15 มิ.ย. 2021 เวลา 12:14 • ความคิดเห็น
Special Topic : จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าประเทศเราพัฒนาตามหลังประเทศชั้นนำนับ "ศตวรรษ"
หลายปีก่อนหน้านี้เรามักจะได้ยินคำว่า ประเทศเราตามหลังประเทศญี่ปุ่นอยู่กี่ปี
ตามหลังยุโรปกี่ปี ตามหลังอเมริกากี่ปี
จะเกิดอะไรขึ้นหากจำนวนปีที่ว่า มันขึ้นไปถึง 100?
ส่วนที่ 1 : คำถาม
คุณคิดว่าประเทศเราตามหลังประเทศเค้าอยู่กี่ปี?
คำถามนี้อาจจะเป็นคำถามที่ ณ ช่วงหนึ่งของชีวิตเราต้องพบเจอกันมัน
เมื่อเจอคำถามนี้ เราอาจจะต้องมานั่งคิดกันก่อนว่า
"อะไรคือตัวชี้วัดที่เรานำมาใช้ในการเปรียบเทียบว่า ประเทศนี้ ตามหลังประเทศนั้นกี่ปี"
ระบบสาธารณสุข - ความสามารถในการเข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพของประชาชนในประเทศ
ระบบเศรษฐกิจ - โครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆเป็นอย่างไร
ระบบโทรคมนาคม
ระบบสาธารณูปโภค
ระดับเทคโนโลยี
แนวนโยบายยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ต่างๆเปล่านี้เป็นต้น
เมื่อนำศักยภาพในด้านต่างๆมาเปรียบเทียบกันแล้ว
เราอาจจะพอทราบคร่าวๆว่า...ประเทศเราตามหลังประเทศเขาอยู่ประมาณกี่ปี
ส่วนที่ 2 : Zoom Zoom Zoom
เมื่อเรามองเล็กลงมาจากภาพใหญ่ลงมาเป็นภาพย่อย
เราจึงพบว่าแม้แต่ปัจจัยต่างๆในส่วนที่ 1 นั้น นอกจากเกิดในการแข่งขัน "ระหว่างประเทศเเล้ว"
สิ่งเหล่านี้ยังเกิดขึ้น "ภายในประเทศเองด้วย"
แม้แต่ภายในประเทศเอง
ศักยภาพในด้านต่างๆของแต่ละเขตการปกครองก็มีไม่เท่ากัน
โดยปรกติแล้วโครงสร้างระดับสูงมักจะกระจุกตัวอยู่ในเมืองหลวง
และกระจายไปตามเขตปกครองหลักต่างๆ
1
แน่นอนว่า แต่ละพื้นที่มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นทั้งทรัพยากรทางธรรมชาติหรืออะไรต่างๆ
ทำให้การดำเนินการพัฒนาศักยภาพในด้านต่างๆนั้นจึงควรที่จะปรับให้เหมาะสมตามแต่ละท้องที่อีกด้วย
ดังนั้น
(1) คำถามว่าประเทศเราตามหลังประเทศเค้าอีกกี่ปี จะเป็นคำถามหลักที่เราต้องเจอแล้ว
คำถามถัดมาคือ คำถามที่ 2
(2) จังหวัดของเรากำลังตามหลังจังหวัดของเขาอีกกี่ปี ควรจะเป็นโจทย์ที่ฝ่ายยุทธศาสตร์ของประเทศจะต้องคำนึงถึงอีกด้วย
หากให้ผมเปรียบเทียบง่ายๆ...กับการออกกำลังกาย
ถ้าเราเน้นการพัฒนาศักยภาพในด้านต่างๆไปกระจุกตัวอยู่ในไม่กี่จังหวัด
https://bonytobeastly.com/how-big-should-you-build-your-legs/
เรากำลังตัวเหมือนคนเล่นกล้ามที่เล่นเฉพาะกล้ามหน้าอก ส่วนบนแข็งแรงดูดีเชียวครับ
แต่ขาลีบ .. นั่นหมายถึงกล้ามเนื้อฐานรากของเราไม่แข็งแรง
ในการแข่งขันระยะยาวที่เราต้องใช้พลังของฐานรากด้วยนั้นอาจจะมีปัญหา
ระดับยุทธศาสตร์ประเทศนั้น ควรจะมีแกนหลัก เปรียบเหมือนมหาสมุทร
และระดับยุทธศาสตร์ย่อยของแต่ละพื้นที่ทีนั้นควรจะเป็นแม่น้ำ
ที่ไหลไปรวมกันกลายเป็นมหาสมุทรที่กว้างใหญ่
เพื่อไป....เผชิญหน้ากันในเวทีโลก
ส่วนที่ 3 : Covid กำลังขุดเอาศักยภาพของแต่ละประเทศออกมาเผชิญหน้ากันตรงๆ
ศักยภาพของประเทศนั้นไม่ได้พัฒนากันในวันเดียว
ย่อมต้องเป็นผลพวงมาจากการดำเนินการในระยะก่อนหน้านี้มาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน
ทำให้ปัจจุบัน... อเมริกากลายเป็นมหาอำนาจอันดับ 1 ของโลก
และมีมหาอำนาจขั้วตรงข้ามอย่างจีนและรัสเซีย
ในภาวะที่เกิดการแพร่ระบาดของโรค เรายิ่งสังเกตได้ชัดเจนว่า
1
ทรัพยาการในการทำให้ประเทศฟื้นตัวกลับคืนมาได้ของกลุ่มประเทศชั้นนำนั้นอยู่ในระดับที่สูงมาก
มาตรการทางการเงิน, การคลัง, การบริหารเศรษฐกิจ, การบริหารทางด้านสาธารณสุข ฯลฯ
นอกเหนือไปจากการบริหารงานภายในแล้ว ยังมีเวลาไปเล่นถึงประเด็นเรื่องความขัดแย้งของประเทศฝ่ายตรงข้ามอีกด้วย
คุณสมบัติเด่นๆของประเทศชั้นนำของโลกคือการ Multitasking
ตอนนี้ประเทศชั้นนำอย่าง อเมริกา, โซนยุโรป, จีน และอื่นๆ
1
กำลังมองไปถึงการควบคุมโรคในระยะถัดไปกันแล้ว เพื่อทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศนั้นฟื้นตัวอย่างแข็งแรงโดยที่อาจจะไม่จำเป็นต้องเพิ่งพารายได้ภาคการท่องเที่ยวจากต่างประเทศมากนัก
พูดง่ายๆว่าการกระจายวัคซีนให้ประชากรในประเทศในระดับ 100% เป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับเวลาเท่านั้น
ในขณะที่หลายๆประเทศยังไม่มีกำลังในการจัดหาทรัพยากรในส่วนนี้มาได้อย่างเพียงพอ
สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศของเราเท่านั้น แต่รวมถึงประเทศอื่นๆ อีกด้วย
นั่นทำให้เกิดระยะห่างระหว่างประเทศ ซ้อนเข้าไปอีกชั้น ...
ทำให้การไล่ตามหลังประเทศชั้นนำของโลกนั้นอาจจะมีระยะห่างที่กว้างออกไปอีกมหาศาล
แต่ปัจจัยจริงๆที่ทำให้หลายๆประเทศไม่สามารถก้าวไปอยู่จุดเดียวกับประเทศชั้นนำของโลกได้คือ
หลายๆประเทศของโลกมีสถานะเป็น Players
ในขณะที่กลุ่มประเทศชั้นนำของโลกนั้นมีสถานะเป็น Rulers
วันนึงเมื่อ Player คนไหนมีความสามารถมากพอที่จะเลื่อนสถานะเป็น One of Rulers
ประเทศนั้นจะโดนเหมือนที่ "จีน" กำลังจะเจอครับ
ผมมักจะเรียกเจ้าสิ่งนี้ว่า "ขีดจำกัดที่ Rulers สร้างไว้เพื่อรับน้อง Ruler คนใหม่"
วันใดที่คุณข้ามผ่านไปได้
วันนั้นเกมก็จะเปลี่ยนไปอีกครั้ง
*มีสิ่งหนึ่งซึ่งสามารถทำให้ Player นั้นสามารถเร่งระดับความเร็วในการพัฒนาตัวเอกได้คือ การสนับสนุนจาก Ruler คนใดคนหนึ่งครับ
อย่างเช่น เวียดนาม ที่มีจีนเป็นผู้สนับสนุน ถึงแม้เราจะมองออกว่าจีนทำเพื่อหลีกเลี่ยงข้อกำหนดเรื่องสงครามการค้าก็ตาม
แต่เราปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่าเวียดนามก็ได้ประโยชน์
ส่วนที่ 4 : แล้วนักลงทุนอย่างเราจะทำยังไงดี
ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเราครับว่าเราจะเลือกลงทุนในประเทศที่เป็น Players หรือ Rulers
ซึ่งแต่ละประเทศนั้นก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป
ความเสี่ยงและผลประโยชน์ที่จะได้รับก็มีความต่าง
ในมุมมองของผม การที่เราเลือกเข้าไปลงทุนในประเทศที่เป็น Rulers อาจจะทำให้เรามีตัวเลือกที่มากกว่า
ในขณะที่เมื่อเราเลือกประเทศที่เป็น Players นั้น เราอาจจะสามารถมองออกได้คร่าวๆว่า อุตสาหกรรมประเภทนี้ประเภทนั้น มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จหรือไม่
***โดยเทียบเคียงจากอุตสาหกรรมรูปแบบเดียวกันของ ประเทศในกลุ่ม Rulers ***
หวังว่ามุมมองเล็กๆของผมจะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่าน
"สุขสันต์วันไหว้บะจ่าง" ย้อนหลังครับ
หากท่านใดอยากสนับสนุนหมูน้อย ฝากเข้าไปติดตามใน Facebook แฟนเพจของพื้นฐานการลงทุนหมูน้อยออมเงินได้ที่ลิ้งด้านล่างนี้ได้เลยครับ
ทางหมูน้อยจะได้มีกำลังใจในการผลิตเนื้อหาดีๆมาให้ทุกท่านได้อ่านกันอย่างต่อเนื่องครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา