14 มิ.ย. 2021 เวลา 12:20 • การเมือง
หลากหลายเส้นทางสายไหม
1
โดย
1
นิติภูมิธณัฐ
มิ่งรุจิราลัย
https://www.adb.org/features/afghanistan-and-modern-silk-road
จีนเสนอ One Belt One Road Initiative หรือข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง แต่เดี๋ยวนี้ คนเรียกกันย่อสั้นกว่านั้นเป็น Belt and Road Initiative หรือ BRI ที่หมายถึง เส้นทางเศรษฐกิจสายใหม่และเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21
สหรัฐมีเส้นทางสายไหมใหม่ที่เสนอโดย ศาสตราจารย์เฟรเดอริค สตารร์ แห่งมหาวิทยาลัยจอห์นส์ ฮอปกินส์ เมื่อพ.ศ. 2548 คนที่พูดต่อจากนั้นคือนางคลินตันที่พูดขณะที่เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศเมื่อ พ.ศ. 2554 พูดขณะร่วมงานประชุมยุทธศาสตร์สหรัฐ-อินเดียครั้งที่ 2
ข้อใหญ่ใจความของเส้นทางสายไหมใหม่ของสหรัฐคือ สหรัฐจะทำความร่วมมือกับเอเชียกลางและเอเชียใต้ในด้านการเมือง ความมั่นคง พลังงาน การขนส่ง ฯลฯ โดยจะใช้อัฟกานิสถานเป็นศูนย์กลาง
นางคลินตันน้ำลายแตกฟองพูดต่อว่า สหรัฐจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่เอเชียกลางซึ่งรวมถึงอัฟกานิสถาน เพื่อประโยชน์เชิงยุทธศาสตร์ของสหรัฐ
อีก 3 เดือนต่อมา สภาคองเกรสก็แจ้งไปยังสถานทูตสหรัฐในประเทศที่เกี่ยวดองหนองยุ่งว่า ขอให้เรียกนโยบายในพื้นที่เอเชียใต้และเอเชียกลางรวมกันว่าเป็นนโยบายเส้นทางสายไหมแห่งใหม่ พร้อมทั้งสั่งสถานทูตให้แจ้งข่าวนี้ไปยังประเทศหุ้นส่วนต่างๆ ด้วย
สหรัฐไม่เพียงแต่พูด แต่ปฏิบัติตามนโยบายเส้นทางสายไหมแห่งใหม่ด้วยการทำโครงการรถไฟอุซเบกิสถาน-อัฟกานิสถาน สร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแซงทูดาในทาจิกิสถาน และส่งกระแสไฟฟ้าไปยังอัฟกานิสถาน
แต่สหรัฐทำงานไม่มุ่งมั่น ประเทศที่ร่วมในเส้นทางสายไหมแห่งใหม่ของสหรัฐถูกเทบ่อยครั้ง เงินทุนต่างๆ สหรัฐก็ไม่ค่อยออกให้ ความเชื่อมั่นของประเทศต่างๆ ในโครงการนี้ก็ไม่มี แถมยังมีปัญหากลุ่มก่อการร้ายที่ขัดขวางโครงการ สุดท้ายจึงกลายเป็นนโยบายเส้นทางสายไหมฝืด
1
ทันทีที่ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงเดินทางไปเยือนเอเชียกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเดือนกันยายนและตุลาคม 2556 พร้อมทั้งเสนอแนวคิดข้อริเริ่มการร่วมสร้างแถบเศรษฐกิจเส้นทางสายไหมและเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21
นางพัก กึน-ฮเย ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ก็เสนอแนวคิดเรื่อง Silk Road Express เมื่อตุลาคม 2556 เพื่อเชื่อมทางรถไฟสายด่วนที่แล่นจากเกาหลีใต้เข้าเกาหลีเหนือทะลุรัสเซีย จีน เอเชียกลางไปจนถึงยุโรป และยังพูดถึงเรื่องการสร้างเครือข่ายพลังงาน ทั้งพลังงานไฟฟ้า ก๊าซธรรมชาติ และท่อส่งน้ำมันในพื้นที่ยูเรเชีย
https://www.korea.net/NewsFocus/policies/view?articleId=127627
เกาหลีใต้มีข้อริเริ่มยูเรเชียหรือ Eurasia Initiative ที่มีองค์ประกอบหลักเป็น Silk Road Express ความมุ่งหวังตั้งใจของเกาหลีใต้ก็คือ ต้องการเชื่อมทางรถไฟ ถนนทางบก และการเดินทางทางอากาศเข้ากับระบบโลจิสติกส์แบบครบวงจร
1
เกาหลีลืมดูศักยภาพตัวเองว่าสร้างนโยบายขึ้นมาแล้วจะไปรอดไหม ความสัมพันธ์ของเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้มีปัญหามาก พวกนักธุรกิจเอาหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของสีจิ้นผิงมาเทียบกับข้อริเริ่มยูเรเชียของนางพัก กึน-ฮเย แล้ว ก็สรุปกันว่า ข้อริเริ่มที่เสนอโดยสีจ้ินผิงดีกว่า
ญี่ปุ่นเองก็เคยคิดเรื่องนี้มานานครับ พ.ศ.2540 นายฮาชิโมโตะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเสนอการทูตเส้นทางสายไหมเพื่อสร้างความหลากหลายของแหล่งพลังงาน แกเสนอให้เรียกเขตพื้นที่เอเชียกลาง + 8 ประเทศเทือกเขาคอเคซัสว่า เขตพื้นที่เส้นทางสายไหม และประกาศว่า นี่เป็นพื้นที่สำคัญในนโยบายต่างประเทศใหม่ของญี่ปุ่น
ตั้งแต่นั้นมา การทูตระหว่างญี่ปุ่นกับเอเชียกลางจึงถูกเรียกว่า การทูตเส้นทางสายไหม  พอถึงพ.ศ.2547 ญี่ปุ่นก็ผลักดันให้จัดตั้งกลไกความร่วมมือที่มีชื่อว่า ญี่ปุ่น+เอเชียกลาง พ.ศ.2555 ญี่ปุ่นก็ใช้เงิน 21.913 ล้านดอลลาร์สหรัฐสร้างถนน สนามบิน สะพาน โรงไฟฟ้าในเขตพื้นที่เส้นทางสายไหม จนถึงพ.ศ.2558 นายกรัฐมนตรีอาเบะก็ไปเยือนเอเชียกลาง 5 ประเทศ
BRI หรือข้อริเริ่มแถบและเส้นทางของจีนได้สวย มีการเปิดเส้นทางรถไฟสายตรงจากเมืองต่างๆ ของจีนไปยังเมืองในยุโรปและเอเชียเกือบทุกสัปดาห์
แต่ความเคลื่อนไหวของเส้นทางสายไหมอื่น ไม่ว่าจะของสหรัฐ เกาหลี และญี่ปุ่น ไม่ค่อยมีข่าวให้ได้ยิน สงสัยแป๊กไปแล้ว.
โฆษณา