวของเหลือใช้ในเมือง
1
และพวกเขาได้ตั้งเป้าหมายว่า ภายในปี คศ.2020 คามิคัตสึ จะต้องเป็นเมืองปลอดขยะ 100เปอร์เซ็นต์ ขยะทุกชิ้นภายในเมืองจะต้องนำมารีไซเคิลได้ทั้งหมด
และตอนนี้พวกเขาทำเกือบสำเร็จแล้วครับ
เราไปดูแบบเจาะลึกกันว่า กว่าจะเป็นเมืองปลอดขยะได้พวกเขาต้องทำอะไรมาบ้างกันครับ
แนวคิด Zero Waste
อธิบายแบบย่อ Zero Waste คือ การใช้ชีวิตแบบที่ไม่ผลิตขยะเลย
2
เริ่มแรกที่นำแนวคิด Zero Waste เข้ามาแน่นอนว่าชาวเมืองก็ยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้เท่าไหร่นัก สิ่งที่รัฐบาลท้องถิ่นทำก็คือ
หนึ่ง ให้ความรู้ความเข้าใจแก่พลเมืองอย่างค่อยเป็นค่อยไป ว่าหลักการของ Zero waste ว่ามีกระบวนการอย่างไร
สอง จัดเวิร์คช็อปเทรนนิ่งให้ชาวเมืองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความรู้แบบลงลึกและครอบคลุมคนทุกกลุ่ม ตั้งแต่เยาวชนไปจนถึงเจ้าหน้าที่รัฐและภาคเอกชน
1
สาม สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมของธุรกิจเอกชน เช่น ส่งเสริมให้โรงงานผู้ผลิตเริ่มซื้อผลิตภัณฑ์เก่าที่จำหน่ายไปแล้วกลับคืนสู่โรงงาน เพื่อจัดการปัญหาทิ้งขยะอย่างผิดกฎหมายและทำให้การรีไซเคิลง่ายขึ้น
2
ขอบคุณภาพจาก ZERO WASTE ACADEMY
Recycle Store
หลังจากที่ทุกคนเริ่มเข้าใจหลักของ Zero Waste แล้วสิ่งต่อมาก็คือ ให้ความรู้เรื่องการแยกขยะและรีไซเคิล
พวกเขาได้สร้างระบบโรงแยกขยะทรงประสิทธิภาพ ที่สนับสนุนให้ชาวเมืองแยกขยะออกเป็น 45 ประเภท ตั้งแต่ฝาโลหะ ผ้าอ้อม ผ้าอนามัย ไปจนถึงเทอร์โมมิเตอร์
1
ขยะที่ได้รับการคัดแยกจากครัวเรือนจะถูกนำไปยังศูนย์รวบรวม ซึ่งมีอาสาสมัครชาวเมืองหมุนเวียนกันมาดำเนินการตรวจสอบให้แน่ใจอีกครั้ง ว่าสิ่งของต่าง ๆ ถูกลงประเภทถังขยะที่ถูกต้อง
ขอบคุณภาพจาก NAMAZU MASATAKA NIPPON.COM
ลักษณะการคัดแยกขยะของที่นี่คือ
ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยชิ้นส่วน 2 ประเภทขึ้นไป จะต้องถูกแยกชิ้นออกจากกัน
กล่องนมกระป๋อง พลาสติกห่ออาหารหรือขวดพลาสติกที่มีการปนเปื้อน จะต้องล้างทำความสะอาดก่อน
นังสือพิมพ์อ่านแล้วมัดอย่างประณีตเป็นระเบียบด้วยเชือกกระดาษที่ทำจากกล่องนมรีไซเคิล
ขวดแก้วคลายฝาและเรียงตามสี ขวดพลาสติกที่เคยบรรจุซีอิ๊วหรือน้ำมันปรุงอาหารจะถูกเก็บไว้ในถังขยะแยกต่างหากจากขวด PET ที่ใช้บรรจุเครื่องดื่ม
ของที่ยังคงอยู่ในสภาพดี จะถูกส่งไปที่ร้านค้ารีไซเคิล Kuru Kuru
ที่ร้าน Kuru Kuru ชาวเมืองสามารถนำของเหลือใช้มาส่ง หรือมาเลือกของ ของคนอื่นกลับบ้านไปใช้ต่อได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
แล้วถ้าเป็นพวกขยะอินทรีย์พวกเศษอาหารล่ะ จะทำยังไง ?
คนส่วนใหญ่ในเมืองเปลี่ยนเศษอาหารเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่บ้านตัวเอง แต่ไม่ใช่ว่ามีเศษอาหารมาแล้วเอาไปเททิ้งหลังบ้าน แล้วกลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์นะ อันนี้ผิด
วิธีที่ทำคือ หมักในถังพลาสติกก่อนแล้วนำไปย่อยสลายในถังไฟฟ้า และไม่ต้องกลัวเรื่องค่าใช้จ่ายนะเพราะว่า รัฐบาลช่วยออกค่าถังไฟฟ้าให้บางส่วน !!
1
เช่น เครื่องหมักขยะราคา 52,000 เยน รัฐบาลจะช่วยออก 40,000 เยน และชาวเมืองจ่ายแค่ 10,000 เยน
2
*ความเห็นส่วนตัว อันนี้ถือเป็นโมเดลที่ดีเลยนะ การที่จะให้ประชาชนร่วมมือการทำอะไรอย่างจริงจัง อย่างน้อยๆภาครัฐก็ต้องเข้ามาช่วยสนับสนุนด้วย ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
ปัญหาที่เจอ ณ ปัจจุบัน
ในตอนนี้เมืองคามิคัตสึสามารถรีไซเคิล 81 เปอร์เซ็นต์ของขยะที่ผลิตได้ ส่วนของที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ที่เหลือจะเป็นพวก รองเท้าหนัง ผ้าอ้อม ผ้าอนามัย โดยของที่ไม่สามารถนำมารีไซเคิลได้จะถูกส่งไปยังเตาเผาขยะที่เมืองใหญ่ที่ใกล้ที่สุด
ผมเชื่อว่าถึงแม้ว่าในตอนนี้ เมืองคามิคัตสึ จะยังไม่สามารถรีไซเคิลขยะได้ 100เปอร์เซ็นท์ แต่สิ่งที่เมืองเล็กๆนี้ทำได้ก็นับว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดี และเป็นโมเดลให้กับอีกหลายๆเมืองหลายๆประเทศทั่โลกแน่นอนครับ
จบแล้วนะครับกับหัวข้อ "Kamitkatsu เมืองเล็กในชนบทญี่ปุ่น ที่ปลอดขยะอันดับต้นของโลก"
ใครมีความคิดเห็นยังไงมาแชร์กันในคอมเมนท์นะครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก
โฆษณา