8 มิ.ย. 2021 เวลา 12:06 • ประวัติศาสตร์
เกร็ดประวัติศาสตร์ในเรื่อง Jujutsu kaisen
บทความโดย มะลิ ชัชชญา จิตเกียรติกุล
2
ในตอนนี้อนิเมะเรื่อง jujutsu kaisen (呪術廻戦) หรือมหาเวทย์ผนึกมารก็เป็นที่นิยมมาก เเละมีกระเเสตอบรับที่ดีทั้งในญี่ปุ่นเเละในไทย วันนี้เรามาดูกันดีกว่าว่าในเรื่องนี้มีเกร็ดประวัติศาสตร์อะไรที่น่าสนใจบ้าง
โดยตัวเนื้อเรื่องมีการกล่าวถึงคำสาป เเละการสาปเเช่งซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษยชาติมีมาตั้งเเต่โบราณ เเละยังรวมไปถึงวัฒนธรรมเเสนคลาสสิคที่เกิดจากความรู้สึกด้านลบอย่างพิธีการไสยเวทย์หรือไสยศาสตร์ เเละในปัจจุบันก็ยังคงมีหลงเหลืออยู่ในหลายๆภูมิประเทศ
1
ตัวเนื้อเรื่องยังเผยถึงความเชื่อดั้งเดิมของมนุษย์ในเรื่องจิตวิญญาณในสิ่งของเเละธรรมชาติที่ทำให้เกิดปีศาจขึ้นมาได้ (เช่นปีศาจภูเขาไฟ เเละปีศาจดอกไม้ที่ชื่อฮานามิ) เเละสิ่งนี้ยังทำให้มนุษย์กลายเป็นปีศาจได้เช่นกัน (เห็นได้ชัดในตอนที่มาฮิโตะทำให้จุนเป เเละนักเรียนคนอื่นๆกลายเป็นปีศาจ)
1
เเละในด้านของราชาคำสาปอย่าง เรียวเมน สุคุนะ (両面宿儺) ก็ยังอิงมาจากนิฮงโชกิ (日本書紀) หรือพงศาวดารของญี่ปุ่นอีกด้วย
โดยจากพงศาวดารระบุว่าเมื่อปีค.ศ.377 (พ.ศ.920) มีเนื้อความว่า เรียวเมน สุคุนะ เป็นผู้ปกครองเมืองฮิดะ (ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดกิฟุ) มี 2 หน้า 4 เเขน มีอาวุธประจำกายเป็นคันธนูเเละขวาน (ซึ่งถ้าสุคุนะมีตัวตนอยู่จริง ก็คงเป็นผู้ที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมทำให้มีเเขนมากถึง4ข้าง เเละมีใบหน้า2หน้า ไม่เหมือนคนทั่วไป)
เเละในบันทึกได้ระบุว่า เรียวเมน สุคุนะ คือปีศาจร้ายที่ปกครองเมืองฮิดะ เเละเป็นศัตรูในฐานะกบฏของจักรวรรดิยามาโตะ เเต่ทางด้านของประชาชนในเมืองฮิดะไม่มองสุคุนะเเบบนั้น
3
พวกเขามองว่าสุคุนะเป็นผู้ปกครองที่ใจดี ชอบธรรมเเละมีความเมตตามาก ในเรื่องเล่าท้องถิ่น หรือนิทาน ตำนานของชาวฮิดะก็ยังกล่าวถึงคุณความดีของเรียวเมน สุคุนะ ที่พยายามปกป้องเมืองของเขาจากการรุกรานของจักรวรรดิยามาโตะ มากกว่ามองว่าเขาคือปีศาจร้าย
3
เเละยังคงมีรูปเคารพอย่างวีรบุรุษของสุคุนะหลงเหลืออยู่ในพื้นที่ หนึ่งในหลักฐานของรูปเคารพที่สำคัญ อยู่ในวัดเซ็นโคจิ จังหวัดกิฟุ โดยรูปเคารพนั้นเป็นไม้เเกะสลักรูปสุคุนะ เเละเเกะสลักโดยหลวงพ่อเอ็นคุ ซึ่งเป็นพระชื่อดังในสมัยเอโดะ ท่านมีชีวิตอยู่ในช่วงค.ศ.1632-1695
2
โดยหลวงพ่อเอ็นคุนอกจากจะเป็นพระ ยังเป็นนักเเกะสลักด้วย เเละผลงานส่วนใหญ่เกิดจากการออกธุดงค์ไปตามที่ต่างๆโดยเชื่อว่าท่านคงออกธุดงค์ผ่านจังหวัดกิฟุ จนได้รับรู้เรื่องราวของสุคุนะ เเละได้สลักหุ่นไม้รูปสุคุนะขึ้นมา เเละหุ่นไม้รูปสุคุนะนั้นก็กลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาวเมืองกิฟุ เเละประเทศญี่ปุ่นมาจนถึงปัจจุบัน
ทำให้เกิดข้อวิพากษ์ว่า หรือจริงๆเเล้ว การที่จักรวรรดิยามาโตะมองว่าสุคุนะคือปีศาจร้ายที่ต้องกำจัด จะเป็นเพียงการใช้มายาคติสร้างเรื่องขึ้นมาเพื่อความชอบธรรมในการปกครองของตัวจักรวรรดิเอง ซึ่งก็คล้ายๆกับการใช้เเผนยึดครองดินเเดน โดยการสร้างภารกิจหรือเรื่องเล่าเป็นตัวนำพาความชอบธรรมเเละความเจริญของจักรวรรดิตนเองไปสู่ดินเเดนอื่นๆ
เเละการที่สุคุนะมี2หน้า หากไม่ใช่ความผิดปกติทางพันธุกรรมของเจ้าตัว ก็อาจจะเป็นมายาคติของทางจักรวรรดิที่มองว่าสุคุนะมีสองขั้ว ขั้วหนึ่งโหดร้ายกับผู้รุกรานอาณาเขตของตน อีกขั้วหนึ่งอ่อนโยนเเละใจดีกับชาวเมืองของตัวเอง จนกลายเป็นการมองว่าสุคุนะเหมือนมีสองใบหน้าขึ้นมา ที่หน้าหนึ่งดีกับประชาชนในเมืองของตน อีกหน้าหนึ่งโหดร้ายกับผู้รุกรานอาณาเขตของตนจากต่างเเดน
1
เเละหากมองในเเง่ของธรรมชาติท้องถิ่น การที่สุคุนะถือขวานเป็นอาวุธ ก็สะท้อนถึงเครื่องมือดำรงชีพเเละอาวุธที่สำคัญยามเข้าป่าของชาวบ้านในพื้นที่ เนื่องจากพื้นที่ในจังหวัดกิฟุเป็นป่าไม้เเละภูเขาซะส่วนใหญ่
เเละในส่วนของเนื้อเรื่องมหาเวทย์ผนึกมาร ยังคงคอนเซ็ปต์ความเป็นตัวร้ายของจักรวรรดิยามาโตะที่มีต่อสุคุนะเอาไว้ โดยในเนื้อเรื่องระบุว่าสุคุนะคือราชาคำสาป มีพลังร้ายเเรงมาก นิ้วทั้ง20นิ้วที่ตัดออกมาจากศพของสุคุนะก็ยังมีพลังคำสาปร้ายเเรงจนได้เป็นวัตถุต้องคำสาประดับพิเศษในทุกนิ้ว
เเละในส่วนของท่ากางอาณาเขตที่สุคุนะใช้ต่อสู้ หรือก็คือท่ากางอาณาเขตอารามสงฆ์ซ่อนมาร (伏魔御厨子) ซึ่งในเนื้อเรื่องจะเป็นภาพอาณาเขตของสุคุนะ ที่มีตู้พระขนาดใหญ่อยู่ด้านหลัง
โดยคำว่า 伏魔 (ฟุคุมะ) เป็นคำที่มาจากคำว่า 伏魔殿 (ฟุคุมะเดน) เป็นคำที่รับมาจากจีน หมายถึงแหล่งซ่องสุมมาร โดยใช้พูดเปรียบถึงสถานที่ซ่องสุมทำเรื่องไม่ดี
ส่วนในเรื่อง เปลี่ยนคำว่า เดน ที่หมายถึงวิหาร อาราม เป็นมิซึชิ (御厨子) ซึ่งคำว่ามิซึชิ เป็นคำใช้เรียกตู้ที่ใช้บรรจุเครื่องใช้ทางพุทธศาสนา เช่นใช้บรรจุพระพุทธรูป พระไตรปิฎก เเละบางครั้งก็ใช้บรรจุป้ายชื่อของบรรพบุรุษด้วย ซึ่งก็มีตั้งแต่ไซส์เล็กเท่ากล่องใส่ของ ไปจนถึงใหญ่เท่าตู้เสื้อผ้า (ส่วนใหญ่อันที่ใหญ่ๆจะใช้กันในวัด)
1
เเละในท่ากางอาณาเขตของสุคุนะ ที่ตู้พระของสุคุนะใหญ่เเทบจะเท่ากับศาลเจ้า อาจจะเป็นนัยประมาณว่า พลังของเจ้าตัวมีสูงมาก จนตู้พระขยายใหญ่ตามพลังของเจ้าตัวไปด้วยก็ได้
ทางด้านของตัวโรงเรียนในเรื่อง ยังคงภายนอกเป็นวัดถึงเเม้ภายในจะเป็นเหมือนโรงเรียนประจำทั่วไป ยังสะท้อนให้เห็นถึงการเรียนการสอนในอดีตเมื่อ300ปีที่เเล้ว ที่สมัยนั้นยังไม่ได้มีการจัดทำโรงเรียนเป็นหลักเเหล่งสำหรับการเรียนการสอนโดยเฉพาะ ส่วนใหญ่จะต้องศึกษาเล่าเรียนกันในวัด เเละวัดจะเป็นสถานที่ส่วนมากที่เด็กๆจะมาเรียนหนังสือ หรือบวชเรียนในอดีต
ก็จบลงไปเเล้วนะคะกับเกร็ดประวัติศาสตร์ในเรื่อง Jujutsu Kaisen หรือมหาเวทย์ผนึกมาร ถ้าชอบอย่าลืมกดไลก์ กดเเชร์เพื่อเป็นกำลังใจให้ผู้เขียนด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ
อ้างอิง
โฆษณา