Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
NERDSERY - เนิร์ดเซอรี
•
ติดตาม
10 มิ.ย. 2021 เวลา 00:00 • ปรัชญา
“ KINTSUGI “
ศิลปะในการอยู่ร่วมกับความเจ็บปวด
3
✔ Part 1 - เผชิญหน้ากับความเจ็บปวด
ชีวิตของทุกคนอาจจะต้องการพบเจอความสุขในบั้นปลายของชีวิต แต่ในระหว่างทางชีวิตย่อมพบเจอกับความเจ็บปวด บางครั้งอาจจะมากกว่าความสุขเสียด้วยซ้ำ ดังนั้นแนวคิดที่จะทำให้เราอยู่ร่วมกับความเจ็บปวดและสามารถซ่อมแซมชีวิตกลับขึ้นมาได้อีกครั้งจึงมีความสำคัญมากที่จะต้องทำความเข้าใจ
1
หลังจากที่หลายคนได้รู้จักแนวคิดจากญี่ปุ่นจากบทความก่อนๆของเนิร์ดมาบ้างแล้ว นั่นคือ “อิคิไก” สอนการตามหาสิ่งที่หลงไหลในชีวิต, “วะบิ-ซะบิ” สอนให้ยึดหลักความไม่เที่ยงไม่สมบูรณ์แบบ และที่จะไม่กล่าวถึงไม่ได้ คือ “คินสึงิ” ซึ่งเนิร์ดจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกันในบทความนี้ครับ
1
คินสึงิ (Kintsugi, 金継ぎ) เป็นศิลปะโบราณของญี่ปุ่นมาจากคำว่า คิน(金) มีความหมายว่า ทอง และ ซึกิ(継ぎ) มีความหมายว่า แปะ,ต่อ โดยใช้สำหรับการซ่อมแซมเครื่องปั้นดินเผาที่แตกหักด้วยทอง ซึ่งจะประกอบกันโดยมีลวดลายโดดเด่นสะดุดตาเพราะร่องรอยตำหนิเหล่านี้เป็นสัญลักษณ์ของความเปราะบางแต่แข็งแกร่ง เปรียบได้กับชีวิตที่เปราะบางพร้อมแตกหักได้ทุกเวลา หน้าที่ของเราคือการเยียวยาและซ่อมแซมอย่างถูกวิธีโดยไม่ปกปิดบาดแผลของชีวิต
การทำจานแตกหักก็เปรียบเหมือนการเผชิญความเจ็บปวดในชีวิต คุณคิดว่าในชีวิตนี้จะทำจานแตกใบเดียวหรือไม่ แน่นอนว่ามีโอกาสน้อยมากที่คุณจะพลาดทำจานแตกเพียงใบเดียว เพราะฉะนั้นคุณต้องมีชีวิตอยู่เพื่อเผชิญหน้ากับความเจ็บปวดและจงอย่าใช้ชีวิตแบบเอาชีวิตรอด
3
ถ้าคุณไม่อยากทำจานแตกทั้งชีวิตนี้ก็แค่ไม่จับจานเลยแม้แต่ครั้งเดียว นี่คือตัวอย่างการใช้ชีวิตแบบเอาตัวรอดจากความเจ็บปวดซึ่งไม่ผิดหากคุณจะเลือกวิธีนี้แต่เป็นไปได้จริงหรือ? “แล้วถ้าหากจานที่แตกไปคือจานที่คุณรักมากที่สุด จะมีใครเข้าใจคนที่เสียใจเพราะเศษแก้วพวกนี้นอกจากตัวเราเอง”
นั่นคือไม่มีใครเยียวยาชีวิตคุณได้นอกจากตัวคุณเองเพราะจะมีใครเห็นคุณค่าของจานที่คุณทำแตกแต่มักเห็นเมื่อคุณเยียวยามันสำเร็จอย่างสวยงามแล้วต่างหาก
2
เหตุการณ์เลวร้ายในชีวิตแต่ละคนย่อมแตกต่างกัน เจ็บปวดมากน้อยต่างกันจึงทำให้เกิดการโต้ตอบที่แตกต่างกันไปด้วย ซึ่งเนิร์ดเองก็เคยผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้เจ็บปวดมาเหมือนกันครับ แต่เราจะมาทำความเข้าใจความเจ็บปวดกันอย่างลึกซึ้ง ด้วยมาตรวัดของความเจ็บปวด ได้แก่ ความเข้มข้น เวลา การคาดคะเนและผลกระทบ หากอธิบายก็คือเราจะเจ็บปวดมากหรือน้อยกับเหตุการณ์ต่างๆด้วยมาตราวัดเหล่านี้
- ความเข้มข้นมากย่อมเจ็บปวดมาก อย่างเช่นการสูญเสียของคนแปลกหน้าหากเทียบกับการสูญเสียของคนรักของคุณ แน่นอนว่าอย่างหลังย่อมเจ็บปวดมากกว่าเพราะมีความเข้มข้นมากกว่านั่นเอง
- ความยาวนานมากย่อมเจ็บปวดมาก เคยมีคนตั้งคำถามมากมายเกี่ยวกับความรักว่ากลัวที่จะเลิกกันเพราะมันเจ็บปวดมาก แต่เนิร์ดขอแนะนำว่าเจ็บปวดเพียงระยะสั้นดีกว่าการเจ็บปวดเพราะคู่ที่หมดรักกันไปตลอดชีวิต หรือเรียกได้ว่า เจ็บสั้นดีกว่าปวดยาว นั้นเองครับ
- การคาดหวังมากย่อมเจ็บปวดมาก หากคุณหวังเกรดในการสอบไว้ที่ A แต่ความเป็นจริงได้ B+ คุณย่อมเจ็บปวดมากกว่าการที่คุณคาดหวังว่าจะได้เกรด B ตั้งแต่แรก แต่การคาดหวังไม่ใช่เรื่องที่ผิดเสมอไปนะครับ :)
- ผลกระทบมากย่อมเจ็บปวดมาก ระหว่างคุณขับรถเฉี่ยวฟุตบาทเกิดรอยเพียงเล็กน้อยกับล้อของคุณ กับการที่คุณขับรถเร็วแล้วเกิดอุบัติเหตุจนถึงขั้นมีผู้เสียชีวิต ผลกระทบที่ต่างกันความเจ็บปวดก็ต่างกันไปด้วย จริงมั้ยครับ
1
ธรรมชาติคือตัวช่วยที่ดีที่สุด ในเมื่อร่างกายมีกระบวนการเยียวยาบาดแผลด้วยตัวเอง จิตใจก็ทำได้เช่นเดียวกันมันสามารถเยียวยาตัวเองได้ หากมีแนวคิดที่เหมาะสมและมันยังสามารถสร้างชีวิตรูปแบบใหม่ที่แข็งแกร่งอย่างสวยงามมากกว่าเดิมด้วยตำหนิที่เป็นเอกลักษณ์
เพราะฉะนั้นไม่ว่าจานของคุณแตกหักอีกกี่ครั้งคุณจะสามารถอยู่ร่วมกับความเจ็บปวดและเรียนรู้ที่จะเยียวยาตัวเองได้เสมอนะครับ
ทุกคนคงอยากที่จะเยียวยาและซ่อมแซมบาดแผลจานของตัวเองเต็มที แต่ด้วยเนื้อหาที่เยอะเกินไป ทุกคนสามารถติดตามอ่านต่อใน Part 2 - ศิลปะแห่งการซ่อมแซมตัวเอง อย่าลืมกดติดตามเนิร์ดไว้ด้วยน้าา ขอบคุณทุกคนที่รอติดตามนะครับบ!! 🥰🙏🏻
22 บันทึก
27
2
32
22
27
2
32
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย