13 มิ.ย. 2021 เวลา 04:00 • ประวัติศาสตร์
“โรคหัวเราะไม่หยุดในแทนกันยีกา (The 1962 Tanganyika Laughing Epidemic)”
ในวันที่ 31 มกราคม ค.ศ.1962 (พ.ศ.2505) ได้มีกลุ่มเด็กนักเรียนหญิงจำนวนสามคน ซึ่งอยู่ในโรงเรียนประจำในหมู่บ้านคาชาชา ประเทศแทนซาเนีย ได้หัวเราะพร้อมๆ กัน และไม่สามารถหยุดหัวเราะได้
นักเรียนทั้งสามคนนี้หัวเราะติดต่อกันเป็นเวลานานและไม่มีทีท่าจะหยุด และในไม่ช้า ดูเหมือนเด็กคนอื่นๆ ก็จะติดการหัวเราะนี้ไปด้วยเช่นกัน
เด็กๆ ต่างหัวเราะติดต่อกันเป็นสัปดาห์โดยไม่สามารถหยุดได้ ทำให้โรงเรียนต้องปิดชั่วคราว และสร้างความพิศวงงุนงงแก่ทุกคนว่าเกิดอะไรขึ้นกันแน่
ถึงแม้ว่าเหตุการณ์หัวเราะไม่หยุดนี้ จะเริ่มต้นจากนักเรียนหญิงเพียงสามคน แต่มันก็ได้ลามไปเรื่อยๆ ลามไปจนทำให้นักเรียนกว่า 95 คน จากทั้งหมดในโรงเรียนประจำหญิงล้วนในแถบแทนกันยีกาจำนวน 159 คน ติดอาการหัวเราะไม่หยุด
อาการหัวเราะไม่หยุดนี้รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยผู้ที่มีอาการจะหัวเราะตั้งแต่หกชั่วโมงจนถึงสองสัปดาห์ และอาการก็รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนอาจารย์ต้องยกเลิกการเรียนการสอนและให้นักเรียนกลับบ้าน
แต่ที่แปลกกว่านั้นก็คือ ผู้ปกครองที่มารับนักเรียน ต่างก็มีอาการเช่นกัน โดยเหล่าผู้ปกครองต่างหัวเราะไม่หยุด ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ หากแต่อาจารย์และเจ้าหน้าที่ในโรงเรียน ไม่มีใครติดอาการนี้เลย
อาการหัวเราะไม่หยุดนี้ระบาดรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และเริ่มลามเข้าไปในหมู่บ้าน มีผู้ติดอาการกว่า 1,000 คน ทำให้โรงเรียนกว่า 14 แห่งต้องปิดทำการชั่วคราว
อาการหัวเราะไม่หยุดนี้ส่งผลอันตรายต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นอาการมึนงง ปัญหาทางการหายใจ และอาการควบคุมตนเองไม่ได้ต่างๆ ที่ตามมาอีกมาก รวมทั้งอาการอ่อนเพลีย
ผ่านมาราวๆ หนึ่งปีครึ่ง อาการหัวเราะไม่หยุดซึ่งระบาดหนักก็ค่อยๆ หายไปอย่างปริศนา
ผู้ที่มีอาการก็ค่อยๆ หัวเราะน้อยลงเรื่อยๆ จนหยุดไปเอง โรงเรียนและร้านค้าต่างๆ ก็กลับมาเปิดตามปกติ ผู้คนในแทนกันยีกาก็กลับมาใช้ชีวิตปกติ
ในช่วงที่อาการหัวเราะไม่หยุดระบาดหนัก แพทย์ได้ลองทำการตรวจร่างกายผู้ที่มีอาการ หากแต่ก็ไม่พบคำตอบว่าสาเหตุเกิดจากอะไร
ในทุกวันนี้ เชื่อว่าสาเหตุของอาการนี้ เกิดจากอาการอุปทานหมู่ ซึ่งน่าจะมาจากความเครียดในเรื่องการเมือง
1
ราวหนึ่งเดือนก่อนการแพร่ระบาดของอาการหัวเราะไม่หยุด แทนกันยีกาเพิ่งจะได้รับเอกราชจากอังกฤษ และอนาคตของดินแดนนี้ก็ไม่มีอะไรที่ชัดเจน
คนหนุ่มสาวหลายคนต่างเป็นห่วงอนาคตของตน โรงเรียนเองก็วิตก ซึ่งทำให้นักเรียนต่างกดดันและเครียดไปด้วย และลามไปถึงผู้ปกครอง ทำให้เกิดอาการนี้ขึ้นมาในที่สุด
โฆษณา