9 มิ.ย. 2021 เวลา 15:56 • ยานยนต์
กว่ารถยนต์ไฟฟ้า EV จะมาถึงวันนี้
📌 รถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือเรียกกันว่า รถยนต์ EV ในปัจจุบันยังต้องพึ่งพาน้ำมันอยู่
1
กว่ารถยนต์ไฟฟ้า EV จะมาถึงทุกวันนี้
รถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles: EV) ที่กำลังจะมาปฏิวัติอุตสาหกรรมรถยนต์ เริ่มต้นตั้งแต่รถยนต์พลังงานไฟฟ้าคันแรกคือ รถที่ประดิษฐ์โดย Thomas Parker ในปี ค.ศ. 1884 โดยในยุคแรกนั้น รถยนต์ไฟฟ้าหน้าตาเหมือนรถม้าที่ไม่มีม้า จนกระทั่งมาถึงในปัจจุบันคงเป็นรถ Tesla ที่ทุกท่านนึกถึง รถยนต์ที่เสมือนเป็นรถที่มาจากอนาคต เป็นรถที่รูปทรงสวยงาม มีสมรรถนะสูง ซึ่งรถ Tesla Roadster ที่มาราคา 200,000 ดอลล่าร์สหรัฐ สามารถทำความเร็วจาก 0 ถึง 60 mph (ไมล์ต่อชั่วโมง) ภายในเวลา 2 วินาที เร็วกว่ารถ Bugatti Chiron ที่มีราคาประมาณ 3 ล้านดอลล่าร์ ที่ใช้เวลา 2.4 วินาที นี่ก็น่าจะสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของรถยนต์ไฟฟ้าที่พร้อมจะมาแทนที่รถยนต์พลังงานสันดาปที่ต้องพึ่งพาน้ำมันเป็นเชื้อเพลิง
5
วิวัฒนาการ รถยนต์ EV ช่วงปี 1884-1914
วิวัฒนาการ รถยนต์ EV ช่วงปี 1959-2010
วิวัฒนาการ รถยนต์ EV ช่วงปี 2011-2019
วิวัฒนาการ รถยนต์ EV ช่วงปี 2020 - ปัจจุบัน
รถ Tesla กับรถยนต์ไฟฟ้า(รถยนต์ EV) ของ Thomas Parker เหมือนกันตรงเป็นรถที่ใช้ไฟฟ้า ไม่มีการใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งถ้าคนส่วนใหญ่นึกถึงรถยนต์ EV ก็คิดว่าน่าจะเป็นรถที่พึ่งการชาร์จไฟเข้าในแบตเตอรี่ แต่ในความเป็นจริงแล้ว รถยนต์ไฟฟ้าที่มีการใช้อยู่ในปัจจุบันมีหลากหลายมาก บางรุ่นก็ใช้แต่น้ำมัน ไม่มีการชาร์จ บางรุ่นเป็นลูกครึ่ง มีทั้งการชาร์จและเติมน้ำมัน และก็รุ่นที่ชาร์จไฟฟ้าอย่างเดียว
3
อัตราเร่ง รถยนต์ไฟฟ้า (รถยนต์ EV) ที่เร็วกกว่ารถแข่ง
บทความนี้จะขอแนะนำรถยนต์ไฟฟ้า(รถยนต์ EV) ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันมีดังต่อไปนี้
1
ความแตกต่างของรถยนต์ EV แต่ละประเภท
📌 ประเภทที่ 1 รถยนต์ไฟฟ้าแบบไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle, HEV)
3
เป็นรถยนต์ไฟฟ้า(รถยนต์ EV) ที่ไม่มีการชาร์จไฟและได้รับการพัฒนามาจากรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายใน (Internal Combustion Engine, ICE) มีการใช้เครื่องยนต์ที่นำพลังงานจากมอเตอร์ไฟฟ้ามาใช้ร่วมกับพลังงานจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงปิโตรเลียม เช่น น้ำมันเบนซิน ดีเซล LPG หรือ ก๊าซธรรมชาติ โดยมอเตอร์ไฟฟ้า โดยระบบที่เราใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันคือ Parallel Hybrid ซึ่งเครื่องยนต์จะทำหน้าที่หลักในการขับเคลื่อน ส่วนมอเตอร์ไฟฟ้าจะชาร์จกระแสไฟฟ้าจากการเบรกเข้ามาเก็บในแบตเตอรี่ อาจจะช่วยขับเคลื่อนเดี่ยว ๆ ในบางจังหวะการทำงานขึ้นอยู่กับการออกแบบระบบของผู้ผลิต ทำให้ประหยัดน้ำมันในการขับเคลื่อนมากกว่ารถยนต์ใช้น้ำมันเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม HEV ยังมีการใช้น้ำมัน ซึ่งปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และไอเสียออกมา แต่ก็มีปริมาณที่ลดลงจากรถยนต์ ICE ค่อนข้างเยอะ แถมตัวรถยังมีระบบ Auto Start/Stop ที่หยุดการทำงานของเครื่องยนต์เวลาจอด ในปี 1997 Toyota เป็นผู้บุกเบิกตลาดรถยนต์ HEV โดยเปิดตัว Toyota Prius ซึ่งเป็นรถยนต์โดยสารขนาดเล็กที่ผลิตและจำหน่ายในระดับ Mass Production ตามมาด้วยรุ่นอื่น ๆ ในปัจจุบันมียอดขายรถ HEV ของ Toyota สะสมทั่วโลกมากกว่า 10 ล้านคัน
1
📌 ประเภทที่ 2 รถยนต์ไฟฟ้าแบบปลั๊ก-อิน ไฮบริด (Plug-in Hybrid Vehicle, PHEV)
2
เป็นรถยนต์ที่พัฒนาต่อมาจากชนิด HEV ซึ่งจะมีทั้งเครื่องยนต์สันดาปที่ต้องใช้น้ำมัน มอเตอร์ไฟฟ้า และแบตเตอรี่ที่สามารถชาร์จไฟฟ้าได้จากการเสียบปลั๊ก ระบบถูกออกแบบให้มีความสามารถมากขึ้น นั่นคือการขับในโหมดไฟฟ้าได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งบางรุ่นก็ขับได้ไกล 30-50 กิโลเมตรหรือมากกว่า ทำให้วิ่งได้ในระยะทางที่ไกลขึ้นต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง เมื่อกระแสไฟฟ้าในแบตเตอรี่หมดระบบก็จะตัดกลับมาให้เครื่องยนต์ทำงาน จึงมีอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงที่ต่ำกว่า HEV แต่รถ PHEV มีแบตเตอรี่ขนาดใหญ่กว่ารถ HEV ทำให้มีราคาที่สูงกว่า รถ PHEV ในตลาดที่ได้รับความนิยม เช่น Mercedes Benz C350e และ BMW 330e
1
📌 ประเภทที่ 3 รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle, BEV หรือ Pure Electric Vehicle, PEV)
1
เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่มีมอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อนเพียงอย่างเดียว ไม่มีการใช้เชื้อเพลิงปิโตรเลียม (ไม่มีเครื่องยนต์สันดาป) ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ที่มีการชาร์จไฟฟ้าจากภายนอกเท่านั้นผ่านทางแท่นชาร์จสาธารณะ หรือ Wall Charger ที่บ้าน ดังนั้น ระยะทางที่จะไปได้ไกลขนาดไหนจึงขึ้นอยู่กับขนาดของแบตเตอรี่ ความสามารถของระบบการจัดการของตัวรถ และกำลังของมอเตอร์ไฟฟ้า โดยไม่มีการปลดปล่อยมลพิษและ CO2 ออกมาจากรถยนต์โดยตรง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่กำลังมาแรง และถูกคาดหมายว่าจะเป็นอนาคตของการเดินทาง
1
ตารางการเปรียบเทียบ รถน้ำมัน Hybrid และ รถยนต์ EV
บริษัท GM เริ่มตลาดรถยนต์ประเภทนี้ในเชิงพาณิชย์เป็นรายแรกด้วยรุ่น EV1 มาตั้งแต่ปี 1996 แต่ในขณะนั้นยังไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากเทคโนโลยีในการเติมประจุไฟฟ้าและแบตเตอรี่ยังไม่พัฒนา ระยะทางในการขับเคลื่อนได้น้อยต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง ต่อมาเมื่อปี 2010 Nissan LEAF ปลุกตลาด BEV ขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อขายในเชิงพาณิชย์ นับตั้งแต่นั้น BEV ก็เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นตามลำดับ
2
อย่างไรก็ดีเมื่อกล่าวถึงรถยนต์ไฟฟ้า แบรนด์ที่ผุดขึ้นมาในความคิดของใครหลายคนคงไม่พ้น Tesla บริษัทสัญชาติอเมริกันที่หลายคนรู้จักในฐานะผู้นำในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2003 นำโดย Elon Musk (คนที่ชอบปั่นราคา Cryptocurrency ทาง Twitter) ด้วยการออกแบบที่โดดเด่น และเทคโนโลยีอันล้ำสมัย เช่น ระบบ Autopilot การควบคุมการขับเคลื่อนผ่านหน้าจอ ทำให้ Tesla เป็นบริษัทผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้ายักษ์ใหญ่ที่สุดในขณะนี้ (มูลค่าบริษัท $584 billion) ในปี 2020 Tesla ครองส่วนแบ่งตลาดรถยนต์ไฟฟ้าเป็นอันดับหนึ่ง ตามมาด้วย VW Group จากเยอรมนี และ SAIC จากจีน
1
จากรถยนต์ไฟฟ้าที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น รถประเภท BEV เป็นเป้าหมายหลักของอุตสาหกรรมรถยนต์ทั่วโลก เนื่องจากเป็นรถยนต์ที่ไม่มีการปล่อยมลพิษเลย หรือเรียกว่าเป็น Zero Emission ปัจจุบันสัดส่วนยอดขาย BEV ในแต่ละประเทศก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นกว่า PHEV คาดว่าในอนาคตอันใกล้ รถ BEV จะเข้ามาทดแทน รถ PHEV ได้
ยอดขาย รถยนต์ EV ทั่วโลก
ในส่วนของประเทศไทยนั้น ผู้บุกเบิกตลาดในไทยรายแรกคือ Toyota รุ่น Camry Hybrid 2009 เป็นรถ HEV รุ่นแรกที่ผลิตและจำหน่ายในประเทศไทย อย่างไรก็ตามยอดขาย EV ในไทยยังมีสัดส่วนไม่มากนัก ปัจจุบันมีรถ HEV, PHEV และ BEV หลากหลายรุ่นและแบรนด์เข้ามาทำตลาดได้แก่ Honda, BMW, Mercedes Benz, Porsche เป็นต้น ตั้งแต่ปี 2018 - 2021 ประเทศไทยมีรถ EV สะสมบนท้องถนนประมาณ 210,000 คัน หรือคิดเป็น 2% ของรถยนต์ทั้งหมด แต่ก็มีแนวโน้มว่าจะมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต
1
รถยนต์ EV รุ่น HEV รุ่นแรกที่ Toyota ผลิตเพื่อจำหน่าย
ปริมาณรถยนต์จดทะเบียนในประเทศไทย ปี 2018 – เม.ย. 2021
ปริมาณรถจดทะเบียนใหม่ในไทย ปี 2018 - เม.ย. 2021
เราอยากจะฝากรถอีกประเภทหนึ่งทิ้งท้ายไว้นั่นคือ รถยนต์ไฟฟ้า(รถยนต์ EV) เซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicle, FCEV) ที่ใช้เซลล์เชื้อเพลิง (Fuel cell) เป็นตัวผลิตพลังงานจากการเผาไหม้ก๊าซไฮโดรเจนและออกซิเจน ไม่มีเชื้อเพลิงปิโตรเลียมมาเกี่ยวข้อง ได้พลังงานสะอาดเพราะจะปล่อยไอน้ำแทนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นเทคโนโลยีที่มีจุดเริ่มต้นจากโครงการอวกาศและถูกปรับมาใช้งานกับรถยนต์มานานแล้ว โดย Toyota และ Honda เป็นผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยีนี้
แต่รถยนต์ประเภทนี้ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย เนื่องจากยังมีข้อจำกัดหลายด้าน เช่น ราคาที่แพง เนื่องด้วยวัตถุดิบในการผลิตตัวเซลล์เชื้อเพลิง ต้องใช้แพลตตินั่มที่มีราคาสูง และยังคงต้องใช้แรงงานคนในการผลิตมากเนื่องจากต้องการความแม่นยำในการประกอบสูง อีกทั้งด้านการกักเก็บไฮโดรเจนในรูปของเหลวซึ่งต้องใช้ถังแรงดันสูงซึ่งมีน้ำหนักมาก วัสดุต้องมีคุณภาพมาก ทำให้ราคาต้นทุนการผลิตสูง นอกจากนั้นจำนวนสถานีเติมไฮโดรเจนมีไม่มากเพราะลงทุนในการก่อสร้างสูง
📌 รถ FCEV จะนำมาใช้รถยนต์สาธารณะมากกว่า
2
เพราะเส้นทางการเดินทางได้ถูกกำหนดไว้ชัดเจนและสถานีเติมไฮโดรเจนเอาไว้เป็นที่จุดรวมรถได้ อย่างไรก็ดี บริษัทรถยนต์หลายแห่งเช่น Toyota, Ford, Volvo, Mazda, General Motors และ Honda กำลังเร่งศึกษาค้นคว้าเพื่อการนำมาใช้เชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะบริษัท Toyota ที่มีการพัฒนาการผลิตอย่างต่อเนื่อง โดยมี Toyota Mirai ซึ่งเป็นรถ FCEV สำหรับนั่งโดยสารขนาดเล็กที่ผลิตออกมาได้ตั้งแต่ปี 2014 และมีการพัฒนาต่อเนื่องจนถึงปี 2021 โดยมีการวางแผนที่จะเปิดตัวให้ทั้งโลกได้ชมในพิธีเปิดของการแข่งขัน Tokyo Olympic ในเดือนกรกฎาคมนี้ ให้สมกับเป็นยานยนต์แห่งอนาคต (Mirai ในภาษาญี่ปุ่นแปลว่า อนาคต) ตอนนี้เราก็มานั่งจับตามองว่าอนาคตของรถไฮโดรเจนจะเป็นเหมือน Tokyo Olympic ที่โดนเลื่อนมาแล้วหนึ่งครั้งและมีโอกาสที่จะไม่จัดในปีนี้ หรือไม่
ผู้เขียน: ปรียา ชัชอานนท์ Economist, Bnomics

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา