Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อาจวรงค์ จันทมาศ
•
ติดตาม
14 มิ.ย. 2021 เวลา 01:35 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
รอยเลือดในที่เกิดเหตุบอกอะไรได้บ้าง?
(เรียบเรียงโดย มิติ เจียรพันธุ์)
#นิติวิทยาศาสตร์เบื้องต้น
1
เลือดในร่างกายมนุษย์จะมีสภาพเป็นของเหลวไหลอยู่ภายในเส้นเลือด ตามจังหวะการบีบตัวของหัวใจ แต่เมื่อเลือดไหลออกจากร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นเพราะมีดบาด จักรยานล้ม หรือถูกทำร้าย เลือดจะเริ่มแข็งตัวในเวลาไม่กี่นาที
1
เลือดในที่เกิดเหตุบอกอะไรได้บ้าง?
เจ้าหน้าที่สามารถใช้ลักษณะการแข็งตัวของเลือดมาประมาณเวลาเกิดเหตุคร่าวๆ ได้ เพราะเลือดจะไม่ได้แข็งตัวพร้อมกันทั้งหมด แต่จะเริ่มแห้งจากบริเวณขอบเข้าไปด้านใน
แต่ระยะเวลาการแข็งตัวของเลือดก็ไม่ได้เท่ากันทุกครั้ง เพราะการที่เลือดจะแห้งช้าหรือเร็วก็ขึ้นอยู่กับพื้นผิวบริเวณนั้น ปริมาณเลือด สภาพแวดล้อมในที่เกิดเหตุอย่างความร้อนและความชื้น รวมทั้งสภาพเลือดของแต่ละคนด้วย
2
นอกจากระยะเวลาแล้ว รอยเลือดยังใช้คาดการณ์จุดเกิดเหตุ ลักษณะอาวุธ ตำแหน่งของเหยื่อและผู้ต้องสงสัย รวมถึงทิศทางการเคลื่อนที่ของเหยื่อได้ เช่น หยดเลือดบนพื้นเรียบ ถ้าเป็นวงกลมก็แปลว่ามันหยดลงมาจากด้านบนพอดี แต่หากเป็นวงรีก็แปลว่ามันกระเด็นมาจากมุมอื่นๆซึ่งคำนวณหาได้ เป็นต้น
1
สภาพรอยเลือดต่างๆ ที่มา : Wikipedia
การศึกษารูปแบบรอยเลือดมีการตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1895 นับแต่นั้นมา การใช้ข้อมูลจากเลือดในที่เกิดเหตุก็ช่วยให้ทีมสืบสวนไขคดีได้นับไม่ถ้วน
1
เลือดในที่เกิดเหตุยังให้ข้อมูลสำคัญอื่นๆ เช่น โรคประจำตัว ยาที่ใช้ และการระบุตัวบุคคลเจ้าของเลือดจากการวิเคราะห์ดีเอ็นเอได้
2
กล่าวได้ว่าเลือดเป็นเบาะแสสำคัญของการสืบสวนที่มองข้ามไม่ได้ แต่ถ้าคนร้ายล้างคราบเลือดออกจากที่เกิดเหตุไปแล้วล่ะ?
คำตอบคือ มีสารเคมีชนิดหนึ่งที่จะเผยรอยเลือดล่องหนเหล่านั้นออกมา นั่นก็คือ ลูมินอล (Luminol)
สาร Luminol ที่มา : https://www.compoundchem.com/2014/10/17/luminol/
ในเม็ดเลือดแดงจะมีโปรตีนที่ช่วยขนส่งออกซิเจน ชื่อว่า ฮีโมโกลบิน เมื่อฉีดลูมินอลที่เตรียมไว้ มันจะทำปฏิกิริยากับธาตุเหล็กในฮีโมโกลบินที่หลงเหลืออยู่ในที่เกิดเหตุนี้แล้วเรืองแสงออกมา ทำให้เห็นบริเวณที่เคยมีคราบเลือดอยู่ หรือ รอยเช็ดถูที่คนร้ายพยายามทำความสะอาดด้วยก็ได้
2
แต่การใช้ลูมินอลก็ใช่ว่าจะทำได้ทันทีทุกครั้ง เพราะปฏิกิริยาเคมีนี้อาจทำลายหลักฐานอื่นๆ ดังนั้นก่อนใช้วิธีนี้จึงต้องตรวจสอบที่เกิดเหตุด้วยวิธีอื่นๆจนเรียบร้อยแล้ว
นอกจากนี้ลูมินอลยังอาจทำปฏิกิริยากับสารอื่นที่ไม่ใช่เลือด เช่น สารฟอกขาว หรือน้ำผลไม้บางชนิดก็ทำให้ลูมินอลเรืองแสงได้ จึงต้องตรวจสอบให้แน่ใจอีกครั้งว่าร่องรอยที่พบเป็นเลือดหรือไม่
1
อ้างอิง
- Forensics For Dummies
- How Bloodstain Pattern Analysis Works
https://science.howstuffworks.com/bloodstain-pattern-analysis.htm?fbclid=IwAR2Om84JyXj2szBsbQgLA7tzOF26RvXrMGpbKQUVYUqg2HUe29kEh2n-WLk
- How Luminol Works
https://science.howstuffworks.com/luminol.htm
66 บันทึก
118
7
47
66
118
7
47
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย