13 มิ.ย. 2021 เวลา 07:13 • ข่าว
อังกฤษต้องล็อกดาวน์ประเทศต่อไปอีกอย่างน้อยหนึ่งเดือน เหตุเกิดจากไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์เดลต้า(อินเดียเดิม) ซึ่งแพร่ระบาดได้เร็วกว่าสายพันธุ์อัลฟ่า(อังกฤษเดิม)ถึง 60%
11
สถานการณ์การระบาด โควิด-19 ของประเทศอังกฤษ ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี 2563 และจัดว่ารุนแรงมากประเทศหนึ่งของยุโรป
จนกระทั่งต้นปี 2564 เมื่อมีการระบาดของไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์อัลฟ่าหรือสายพันธุ์อังกฤษ จึงได้มีการประกาศล็อกดาวน์
เนื่องจากระบบสาธารณสุขของอังกฤษ ไม่สามารถจะรองรับจำนวนผู้ป่วยปานกลางและผู้ป่วยหนักได้
1
เพราะไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์อัลฟ่ามีความสามารถในการแพร่ระบาดได้เร็วกว่าสายพันธุ์เดิมถึง 70%
นอกจากนั้น ทางการอังกฤษยังได้ระดมฉีดวัคซีนเป็นจำนวนมาก โดยได้มีการอนุมัติวัคซีนของ Pfizer เมื่อ 2 ธันวาคม 2563 และของ AstraZeneca ในวันที่ 30 ธันวาคม 2563 ตามด้วยของ Moderna เมื่อมกราคม 2564
รวมทั้ง ได้เริ่มมีการฉีดวัคซีนของทั้ง Pfizer และ AstraZeneca ส่งผลให้มีการติดเชื้อลดลงถึงสองในสาม และมีประสิทธิผลในการป้องกันโรค เพียงฉีดวัคซีนเข็มแรกได้สูงถึง 74%
3
มาตรการทั้งล็อกดาวน์ และระดมฉีดวัคซีนครั้งใหญ่ ส่งผลให้อัตราการติดเชื้อของคนอังกฤษ ซึ่งเคยขึ้นสูงสุดเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2564 ติดเชื้อถึงวันละ 67,846 ราย และในวันที่ 29 มกราคม 2564 เสียชีวิตวันเดียวมากถึง 1,823 คน ได้ชะลอลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
2
จนกระทั่งเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2564 มีผู้ติดเชื้อรายวัน 3,165 คน
แต่อย่างไรก็ตาม อัตราการติดเชื้อได้พุ่งสูงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เป็น 7,393 รายต่อวัน สูงที่สุดนับจากเดือนกุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นมา
และพบว่าผู้ติดเชื้อรายใหม่ กว่าร้อยละ 90 เป็นสายพันธุ์เดลต้าหรือสายพันธุ์อินเดีย
1
ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลต้า เพิ่มจาก 29,892 ราย มาเป็น 42,323 รายแล้ว
เหตุผลสำคัญ ที่ทำให้เกิดการระบาดเพิ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เป็นเพราะมีไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์เดลต้าระบาด ซึ่งมีความสามารถในการแพร่เชื้อได้มากกว่าสายพันธุ์อัลฟ่าถึง 60% หรือมากกว่าสายพันธุ์เดิมได้ถึง 170%
2
ทำให้อัตราผู้ติดเชื้อรายใหม่ในอังกฤษ เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าทุก 4-11 วัน
2
ทั้งที่ได้มีการฉีดวัคซีนเข็มแรกไปแล้วมากถึง 41 ล้านเข็ม คิดเป็น 60%ของประชากร และเข็มสองฉีดไปแล้ว 29 ล้านเข็ม คิดเป็น 43% ของประชากร
3
ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่า ความสามารถในการแพร่กระจายของไวรัสสายพันธุ์เดลต้า สามารถฝ่าด่านของวัคซีนได้
1
ซึ่งเป็นวัคซีนชั้นยอดทั้งคู่คือ Pfizer และ AstraZeneca
1
ตัวเลขที่พบการติดเชื้อ ก็จะเป็นคนหนุ่มสาว ที่ยังได้รับวัคซีนจำนวนน้อยกว่าคนสูงอายุ มีการติดเชื้อมากกว่า
จึงคาดว่าจำนวนผู้เสียชีวิตในครั้งนี้ ก็จะต่ำกว่าในระลอกก่อน
จึงเป็นกรณีตัวอย่างที่ดี ที่ประเทศไทยสามารถนำมาใช้เรียนรู้ได้ว่า
ในการควบคุมสถานการณ์ของ
โควิด-19 นั้น
1) จะต้องเร่งควบคุมการระบาดให้อยู่หมัดโดยเร็ว ถ้าจำเป็นต้องใช้มาตรการล็อกดาวน์ก็จำเป็นต้องใช้
1
2) ต้องระดมฉีดวัคซีนให้ได้มากที่สุดโดยเร็วที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเข็มหนึ่งของ AstraZeneca เพราะเข็มเดียวก็ขึ้นสูงพอสมควร
1
3) สำคัญกว่าสองอันแรกคือ ต้องป้องกันไวรัสกลายพันธุ์โดยเฉพาะสายพันธุ์เดลต้าหรือสายพันธุ์อินเดีย และสายพันธุ์เบต้าหรือสายพันธุ์แอฟริกาใต้ อย่าให้เข้ามาแพร่กระจายในประเทศไทยได้
2
เพราะถ้าหลงเข้ามาเพียงไม่กี่ราย แต่ด้วยอัตราการแพร่ที่รุนแรง ก็จะฝ่าด่านวัคซีนที่ฉีดไว้ได้
1
และจะครอบคลุมสายพันธุ์อัลฟ่าที่กำลังระบาดในประเทศไทยตอนนี้ได้ และกลายเป็นสายพันธุ์หลักในที่สุด เหมือนเช่นที่อังกฤษ
ส่วนการป้องกันไวรัสกลายพันธุ์ดังกล่าว ไม่ให้เข้าสู่ประเทศไทยนั้นต้องเน้นไปที่สองกรณีด้วยกัน คือ
1) กรณีผิดกฎหมายคือ หลบเข้ามาตามช่องทางธรรมชาติ อันนี้จะต้องเข้มงวดกวดขัน ทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐ และประชาชนที่เห็นเหตุการณ์ จะต้องช่วยกันแจ้งให้เจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการโดยเร็ว
2
2) กรณีเข้ามาโดยถูกต้องตามกฏหมาย ก็คือ คนไทยที่กลับมาจากต่างประเทศ หรือนักท่องเที่ยวที่เข้ามา
เพราะแม้คนเหล่านี้ จะได้ทำการตรวจจากต้นทางมาแล้ว ว่าไม่มีไวรัส (PCR) แต่ก็ยังตรวจพบไวรัสแอบซ่อน แบบไม่แสดงอาการและสามารถตรวจพบได้ที่สถานกักตัวของรัฐนับ 1000 คน เพียงแต่ว่าเรากักตัวไว้ได้สำเร็จ(14 วัน)
1
และกรณีที่ฉีดวัคซีนครบสองเข็ม จะให้เข้ามาสู่ประเทศไทยได้ เช่นตัวอย่างการท่องเที่ยวทดลองนำร่องที่จังหวัดภูเก็ต (Phuket Sandbox) ก็ยังอาจจะมีโอกาสที่มีไวรัสหลบวัคซีนอยู่ในตัวนักท่องเที่ยวได้
3
ถ้าเป็นสายพันธุ์เดิม หรือสายพันธุ์อัลฟ่า ก็คงจะไม่มีปัญหาอะไร
แต่ถ้าเป็นสายพันธุ์เดลต้า ก็อาจจะเกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยในเกาะภูเก็ต เหมือนที่เกิดขึ้นกับเกาะอังกฤษ
1
แล้วถ้าแพร่ออกจากเกาะภูเก็ต มาถึงข้างนอกได้ ก็จะทำให้เราเดือดร้อนกันทั้งประเทศได้
1
จึงต้องวางแผน และปฏิบัติตามแผนอย่างละเอียดรอบคอบทุกจุด เพื่อให้การนำร่องที่ภูเก็ต ไม่สร้างผลกระทบต่อจังหวัดอื่นๆต่อไปในอนาคต
1
Reference
2
โฆษณา