17 มิ.ย. 2021 เวลา 12:45 • หุ้น & เศรษฐกิจ
#งบกำไรขาดทุน 101
จากชื่อก็คงเดากันได้แล้วใช่ไหมล่ะ ว่างบนี้แสดงอะไรให้เห็น
ใช่แล้ว งบนี้แสดงให้เห็นว่าบริษัทมีรายได้กี่บาท ใช้จ่ายไปกี่บาท หลังจากหักค่าใช้จ่ายเเล้วยังมีกำไรหรือขาดทุน
บริษัทสามารถรายงานงบการเงินได้หลายข่วงเวลา เช่น กำไรขาดทุนรอบ 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี
งบกำไรขาดทุนแบ่งออกเป็น 3 ส่วน
แบ่งออกเป็น 3 ส่วน
1.รายได้
2.รายจ่าย
3.กำไรขาดทุน
ส่วนเเรกคือส่วนของ "รายได้" แปลตรงๆก็คือ บริษัททำเงินจากธุรกิจของเค้าได้กี่บาท แบ่งได้เป็น 2 เเบบ คือ
1) รายได้จากธุรกิจหลักของบริษัท
2) รายได้ที่ไม่ได้มาจากการทำธุรกิจหลักของบริษัท
1.รายได้จากธุรกิจหลักของบริษัท คือจำนวนเงินที่เค้าทำได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการ สมมติว่าบริษัทขายปลาทรี ขายได้เท่าไรนั้นแหล่ะคือรายได้หลักจากษริษัท
2.รายได้ที่ไม่ได้มาจากการทำธุรกิจหลักของบริษัท เช่น ดอกเบี้ยจากเงินฝาก รายได้พิเศษจากการขายที่ดิน เป็นต้น
ส่วนของรายได้ที่ไม่ได้มาจากธุรกิจหลักของบริษัทอาจมีความไม่เเน่นอน บางปีอาจมีมาก บางปีอาจมีน้อย
ดังนั้น เราควรไปโฟกัสที่รายได้จากธุรกิจหลักของบริษัทดีกว่าจ้า
ส่วนที่ 2 "รายจ่าย" ใครฟังก็คงเข้าใจ มันก็คือเงินที่จ่ายออกไปเพื่อดำเนินธุรกิจนั่นเเหละจ้า
เเต่ในงบการเงิน รายจ่ายถูกเเบ่งออกเป็นหลายประเภท คือ
1.ต้นทุนขาย หรือ Cost of Goods Sold (COGS)
2. ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร หรือ Selling, General & Administrative Expense (SG&A)
3. ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเเละภาษี
รายจ่ายประเภทเเรก
1. เงินที่บริษัทจ่ายไปเพื่อพัฒนาสินค้าหรือบริการที่เค้าจะขายหรือทำให้สินค้าพร้อมขาย ภาษาทางการเรียกว่า Cost of Goods Sold (COGS)
เช่น ค่าวัตถุดิบหรือกระบวนการในการผลิต นอกจากนี้ ยังมีอีกต้นทุนนึงที่อาจไม่คุ้นหูพวกเรา นั่นคือค่าเสื่อมราคา
เราซื้อของมา ของมันก็ต้องเสื่อม ถืงเเม้ว่าเราจะไม่ได้จ่ายเงินเวลาของเสื่อม เเต่นี่ก็เป็นอีกต้นทุนในงบบัญชีจ้า
เราจะมาเล่ารายละเอียดของค่าเสื่อมราคาในโพสต์ถัดๆไป
ยกตัวอย่างง่ายๆสมมติว่าเราขายปลาวันเเล้วอยากพัฒนาสินค้าให้โดดเด่นในตลาด เราจึงซื้อเครื่องผลิตกลิตเตอร์เพื่อทำปลาวันโรยกลิตเตอร์ นานวันเข้าเครื่องผลิตกลิตเตอร์ก็ต้องเสื่อม ตรงนี้ก็ถือเป็น ค่าเสื่อมราคา
รายจ่ายประเภทที่ 2
2. บริษัทมีค่าใช้จ่ายการผลิตเเล้ว เเต่ก็อย่าลืมว่าการขายก็มีค่าใช้จ่ายในการทำให้สินค้าขายได้รวมถึงการบริหารจัดการต่างๆ
ภาษาทางการของต้นทุนการขายเรียกว่า Selling, General & Administrative Expense หรือ (SG&A)
เช่น ค่าจ้างพนักงาน ค่า Promote สินค้า ค่าน้ำค่าไฟ ค่าเช่าออฟฟิส ค่าจ้างที่ปรึกษา เป็นต้น
สมมติว่าเราขายปลาทูเเล้วโปรโมทสินค้าเเละจ่ายค่าโฆษณาผ่าน Social Media ตรงนี้ก็ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการการขาย
รายจ่ายประเภทที่ 3
3. ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเเละภาษี ตรงตามนั้น ไปกู้เงินมาก็ต้องจ่ายดอกเบี้ย เเละมีรายได้มาก็ต้องจ่ายภาษี
ยกตัวอย่างเช่น เราขายปลาวัน เเล้วเรากู้เงินมาซื้อเรือเพื่อจับปลาวันเอง เงินที่เรากู้มาก็ต้องเสียดอกเบี้ยหรือเราขายปลาวัน หรือ ปลาทู หรือปลาทรี ได้เยอะมากปลายปีก็ต้องจ่ายค่าภาษี ตรงนี้ก็ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยและภาษี
หลายคนอาจคิดว่าเงินปันผลที่บริษัทจ่ายนั้นเป็นรายจ่าย คุณคิดผิดแล้วล่ะ
การจ่ายปันผลไม่นับว่าเป็นรายจ่าย เพราะรายจ่ายในที่นี้คือรายจ่ายเพื่อการดำเนินงานของบริษัท เเต่การจ่ายปันผลจะเกิดขึ้นเมื่อบริษัทมีกำไรเเล้วเอากำไรมาเเบ่งให้กับผู้ถือหุ้น
ส่วนที่ 3 "กำไร/ขาดทุน" ตรงตัวเช่นกัน รายได้มากกว่ารายจ่ายก็กำไร น้อยกว่าก็ขาดทุน เเต่ในงบกำไรขาดทุน กำไรของบริษัทมีหลายประเภท
1. กำไรขั้นต้น (Gross Profit) กำไรส่วนนี้คิดเเค่กำไรจากการขายล้วนๆ
หรือก็คือ รายได้รวม (Revenues) - ต้นทุนขาย (COGS) ยังไม่มีการหักค่าใช้จ่ายในการบริหารอื่นๆ ก็จะได้เป็นกำไรขั้นต้น
2. กำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษี (EBIT) หรือก็คือ การเอากำไรขั้นต้นมาหัก ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการขายสิ้นค้าและบริหาร(SG&A) ในส่วนนี้มักจะถูกนำไปเป็นตัวหนึ่งที่ถูกพูดถึงบ่อยเวลาวิเคราะห์หุ้น
3. กำไรสุทธิ (Net Profit) คือกำไรสุทธิของบริษัทหลักจากหักค่าใช้จ่ายทุกอย่างไป
ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนขาย ต้นการบริหาร ภาษี อัตราดอกเบี้ย เเละค่าเสื่อมราคา
งบกำไรขาดทุน เป็นงบด่านแรกที่ดูง่ายที่สุดที่ดูว่าธุระกิจของเรานั้นกำลังมี กำไร หรือ ขาดทุน อยู่เท่าไหร่ เสียค่าใช้จ่ายเป็นแบบไหน มีรายได้มาจากตรงไหน
อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญก็คือ นอกจากเราจะดูงบของบริษัทในปีนั้นแล้ว เพื่อให้เห็นภาพที่กว้างงขึ้น เราก็ต้องทำการเปรียบเทียบกับปีอื่นๆ
เพื่อให้เห็นพัฒนาการของบริษัทว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เพราะอะไร
นอกจากนี้การทำธุรกิจย่อมมีการแข่งขัน และการเปรียบเทียบบริษัทกับคู่แข่งก็จะทำให้เห็นภาพชัดขึ้นไปอีกว่า
ภายใต้กรอบเวลาและสถานการณ์เดียวกัน แต่ละบริษัทมีความสามารถในการดำเนินการยังไง ใครทำกำไรเก่งกว่าใคร ก็วัดกันตรงนี้เลยจ้า
โฆษณา