13 มิ.ย. 2021 เวลา 10:15 • สัตว์เลี้ยง
🦴FACT: สุนัขทานกระดูกได้จริงๆ หรือ⁉️
2
เรื่องสุนัขกับกระดูกนั้นเป็นของคู่กัน 🐶🦴
เป็นวัฒนธรรมความเชื่อที่มีช้านานและน้องหมอเชื่อว่าใครๆ ต่างก็รู้ดีว่า สุนัขชอบแทะกระดูก
1
ภาพจำแรกสุดที่ให้ข้อมูลนี้กับเราก็คงเป็นการ์ตูนยอดนิยมในวัยเด็กอย่าง Tom and jerry ส่วนบ้านที่เลี้ยงน้องหมาอยู่แล้วก็คงไม่ต้องพูดถึง
🟡 แต่รู้หรือไม่ เคสมากมายจากทั้งไทยและต่างประเทศกลับพบว่า “กระดูก” มักเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ที่ทำอันตรายถึงชีวิตให้กับน้องหมา
จนถึงขั้นว่าต้องผ่าท้องช่วยชีวิตตามที่ได้ยินข่าวกันเลยทีเดียว😰
2
📍 ถึงจุดนี้หลายคนคงเริ่มตั้งคำถามตามแล้วว่า
งั้นแบบนี้… เราควรให้สุนัขทานกระดูกจริงหรือ?
ยิ่งกว่านั้น “สุนัขสามารถทานกระดูกได้อย่างที่เราเข้าใจมาตลอดหรือเปล่า”
🟡 ANSWER: ให้ได้ค่ะ แต่แนะนำว่าควรให้เฉพาะกระดูกดิบเท่านั้นเหตุผลคือ ตามเชื้อสายบรรพบุรุษดั้งเดิม สุนัขเป็นสัตว์ที่เรียกว่า “Hypercarnivore” หรือสัตว์กินเนื้อที่บริโภคเนื้อของสัตว์อื่นมากกว่า 70% ของอาหารที่มันกินทั้งหมด
2
ดังนั้น กระเพราะของสุนัขจึงถูกออกแบบมาให้สามารถย่อยเนื้อและกระดูกดิบได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงระบบทางเดินอาหารทั้งหมด นั่นจึงทำให้น้องหมาสามารถทานกระดูกดิบได้อย่างปลอดภัย
✅ All Modern Dogs Are Capable of Eating Bones…
3
ในขณะเดียวกันกระดูกยังเป็นแหล่งแคลเซียมและฟอสฟอรัสตามธรรมชาติอีกด้วย
1
🔴 ON THE OTHER HAND: “กระดูกต้มสุกหรือปรุงสุก” กลับเป็นตัวที่สร้างปัญหา ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่งกับสุนัขและไม่ควรให้กินโดยเด็ดขาด
5
เพราะกระดูกที่ผ่านความร้อนจะทำให้มีความแข็ง เปราะ และแตกหักง่าย
⚠️ ที่สำคัญคือกระเพราะสุนัขย่อยไม่ได้‼️
1
เช่น กระดูกหมูต้มสุก หรือกระดูกไก่ทอดปิ้งย่างที่ขายตามท้องถนน ซึ่งไม่ว่าจะชิ้นเล็กชิ้นใหญ่ก็มีโอกาสเข้าทิ่มแทงและอุดตันส่วนต่างๆ ของระบบทางเดินอาหารได้
📍โดยที่พบบ่อยสุดคือบริเวณกระเพาะและลำไส้ ซึ่งนับว่าอันตรายมากๆ และไม่มีประโยชน์ในเรื่องสารอาหารแม้แต่น้อย
🟡 แล้วควรให้กระดูกดิบแบบใดถึงปลอดภัยต่อสุนัขล่ะ⁉️
เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท:
1. กระดูกดิบเน้นแทะ‼️
👉🏻 แนะนำกระดูกชิ้นใหญ่ที่ติดเนื้อ เช่น Knuckle Bone (กระดูกต้นขาหรือท่อนขา) และ Marrow Bone (กระดูกไขข้อ) ซึ่งนอกจากจะได้ประโยชน์จากไขกระดูกแล้ว ยังช่วยบริหารช่องปาก ช่วยขัดฟันและลดคราบหินปูนอีกด้วย
1
⚠️ กระดูกกลุ่มนี้คือควรรอให้สุนัขอายุครบ 7 เดือนขึ้นไป เพื่อรอให้ฟันแท้ขึ้นหมดก่อน รวมถึงสุนัขที่อายุมากเกิน 10 ปีขึ้นไป ก็ต้องระมัดระวัง เพราะความแข็งแรงของฟันคงไม่ดีเหมือนเมื่อก่อน ถ้าแทะกระดูกที่แข็งมากๆ อาจเสี่ยงฟันหักได้
น้องหมาที่มีนิสัยชอบกัดแทะกระดูกด้วยความรุนแรงก็ต้องระวังให้ดีนะคะ
2. กระดูกดิบเน้นทาน‼️
👉🏻 แนะนำส่วนที่มีความนิ่มและเนื้อเยอะอย่างคอไก่และคอเป็ด หรือจะเป็นโครงไก่ก็ได้ซึ่งนิยมมากในผู้เลี้ยงในสาย barf
📍ซึ่งตามหลักการที่ถูกต้องและคำนึงถึงปลอดภัยของสุนัข เราควรนำไป “บดหรือสับให้ละเอียด” ก่อนนะคะ เพราะต่อให้เป็นกระดูกดิบก็มีโอกาสไม่น้อยเลยที่จะทำอันตรายให้น้องได้
เช่น เศษกระดูกเล็กๆ อาจไปทิ่มตำจนเกิดแผลในทางเดินอาหาร หรือน้องรีบกลืนจนกระดูกชิ้นใหญ่ติดคอ
1
🟠 CAUTION: นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่เจ้าของต้องคำนึงให้ดี
1. ต้องมั่นใจว่ากระดูกสด สะอาด และมาจากแหล่งที่เชื่อถือได้
2. ทุกครั้งที่ให้กระดูกดิบหรือ กระดูกติดเนื้อกับน้องหมา เจ้าของต้องคอยระวังดูแลอย่างใกล้ชิด
3. สุนัขพันธุ์เล็กและสุนัขที่มีอายุมาก แนะนำให้เป็นกระดูกอ่อน และควรบดละเอียดทุกครั้ง
4. สุนัขที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคตับหรือมีภาวะตับอ่อนอักเสบ ควรจำกัดปริมาณหรืองดการให้กระดูกดิบ
5. ผู้เลี้ยงต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังจับกระดูก เพราะอาจมีเชื้อโรคที่ปะปนมา เช่น E.Coli และ Salmonella เพื่อสุขอนามัยที่ดีของเรานะคะ
📋 ตอนนี้น้องหมอกำลังเขียนบทความเรื่องอาหาร BARF อยู่ค่ะข้อมูลเรื่อง “กระดูก” ก็เป็นส่วนหนึ่งในการให้สุนัขทานสาย BARF เช่นกัน
1
หากท่านผู้อ่านสนใจสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้เร็วๆ นี้นะคะ😊 น้องหมอจะพยายามรีบปั่นอย่างไวเลยค่ะ😁
1
🌱ฝากติดตามเรื่องเล่าว่าที่สัตว์แพทย์-Vet Stories ด้วยนะคะ
📌 เตรียมรับความรู้และประสบการณ์ที่น่าสนใจได้เลยค่ะ
❤️ ขอบคุณที่ตั้งใจอ่านบทความกันนะคะ
โฆษณา