9 มิ.ย. 2021 เวลา 00:20 • ปรัชญา
เมื่อชีวิตสักชีวิตต้องเกิดมาด้วย "กรรม"
อันมี "กรรม" เป็นแดนเกิด มี "กรรม" เป็นเผ่าพันธุ์ และต้องใช้ "กรรม" เป็นที่พึ่งอาศัย ใครทำกรรมอันใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม ย่อมจักได้รับผลแห่งกรรมซึ่งเป็น "ความเหลื่อมล้ำ" นั้นสืบไป...
5
“สุขแห่งสัจธรรม”
ในสังคม... เมื่อบุคคลที่เกิดมาต้องมีชาย และหญิง
ในสังคม...เมื่อบุคคลที่เกิดมาต้องมีหมอ และคนไข้
ในสังคม... เมื่อบุคคลต้องมีเกิด มีแก่ มีเจ็บ และมีตาย
สิ่งทั้งหลาย “เหลื่อมล้ำ” เป็น "สัจธรรม..."
2
หากเราน้อมนำดวงจิตเข้าใจ "ความเหลื่อมล้ำแห่งดวงจิต" เราจะสามารถเข้าใจเขา และสามารถเข้าใจเรา...
2
ดวงจิตดวงหนึ่งได้โอกาสดีที่เกิดมาเป็นคน อีกดวงจิตหนึ่งได้จุติในสุขคติภพ โลกสวรรค์ หรืออีกดวงจิตหนึ่งได้เกิดในนรก ในอบาย เป็นอสุรกายร้ายด้วยแรง "กรรม"
3
ความเหลื่อมล้ำจึงเป็นสัจธรรมแห่งชีวิต และการเข้าใจความเหลื่อมล้ำย่อมเป็นธรรมชาติแห่งชีวิต
2
“สุขแห่งสัจธรรม”
สัตว์โลกทั้งหลาย มีเรา มีเขา...
เราคงทำให้ผู้หญิงเป็นผู้ชายทั้งหมดไม่ได้ เราคงจะไม่สามารถทำให้คนตาย กลับกลายมาได้เป็นคนเป็น
หากเขาเข้าใจเรา และเราเข้าใจเขา ทั้งเราและเขาย่อมพบ “สุขแห่งสัจธรรม”
2
เมื่อก้าวผ่านความจริงของสัจธรรมแห่งความเหลื่อมล้ำได้แล้ว ก็มาถึงขั้นตอนสำคัญที่จะทำให้สัตว์โลกทั้งหลายเดินก้าวข้ามผ่านความเหลื่อมล้ำได้ด้วยตัวของตัวเอง
2
“สุขแห่งสัจธรรม”
สัตว์โลกทั้งหลาย นับพัน นับหมื่น นับล้านดวงจิต
เป็นคนบ้าง เป็นสัตว์บ้าง
2
ในชาตินี้สัตว์คนไม่สามารถพลิกฟื้นกลับมาเป็นคน แต่คนถ้าประกอบตนด้วยความประมาท ชาติหน้าอาจจะกลับกลายลงไปรับสภาพความเหลื่อมล้ำ ต้องรับกรรมเกิดเป็น "สัตว์" ตามกรรมได้
2
โลกทุกวันนี้วุ่นวายด้วยความเหลื่อมล้ำ...
เมื่อคน ๆ หนึ่ง อยากให้คนอีกคนหนึ่ง หรือคนทั้งหลายคลายจากความเดือดร้อน วุ่นวาย ด้วยต้นสายแห่ง "ความเหลื่อมล้ำ..."
2
“สุขแห่งสัจธรรม”
เด็กก็ทุกข์แบบเด็ก ผู้ใหญ่ก็ทุกข์แบบผู้ใหญ่
คนรวยก็ทุกข์แบบคนรวย คนจนก็ทุกข์แบบคนจน
หมอก็ทุกข์แบบหมอ คนไข้ก็ทุกข์แบบคนไข้
คนรู้ก็ทุกข์แบบคนรู้ คนไม่รู้ก็ทุกข์แบบคนไม่รู้
คนฉลาดก็ทุกข์แบบคนฉลาด คนโง่ก็ทุกข์แบบคนโง่ หรืออาจจะน้อยกว่า เพราะไม่ฉลาดรู้เวลาที่โดนใครต่อใครด่า ว่า หรือนินทา...!
2
เมื่อคน ๆ หนึ่ง อยากให้ตนเองซึ่งเป็นคน ๆ หนึ่ง "เท่าเทียม" กับคนทั้งหลายในสังคม
ยกตนเท่ากับคนหนึ่งแล้ว ก็ดิ้นอยากเท่ากับคนอีกคนหนึ่ง ดิ้นไปเท่ากับอีกคนหนึ่งแล้ว ก็ยังดิ้นไป ดิ้นไป "อนิจจา..."
3
คนเราในโลกนี้ทั้งหลายจึงต้องเร่าร้อน กระวน กระวาย ความสุขกระจุก ความทุกข์กระจาย เพราะต้องการสลาย "ความเหลื่อมล้ำ..."
2
เพียงแต่เราเข้าใจเรา เพียงแต่ตนเข้าใจตน ไม่พยายามให้เรา และไม่ขวนขวายให้เขาเท่ากัน ชีวิตนี้จะมีความสุขขึ้นอีกมาก
ตราบใดที่นิ้วทั้งห้านี้ยังเหลื่อมล้ำ สั้นบ้าง ยาวบ้าง มีขนาดและรูปร่างที่ไม่เหมือน ไม่เท่ากัน นั้นเป็นการเหลื่อมล้ำที่สอด ที่ประสาน ผสมผสาน ทำหน้าที่ของแต่ละนิ้วได้อย่างมีประสิทธิภาพตาม “สภาพความเหลื่อมล้ำ...” นิ้วทั้งห้านี้ย่อมอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข...
2
“สุขแห่งสัจธรรม”
หากดวงจิตนี้เข้าใจความเหลื่อมล้ำ ดวงจิตนี้จะคลายทุกข์อันนำมาซึ่งความเร่าร้อน กระวนกระวาย
หากดวงจิตนี้รู้จัก รู้จริง และรู้แจ้งในความเหลื่อมล้ำ ดวงจิตนี้ย่อมเป็นกับศานติสุข คือ “ความสงบ...”
2
ต้นไม้ทุก ๆ ต้น ต่างต้น ต่างเหล่า ต่างพันธุ์ ต่างก็ยืนทนง ตั้งลำต้นเป็นสง่า ยืนหยัดสู้ดิน น้ำ และนภา แต่ต้นไม้ทั้งหลายนั้นหนาก็มีกิ่ง ก้าน สาขาที่โน้มเข้ามาหากัน
2
หากเราอ่อนน้อมตน เข้าหาตน
หากเราอ่อนน้อมใจ เข้าหาใจ
เราย่อมสอดประสานความเหลื่อมล้ำให้งดงามและสมบูรณ์
2
น้อมดวงจิตนี้ให้เข้าใจความเหลื่อมล้ำ แล้วความเหลื่อมล้ำนั้นจักกลายเป็นพลังแห่งดวงใจ เพื่อชักนำและขับเคลื่อนชีวิตนี้ไป ให้เข้าสายกระแสแห่ง "นิพพาน..."
3
ใจดีใจสบาย
โฆษณา