13 มิ.ย. 2021 เวลา 13:03 • คริปโทเคอร์เรนซี
#อาสาสรุป "DeFi 101" ระบบการเงินที่อาจเข้ามาแทนที่ธนาคาร‼️ และรวม 20 แหล่งศึกษา DeFi ที่น่าติดตาม
"DeFi 101" ระบบการเงินที่อาจเข้ามาแทนที่ธนาคาร‼️
✅Decentralized Finance (DeFi) คืออะไร?
.
ถ้าแปลตรงตัวก็คือ “ระบบการเงินที่ไม่มีตัวกลาง” ส่วนมากเราคงเคยชินกับระบบการเงินที่มีตัวกลาง (Centralized Finance) อย่าง “ธนาคาร” ซึ่งมีต้นทุนสูง และไม่ใช่ทุกคนที่สามารถเข้าถึงการบริการทางการเงินได้
.
DeFi ใช้ประโยชน์ของ Smart Contract จากเทคโนโลยี Blockchain ทำให้สามารถเขียนโปรแกรมเพื่อสร้างแพลตฟอร์มที่สามารถทำธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีธนาคารหรือตัวกลางใด ๆ ซึ่งทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมอย่างไร้พรมแดน เปรียบเสมือนเป็นธนาคารดิจิทัลที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ เป็นระบบการเงินที่ย้ายความเชื่อมั่นจาก “มนุษย์” ไปสู่ “โค้ดคอมพิวเตอร์” นั้นเอง
6
Decentralized Finance (DeFi) คืออะไร?
✅Blockchain คืออะไร?
.
Blockchain คือ วิธีการเก็บข้อมูลรูปแบบหนึ่ง ซึ่งไม่มีศูนย์กลาง เปรียบเหมือนกับการให้แต่ละคนถือสมุดบัญชีของทุกคนเอาไว้ ถ้ามีการอัพเดทข้อมูลก็ต้องอัพเดทพร้อมกันทุกคนทุกเล่ม ถ้าใครอัพเดทข้อมูลไม่ตรงคนอื่นก็จะรู้ได้ทันที หรือถ้ามีการโจมตีข้อมูลของคนใดคนหนึ่ง ก็จะมีชุดข้อมูลของคนอื่นสำรองไว้อยู่
.
จะเห็นได้ว่าวิธีการเก็บข้อมูลแบบนนี้ทำให้เกิดการปลอมแปลงข้อมูลหรือถูกโจมตีได้ยาก ตรงข้ามกับธนาคารที่เก็บข้อมูลแบบรวมศูนย์ ถ้าระบบล่มหรือถูกโจมตี ข้อมูลนั้นก็จะเสียหายได้ง่ายกว่านั้นเอง
1
Blockchain คืออะไร?
✅Smart Contract คืออะไร?
.
Smart Contract เกิดขึ้นหลังจากการถือกำเนิดของ Ethereum หรือเรียกว่ายุค Blockchain 2.0 มันคือ “สัญญาอัจฉริยะ” เกิดจากการเขียนโปรแกรมลงไปบน Blockchain สร้างเป็นสัญญาที่ทำงานอัตโนมัตหากเงื่อนไขตรงตามที่ตกลงไว้ สัญญาจะถูกบังคับใช้ทันที ไม่ต้องกลัวว่าใครจะเบี้ยว และไม่ต้องพึ่งตัวกลางใด ๆ
.
ต่างจากสัญญาทั่วไปที่ต้องมีตัวกลางเข้ามาควบคุมและบังคับใช้ เช่น กฎหมาย สัญญาจ้าง หรืออื่น ๆ ซึ่งมีกระบวนการที่ยุ่งยาก ใช้เวลานาน และยังมีต้นทุนที่มากกว่าหลายเท่า
1
Smart Contract คืออะไร?
✅ตัวอย่างบริการในโลก DeFi
.
ตัวอย่างบริการในโลก DeFi
1.การกู้ยืม (Lending & Borrowing)
.
ในโลกที่เราคุ้นเคย ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถกู้ยืมเงินจากธนาคารได้ ต่างจากโลก Defi ที่ทุกคนสามารถทำได้อย่างเท่าเทียม สามารถเป็นได้ทั้งผู้กู้และผู้ให้กู้ คนที่กู้ก็ต้องเสียดอกเบี้ย คนที่ปล่อยกู้ก็ได้รับดอกเบี้ยตามกลไกของตลาด
.
.
.
2.การแลกเปลี่ยน (Exchange / Trading)
.
เหมือนกับบริการแลกเงินที่เรารู้จักกัน แต่ในโลก DeFi การแลกเปลี่ยนไม่ได้มีแค่เงิน แต่มันสามารถแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ได้ทุกอย่างแบบไร้ตัวกลางเลยทีเดียว
.
.
.
3.การปล่อยกู้สภาพคล่อง (Liquidity Pool)
.
ปัญหาหนึ่งของโลก DeFi คือการขาดสภาพคล่อง แนวคิดของ Liquidity Pool จึงเกิดขึ้นโดยให้คนทั่วไปสามารถฝากสภาพคล่องเข้าไปใน Pool และคนนั้นก็จะได้รับผลตอบแทนเมื่อสภาพคล่องนั้นถูกใช้งานนั้นเอง
.
.
.
4.การทำฟาร์ม (Yield Farming)
.
หลังจากที่เรานำสภาพคล่องไปฝากไว้ใน Pool ของแพลตฟอร์มแล้ว เราสามารถนำคู่เหรียญที่เราให้กู้สภาพคล่องไปฝากไว้กับแพลตฟอร์มเพื่อรับผลตอบแทน (คล้าย ๆ กับดอกเบี้ย) เพิ่มเติมได้อีกด้วย ซึ่งเป็นดอกเบี้ยที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับการฝากเงินไว้กับธนาคาร
.
.
.
5.การสร้างสินทรัพย์สังเคราะห์ (Synthetic Asset)
.
ยกตัวอย่างเช่น การสร้างโทเค็นหุ้น (Stock Token) ในโลก Defi โดยใช้เหรียญคริปโตมาค้ำประกัน ซึ่งราคาของโทเค็นก็จะเท่ากับหุ้นจริง ๆ Stock Token ทำให้รายย่อยเข้าถึงหุ้นระดับโลกได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นหุ้น Tesla, Apple, Google, Facebook และยังสามารถแบ่งซื้อในหน่วยที่ย่อยกว่า 1 หุ้นได้อีกด้วย
.
.
1
✅ขั้นตอนการเข้าสู่โลก DeFi อย่างง่าย
.
ขั้นตอนการเข้าสู่โลก DeFi อย่างง่าย
1.สร้างกระเป๋าคริปโต (Crypto Wallet)
.
เป็นเหมือนที่เก็บสินทรัพย์ของเรา ไม่ว่าจะเป็นเหรียญคริปโตหรือโทเค็นต่าง ๆ ซึ่ง Wallet ที่ได้รับความนิยมสูง เช่น Meta Mask ทุกคนสามารถเข้าไปสมัครได้ทาง https://metamask.io/ และติดตั้ง Meta Mask ใน Chrome ด้วยนะ
.
.
.
2.เลือกและติดตั้ง Chain ที่ต้องการ
.
จริง ๆ ในโลก DeFi ตอนนี้มี Chain ให้เลือกใช้หลากหลายมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็น Chain ของ Ethereum, Binance, Terra, Solana, Polygon, Avalanche, Bitkub, etc.
.
ซึ่ง Chain ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดตอนนี้จะเป็น Ethereum Chain และ Binance Smart Chain ซึ่งหลังจากที่เรามี Meta Mask Wallet แล้วมันจะถูกตั้งค่าเริ่มต้นเป็น Ethereum Chain อยู่แล้ว
.
ถ้าต้องการติดตั้ง Binance Smart Chain ก็สามารถศึกษาได้จากลิ้งนี้เลยครับ https://academy.binance.com/.../connecting-metamask-to...
.
.
.
3.โอนค่าแก๊ส (Gas) เข้าไปในกระเป๋าคริปโต
.
“แก๊ส” เปรียบเสมือน “น้ำมันในรถยนต์” ถ้าไม่มีน้ำมันรถก็วิ่งไม่ได้ เช่นเดียวกับในโลก DeFi ถ้าคุณไม่มีแก๊สคุณก็ไม่สามารถทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้ ส่วนแก๊สจะเป็นอะไรนั้นขึ้นอยู่กับ Chain ที่คุณเลือกใช้ ยกตัวอย่าง Binance Smart Chain แก๊สที่ใช้ก็จะเป็นเหรียญ BNB (Binance Coin) นั้นเอง
.
คุณสามารถซื้อเหรียญที่ใช้เป็นแก๊สจากกระดานเทรดเหรียญต่าง ๆ เช่น Binance และสามารถกดถอนเหรียญเหล่านั้นไปใส่ใน Wallet ของคุณได้ เพื่อเป็นแก๊สในการทำธุรกรรมบนโลก DeFi
.
กระดานเทรดในประเทศไทย เช่น Bitkub หรือ Satang Pro ก็สามารถซื้อได้เช่นกัน ในส่วนของ Bitkub เห็นว่ายังไม่สามารถโอนเหรียญไปยัง Binance Smart Chain ได้โดยตรง (ต้องโอนไปยัง Binance ก่อน) ส่วนทาง Satang Pro เห็นว่าสามารถโอนไป Binance Smart Chain ได้โดยตรงแล้ว แต่อาจจะยังมีสภาพคล่องที่ค่อนข้างต่ำ ลองศึกษาเพิ่มเติมกันดูนะครับ
.
.
.
4.ท่องโลก DeFi ได้เลย!
.
หลังจากที่คุณมีกระเป๋าและแก๊สแล้ว คุณก็สามารถเข้าไปทำธุรกรรมต่าง ๆ ในโลก DeFi ได้เลย! โดยปัจจุบันมีแพลตฟอร์ม DeFi อยู่เยอะมาก ๆ ผมจะขอยกตัวอย่าง Platform ที่น่าสนใจ เป็นที่รู้จักมีคนใช้งานเยอะ และมีความปลอดภัยค่อนข้างสูงในหัวข้อถัดไปครับ
.
.
✅ตัวอย่าง Platforms บนโลก DeFi
ที่อยากให้ทุกคนลองไปศึกษาเพิ่มเติมกันดูครับ
.
.
ตัวอย่าง Platforms บนโลก DeFi
✅คำแนะนำในการใช้งานโลก DeFi
.
คำแนะนำในการใช้งานโลก DeFi
1.ไม่ควรเก็บ Seed Phrase ของ Crypto Wallet ในรูปแบบ Digital
.
"Seed Phrase” ได้มาตอนที่เราสมัครใช้งาน Crypto Wallet เช่น Meta Mask มันคือ Private Key ที่อยู่ในรูปแบบคำ 12 - 24 คำ เปรียบเสมือนกุญแจของกระเป๋าคริปโตของเรา ต้องเก็บรักษาให้ดี ถ้าทำหายหรือมีคนอื่นล่วงรู้ สินทรัพย์ใน Wallet ก็อาจจะหายหรือโดนขโมยไปได้ทั้งหมด ไม่ควรถ่ายรูปแคปหน้าจอไว้ในมือถือ จดไว้ในคอมพิวเตอร์ หรือเก็บในรูปแบบ Digital เพราะมีความเสี่ยงที่จะโดนแฮกได้ ควรจดใส่กระดาษและหาที่เก็บให้ดี
.
.
.
2.ก่อนโอนเหรียญให้ตรวจสอบ Chain และ Address ให้ถูกต้อง
.
อย่างที่ผมบอกไปแล้วว่าในโลก DeFi มี Chain ให้เลือกใช้มากมาย แต่ละ Chain นั้นไม่ได้เชื่อมกันโดยตรง เหมือนอยู่คนละมิติ ดังนั้นเวลาที่คุณจะโอนเหรียญ ถ้าคุณโอนไปผิด Chain เหรียญที่คุณโอนก็มีโอกาสหายไปได้เลย เช่นเดียวกับการโอนผิด Address เปรียบเสมือนคุณโอนเงินไปผิดบัญชีธนาคารนั้นเอง
.
.
.
3.ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของ DeFi Platform ก่อนใช้งาน
.
ตอนนี้ในโลก DeFi ยังไม่สามารถปิดความเสี่ยงได้ 100% แต่คุณสามารถลดความเสี่ยงที่จะส่งผลกับทรัพย์สินคุณได้ ผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยเบื้องต้น ดังนี้
.
-ดูว่าแพลตฟอร์มนั้นผ่านการ Audit โดยบริษัทที่น่าเชื่อถือหรือไม่
-ดูจำนวนผู้ใช้งานและความแข็งแรงของ Community
-ดู TVL (Total Locked Value) หรือเงินฝากที่อยู่ในแพลตฟอร์มนั้น ๆ ยิ่งมากก็ถือว่ามีความเสี่ยงต่ำ
-ดูว่าแพลตฟอร์มนั้นมี Time Lock หรือไม่ ถ้าไม่มีถือว่ามีความเสี่ยงสูง
-ดูทีมงานผู้พัฒนา ทั้งเรื่องของความสามารถและความน่าเชื่อถือ
.
.
.
4.สายฟาร์มควรรู้เรื่อง Impermanent Loss
.
Impermanent Loss (การสูญเสียเงินทุนชั่วคราว) จะเกิดขึ้นจากการที่คุณปล่อยสภาพคล่องคู่เหรียญที่ไม่ใช่ Stable Coin ใน Liquidity Pool เมื่อราคาของเหรียญใดเหรียญหนึ่งขยับขึ้นหรือลง Impermanent Loss จะเกิดขึ้นทันที ซึ่งสามารถคำนวณได้จาก https://dailydefi.org/tools/impermanent-loss-calculator/
.
หรือถ้าไม่อยากเสียเวลาคำนวณเอง คุณสามารถดู Impermanent Loss ของคู่เหรียญของคุณ ได้จาก https://apeboard.finance
.
.
.
5.การกู้ยืมและการสร้างสินทรัพย์สังเคราะห์ ให้ระวังเรื่อง Liquidation
.
ในโลก DeFi เวลาเราจะกู้หรือสร้างสินทรัพย์สังเคราะห์ขึ้นมา เราต้องมีสินทรัพย์ในการค่ำประกันมากกว่าส่วนที่คุณจะกู้หรือมูลค่าของสินทรัพย์ที่คุณจะสร้างขึ้น ในอัตราส่วน (Collateral ratio) ที่แพลตฟอร์มกำหนด เช่น เราสามารถเอาเงิน $100 ไปค้ำประกันเพื่อสร้างหุ้น Tesla ขึ้นมาที่มีมูลค่า $50 (Collateral ratio 200%) ถ้าราคาหุ้น Tesla ปรับตัวสูงขึ้นมาก ๆ จน Collateral ratio ของเราลดลงต่ำกว่าที่แพลตฟอร์มกำหนด เช่น ต่ำกว่า Collateral ratio 120% สินทรัพย์ที่เราเอาไปวางค้ำประกันจะโดน Liquidate หรือถูกนำไปขายทอดตลาดได้นั้นเอง
.
.
.
6.Hardware Wallet ช่วยเพิ่มความปลอดภัยได้
.
Hardware Wallet เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยปกป้อง Private Key ของคุณจาก Virus และ Malware ในคอมพิวเตอร์ได้ (แต่ถ้าคุณทำ Seed Phrase หลุดให้คนอื่นเอง Hardware Wallet ก็ไม่สามารถช่วยได้นะ) ถ้าคุณมีทรัพสินย์ในโลก DeFi มากขึ้น ก็ควรจะหา Hardware Wallet มาใช้ เช่น Ledger หรือ Trezor เพื่อช่วยเพิ่มความปลอดภัย และควรซื้อ Hardware Wallet จากผู้ผลิตโดยตรง ไม่ควรผ่านคนกลาง
.
.
.
7.อัพเดทข้อมูลข่าวสารบนโลก DeFi อย่างสม่ำเสมอ
.
โลก DeFi นั้นเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปเร็วมาก ๆ ดังนั้นคุณควรที่จะอัพเดทข้อมูลข่าวสารอยู่เสมอ โดยวิธีการนึงที่ผมใช้คือ การติดตามแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งจะขอแบ่งปันให้ทุกคนในหน้าถัดไปครับ
.
.
📌20 Facebook Pages ที่น่าติดตาม!
เพื่อศึกษาและติดตามข่าวสารในโลก DeFi & Blockchain
.
.
20 Facebook Pages ที่น่าติดตาม! เพื่อศึกษาและติดตามข่าวสารในโลก DeFi & Blockchain
Bitcoin Addict Thailand
Blockchain Review - บล็อกเชนรีวิว
Siam Blockchain
Coinman
CDC ChalokeDotCom
.
Kim DeFi Daddy
KIM Property Live
Poramin Insom - ปรมินทร์ อินโสม
ท๊อป จิรายุส - Topp Jirayut
Bitcast
.
BitToon
บิทดอย - Bitdroid
Stocker Day
พ่อบ้านคริปโต
อัพเดทฟาร์มนิวส์
.
Digital Asset LIVE
Crypto โบโบ้
CryptoCromanyon
Think Crypto - คิดเรื่องคริปโต
Crypto by efinanceThai
.
.
ถ้าใครรู้จักเพจอื่น ๆ อีก สามารถ Comment มาแชร์กันได้ครับ!
สำหรับผู้ที่สนใจอยากเรียน เขียน Smart Contract บน Blockchain อย่างจริงจัง
.
💁‍♂️ผมขอแนะนำคอร์ส “Ethereum Development Zero to Hero” ของ SkillLane สอนโดย คุณนัฐพล นิมากุล Co-founder & CTO, KULAP.io
คอร์ส “Ethereum Development Zero to Hero” ของ SkillLane
🎁พิเศษสำหรับแฟนเพจ The Conclusion
รับส่วนลด 2,000 บาท เพียงกรอกโค้ด “ConclusionETH2000”
จนถึงวันที่ 30/06/2021 เท่านั้น
.
.
สนใจสมัครได้ที่
.
.
#SkillLane x #TheConclusion
เข้ากลุ่มอาสาสรุป : http://bit.ly/TheConclusionGroup
.
1
โฆษณา