12 มิ.ย. 2021 เวลา 10:39 • สุขภาพ
ถอดความจริงเรื่องไต้หวันโบ้ยไทยกั๊กวัคซีน ‘แอสตราฯ’
สรุปไทยต้องส่งให้ไต้หวันไหม หรือ ‘ไช่ อิงเหวิน’ โทษมั่ว?
4
เรื่องดราม่าวัคซีนต้องยอมรับว่ามีให้เห็นแทบไม่เว้นวัน โดยเฉพาะการเล่นกับความ ‘ไม่รู้’ ของผู้รับสาส์นที่มีวิจารณญาณในการคิด วิเคราะห์ข้อมูลที่มากน้อยต่างกัน ซึ่งนั่นเป็นประเด็นที่ทำให้คนที่ไม่รู้ย่อมตกเป็นเหยื่อของคนที่มีเจตนาปลุกปั่นบางอย่างจนสร้างการรับรู้แบบผิดๆ ติดตัวติดสมองไป
6
เรื่องที่เป็นประเด็นน่าสนใจในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาและเหมือนว่าจะเป็นประเด็นข้ามชาติ จากคำพูดของ ไช อิงเหวิน ประธานาธิบดีไต้หวัน ที่ออกมาให้สัมภาษณ์ผ่านวิทยุท้องถิ่น โดยกล่าวหาว่าไทยกั๊กวัคซีนแอสตราเซเนกา ที่ผลิตโดยบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ไม่ให้ส่งออกไปยังไต้หวัน ทำให้กระทบต่อการบริหารจัดการวัคซีนภายในประเทศ
2
“The problem is that the goods that were supposed to have arrived in June have not. Taiwan has ordered 10 million doses from AstraZeneca, which is mainly producing them in Thailand, Now Thailand’s epidemic situation is serious and they are giving priority for vaccines to be used in Thailand”
3
ซึ่งแปลว่า “ปัญหาคือของ (วัคซีน) ที่น่าจะถึงในเดือนมิถุนายนยังไม่มี ไต้หวันได้สั่งซื้อแอสตราเซเนกาจำนวน 10 ล้านโดส ซึ่งส่วนใหญ่ผลิตในประเทศไทย ตอนนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของประเทศไทยรุนแรงและกำลังให้ความสำคัญกับวัคซีนที่จะใช้ในประเทศไทย”
3
ทีนี้ต้องมาดูว่าการผลิตวัคซีนแอสตราฯ ของสยามไบโอไซเอนซ์ มีความจำเป็นจะต้องครอบคลุมการส่งไปถึงไต้หวันหรือไม่...ซึ่งจากข้อมูลที่หลายคนที่ติดตามข่าวก็น่าจะทราบว่า แอสตราฯ ได้มีการเลือกให้ประเทศต่างๆ ในแต่ละภูมิภาคที่มีความพร้อมในการผลิตวัคซีน ไม่ว่าจะเป็นโรงงานผลิตที่มีกำลังการผลิตตามศักยภาพ มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านชีวะวัตถุ มีประสบการณ์ มีเครื่องไม้เครื่องมือที่เพียบพร้อม ซึ่งบริษัทแม่จะเป็นผู้เลือกเองว่าจะให้ประเทศไหนผลิตวัคซีน ซึ่งจะเป็นฮับในการผลิตของภูมิภาคนั้นๆ เพื่อกระจายให้กับประเทศต่างๆ ที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน
6
สำหรับสยามไบโอไซเอนซ์ ในประเทศไทยที่แอสตราฯ เลือกเป็นศูนย์กลางการผลิตวัคซีนป้อนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งหลักๆ ก็คือประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ชาติ
3
อินเดีย เป็นตัวแทนในการผลิตในแถบเอเชียใต้ ทีครอบคลุมทั้ง ปากีสถาน บังคลาเทศ ศรีลังกา เนปาล เป็นต้น
2
เกาหลีใต้ และจีน ผลิตเพื่อป้อนให้กับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ซึ่งรวมไปถึงไต้หวัน
3
ซึ่งถ้าหากแบ่งตามภูมิภาคแบบนี้ ไต้หวันจะต้องรับวัคซีนของแอสตราฯ จากประเทศจีนที่ผลิตโดยบริษัท BioKangtai หรือไม่ก็ต้องเป็นจากเกาหลีใต้ที่ผลิตโดย SK Bioscience เพราะเป็นศูนย์กลางการผลิตในภูมิภาค
12
หากคิดในทางการเมือง ไต้หวันกับจีน ต่างมีความสัมพันธ์ที่ไม่ค่อยลงรอยกัน ซึ่งเรื่องนี้จะไม่ขออธิบายเพิ่ม และไต้หวันพยายามที่จะฉีกตัวเองออกจากจีนแผ่นดินใหญ่ ไม่พึ่งพาจีนในทุกๆ ด้าน ไม่เว้นแม้กระทั่งเรื่องของวัคซีนที่ต่อให้เวลานี้เป็นที่ต้องการอย่างมาก แต่ระหว่างศักดิ์ศรีกับความเป็นความตายของประชาชน ไต้หวันกลับเลือกศักดิ์ศรีมากกว่าโดยไม่รับวัคซีนใดๆ ที่ผลิตจากประเทศจีนทั้งแบรนด์ของจีนเองหรือการจ้างจีนผลิต
17
ขอบข่ายการส่งวัคซีนของ AZ แบ่งตามภูมิภาค
ประเด็นที่ไต้หวันเอาการเมืองมาผูกติดกับการจัดหาวัคซีนไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้น เพราะก่อนหน้านี้ไต้หวันก็ประสบความล้มเหลวของไต้หวันในการจัดซื้อวัคซีนจาก BioNTech (หุ้นส่วนของ Pfizer ในการผลิตวัคซีน) โดยนาย Karl Lauterbach ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขของเยอรมนีและนักการเมืองพรรคโซเชียลเดโมแครตกล่าวว่า เป็นการยากที่จะหาเหตุผลอื่นนอกจากเหตุผลทางการเมืองที่ไต้หวันไม่ได้รับวัคซีน Pfizer-BioNTech
3
โดยเกิดจากการที่ไม่มีใครสนับสนุนไต้หวันในการเรียกร้องอธิปไตยออกจากจีน ซึ่งไต้หวันพยายามให้เยอรมันเห็นด้วยกับสิ่งที่ไต้หวันร้องขอ และเหมือนไต้หวันจะเกิดอาการ “งอน” เยอรมันขึ้นมาดื้อๆ จากการที่หัวหน้าศูนย์บัญชาการแพร่ระบาดกลาง (CECC) ยกเลิกสัญญาซื้อวัคซีนจาก BioNTech SE อย่างกะทันหัน หลังจากบริษัทเยอรมันยืนยันว่าไต้หวันถอด "ประเทศ" ออกจากงานแถลงข่าวข้อตกลงนี้
4
ไต้หวันเลยเข้าไปหาทางฝั่งอังกฤษ เพื่อเจรจาที่จะของตั้งโรงงานของแอสตราฯ ในประเทศ แต่สุดท้ายผลการเจรจาก็ล้มเหลวเนื่องจากไต้หวันไม่สามารถผลิตวัคซีนจำนวน 300 ล้านโดสตามที่บริษัทร้องขอได้ โดยผลิตได้แค่ 100 ล้านโดสเท่านั้น
3
ไต้หวันที่หลายคนชื่นชมการรับมือกับไวรัสได้ดีในการระบาดครั้งแรก กลับกำลังซวนเซเพราะไม่สามารถจัดหาวัคซีนได้ตามความต้องการฉีดของประชากร โดยข้อมูลจำนวนวัคซีนของไต้หวันที่ทำสัญญาจัดหาได้ในเวลานี้มีจำนวน 19 ล้าน โดยแบ่งเป็นแอสตราเซเนกา 10 ล้านโดส โมเดอร์นา 5.05 ล้านโดส และโครงการ COVAX 4.76 ล้านโดส แต่สามารถที่จะจัดส่งและฉีดให้กับประชากรได้เพียงแค่ 3% จากจำนวนประชากร 23.5 ล้านคน
12
นั่นหมายความว่าวัคซีนที่จัดหามายังไม่ถึงครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรที่มีเพียงน้อยนิดยังไม่พอ ยังไม่สามารถฉีดวัคซีนได้เร็วทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้มีการรับมือไวรัสได้ดี
3
จนประชาชนชาวไต้หวันเริ่มขาดความเชื่อมั่น และยอมเสียเงินค่าตั๋วเครื่องบินไปฉีดวัคซีนที่ต่างประเทศ จนมีความต้องการเที่ยวบินเพิ่มสูงขึ้นตามที่เป็นข่าวมาก่อนหน้านี้
1
ความผิดพลาดอีกประการของไต้หวันคือ การสั่งวัคซีนจากโครงการ COVAX ในสัดส่วนถึง 1 ใน 4 ของจำนวนวัคซีนทั้งหมด ซึ่งโครงการนี้เป็นการจัดหาวัคซีนโดยแต่ละบริษัทจะแบ่งวัคซีนเข้ามาร่วมในโครงการ แต่เนื่องด้วยสถานการณ์ในปัจจุบัน ยังแทบไม่มีบริษัทไหนผลิตวัคซีนได้เพียงพอที่จะนำไปบริจาคทีละเยอะๆ ได้ ทำให้วัคซีนผ่านโครงการดังกล่าวไม่มีความพร้อม วัคซีนไม่เพียงพอต่อความต้องการ และไม่สามารถความคุมได้ว่าจะได้วัคซีนจากใคร ยี่ห้ออะไร เพราะต้องรอการบริจาคเข้ามาอย่างเดียวโดยไม่มีสิทธิ์เลือก และไม่รู้ว่าวัคซีนจะมาเมื่อไหร่
8
อีกประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจคือ วัคซีนของแอสตราฯ ที่ผลิตในประเทศไทยนั้น ทางบริษัทแม่จะเป็นผู้กำหนดว่าวัคซีนแต่ละล็อตที่ผลิตออกมาจะส่งไปที่ไหน แต่ละประเทศไม่มีสิทธิ์มาสั่งโดยตรงกับไทย หรือจะมาโทษว่าไทยไม่ส่งให้เพราะต้องการกั๊กวัคซีน เพราะการจะจัดสรรวัคซีนไปยังต่างประเทศเป็นหน้าที่การจัดสรรโคตาของแอสตราฯ สำนักงานใหญ่
24
ก่อนหน้านี้ไต้หวันก็เคยมีการรับวัคซีนแอสตราฯ มาแล้ว ซึ่งเป็นการผลิตโดย SK Bioscience ประเทศเกาหลีใต้ประมาณ 7 แสนกว่าโดส ซึ่งก็เป็นเขตรับผิดชอบที่ถูกต้อง และถ้าดูตามข้อตกลงการว่าจ้างผลิตวัคซีนระหว่างแอสตราเซเนกาและสยามไบโอไซเอนซ์ ก็มีการระบุไว้ชัดเจน
4
“All parties agree to work together to prepare large scale manufacturing capacity at Siam Bioscience to create broad, equitable and timely access to the potential vaccine in South East Asia”
9
แปลว่า “คู่สัญญาทุกฝ่ายตกลงกันว่าจะร่วมงานกันเพื่อจัดเตรียมการผลิตวัคซีนขนาดใหญ่ที่บริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ ซึ่งจะทำให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สร้างการเข้าถึงวัคซีนอย่างทั่วถึง เป็นธรรม และทันต่อความต้องการ”
4
ซึ่งชัดเจนว่า สยามไบโอไซเอนซ์ ผลิตเพื่อป้อนให้กับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ ชาติอาเซียน 10 ประเทศล้วนๆ ก็เลยสงสัยว่าไต้หวันมาอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่เมื่อไหร่กัน
24
เพราะฉะนั้นเขตการบริหารจัดการวัคซีนของแอสตราฯ ได้มีการแบ่งเขตจำเพาะในการผลิตเพื่อป้อนเข้าสู่ภูมิภาคนั้นๆ ไว้อยู่แล้วเพื่อการกระจายวัคซีนอย่างทั่วถึง ดังนั้นทำไมไต้หวันถึงไม่โทษไปยังเกาหลีใต้ จีน หรือญี่ปุ่น ที่เป็นผู้ผลิควัคซีนในภูมิภาค แต่กลับโบ้ยมาที่ไทยทั้งๆ ที่ก็รับผิดชอบแค่ในโซนของตัวเอง หรือเพราะเห็นว่าประเทศเหล่านั้นเป็นประเทศใหญ่ในภูมิภาคเลยต้องเงียบปากไม่กล้าพูดแรง เพราะกลัวว่าจะกระทบการได้วัคซีน เลยเลื่อนลงมาเล่นวาทะกรรมต้มคนไทยที่จำนวนไม่น้อยก็หัวอ่อนเชื่อง่ายอยู่แล้วแทน
19
บทความนี้เขียนด้วยข้อมูลข้อเท็จจริงล้วนๆ ไม่ได้มีเจตนาจะเชียร์ สนับสนุน หรือดิสเครดิตใคร ดังนั้นหวังว่าคนอ่านและคอมเมนต์จะสมองเปิดมากพอที่จะรับข้อมูล แม้มันไม่ถูกใจในความเชื่อ แต่มันคือข้อเท็จจริง ที่ต้องแยกให้ชัดเจนว่าความชอบ กับ ความเชื่อ และเอกสารข้อมูลคืออะไร
13
╔═══════════╗
ไม่พลาดบทความสาระดีๆ ที่ Reporter Journey ตั้งใจสร้างสรรเพื่อผู้ติดตามทุกท่าน อย่าลืมกดติดตามเพจ ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
╚═══════════╝
3
ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
3
โฆษณา