ข่าวดีมาก !! วัคซีนไทย ของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มฉีดทดลองในมนุษย์เป็นครั้งแรกแล้ว
7
วันนี้ (14 มิถุนายน 2564) ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สังกัดสภากาชาดไทย ร่วมกับศูนย์วิจัยวัคซีนของคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2
ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธ์ุ คณบดี
ได้เริ่มทดลองวัคซีนชื่อ ChulaCov19 เป็นครั้งแรกกับมนุษย์ หลังจากที่ผ่านการทดลองในหนูและในลิงได้ผลดีมากมาแล้ว
2
โดยการฉีดวัคซีนดังกล่าว เป็นการทดลองในเฟส 1/2 กับอาสาสมัครจำนวน 100 คน
ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม
ลองมาดูรายละเอียดของวัคซีนนี้กันดูนะครับ
วัคซีน ChulaCov19 ใช้เทคโนโลยี mRNA (messenger Ribonucleic acid) แบบเดียวกับของบริษัท Pfizer และ Moderna
2
โดยเทคโนโลยีนี้ จะทำการสังเคราะห์สารพันธุกรรม (mRNA) ขึ้นมา
1
ซึ่งสารพันธุกรรมดังกล่าว จะมีความสามารถในการออกคำสั่งให้เซลล์สร้างโปรตีนในส่วนที่เป็นหนาม (Spike protein) ของไวรัสก่อโรคโควิดได้
1
เมื่อฉีดวัคซีนเข้าไปในร่างกายแล้ว mRNA ดังกล่าว ก็จะสั่งให้เซลล์มนุษย์ สร้างโปรตีนส่วนหนามของไวรัสก่อโรคโควิดขึ้น
1
เมื่อร่างกายของมนุษย์ มาพบกับโปรตีนส่วนหนามของไวรัสดังกล่าว ก็คิดว่าเป็นไวรัสทั้งตัว จึงสร้างภูมิคุ้มกันออกมาต่อสู้
3
การมีภูมิคุ้มกันนี้เอง ก็คือผลโดยตรงจากการฉีดวัคซีนที่เราต้องการ
1
เมื่อร่างกายพบกับไวรัสก่อโรคโควิดจริง ก็จะสามารถต่อสู้ ทำให้ติดเชื้อได้ยาก หรือแม้ติดเชื้อแล้ว อาการป่วยก็จะไม่รุนแรง ไม่ถึงขั้นเสียชีวิต
5
วัคซีนดังกล่าว เป็นเทคโนโลยีที่ทางคณะแพทยศาสตร์จุฬาฯ (ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกในเรื่องเทคโนโลยี mRNA ได้เคยทำงานร่วมกันในการทำวัคซีนรักษาโรคภูมิแพ้มาก่อนแล้ว
11
วัคซีนเข็มประวัติศาสตร์
ข้อเด่นของวัคซีนไทยชนิดนี้ ที่อาจจะถือว่าเหนือกว่าวัคซีนของ Pfizer และ Moderna คือ สามารถเก็บที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส หรือเก็บในตู้เย็นธรรมดาได้อย่างน้อย 3 เดือน
14
และเก็บที่อุณหภูมิห้อง 25 องศาเซลเซียส ได้นาน 2 สัปดาห์
4
ในขณะที่วัคซีนของ Pfizer ตอนเริ่มต้นวิจัย ต้องเก็บที่อุณหภูมิ -70 องศาเซลเซียส (ปัจจุบันลดลงมาเป็น -20 องศาเซลเซียสได้แล้ว)
ส่วนวัคซีนของ Moderna ต้องเก็บที่อุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส
ซึ่งทำให้ต้องสิ้นเปลือง ค่าตู้เย็นพิเศษใบละนับล้านบาท เพื่อเก็บวัคซีนดังกล่าว และไม่สะดวกในการขนส่งไปฉีดตามจังหวัดต่างๆของประเทศไทยที่เป็นเมืองร้อน
2
นอกจากนั้น ทางคณะแพทยศาสตร์จุฬาฯ ยังได้เตรียมการวิจัยคู่ขนานเพื่อทำการเปลี่ยนรหัสพันธุกรรม
(mRNA) ให้วัคซีนสามารถรับมือกับไวรัสกลายพันธุ์ สายพันธุ์แอฟริกาใต้ หรือสายพันธุ์อังกฤษได้ด้วย
15
นับเป็นข่าวดีมาก และนับเป็นความภาคภูมิใจของประเทศไทย ที่มีความสามารถในการผลิตวัคซีนของตนเอง
6
คาดว่าจะเสร็จสิ้นการวิจัยในสิ้นปีนี้ และจะสามารถผลิตวัคซีนฉีดให้คนไทยได้ ในต้นปีหน้า
11
พร้อมไปกับอีกสองวัคซีนของไทย ที่ใช้โปรตีนเป็นฐานแบบบริษัท Novavax ก็คือ วัคซีนของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพชื่อ ใบยาไฟโตฟาร์ม
18
และวัคซีนเทคโนโลยีเชื้อตาย แบบเดียวกับของจีน คือ Sinovac และ Sinopharm ซึ่งผลิตโดยองค์การเภสัชกรรมร่วมกับสถาบันวัคซีนแห่งชาติ
3
ทั้งนี้โครงการวิจัยวัคซีนดังกล่าว ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จากทางรัฐบาล ที่จัดสรรให้อย่างต่อเนื่อง
14
Reference
ศ.นพ.เกียรติ รักรักษ์รุ่งธรรม
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
6
253ถูกใจ
195แชร์
17Kรับชม
แสดงความคิดเห็นของคุณ...
    • กำลังนิยมในบล็อกดิต
      สวิตเซอร์แลนด์สั่งระงับ!! จ่ายโบนัสพนักงานเครดิต สวิส หลังยูบีเอสเทกโอเวอร์ รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ประกาศระงับการจ่ายเงินโบนัสให้กับพนักงานของเครดิต สวิส กรุ๊ป เอจี (Credit Suisse Group AG) เป็นการชั่วคราว หลังจากยูบีเอส กรุ๊ป เอจี (UBS Group AG) ตกลงเข้าซื้อกิจการของเครดิต สวิส
      B-DYNAMIC BOND กองทุนตราสารหนี้ใหม่จาก BBLAM เปิดขายครั้งแรก 21 - 28 มีนาคม 2566 พิเศษเฉพาะช่วง IPO Front end fee 0.25% B-DYNAMIC BOND เป็นกองทุนที่พร้อมหาทุกโอกาสลงทุนในตราสารหนี้ทั่วโลก และ BBLAM ตั้งใจให้ยืดหยุ่นสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกการลงทุน ข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://www.bblam.co.th/products/mutual-funds/foreign-investment-fund/b-dynamic-bond/17294 สามารถลงทุนผ่าน โมบายแบงก์กิ้ง จาก ธนาคารกรุงเทพ หรือผ่าน BF Fund Trading จาก BBLAM ได้ที่ https://www.bblam.co.th/asset/BFT/ หรือตัวแทนขายที่ได้รับการแต่งตั้ง ได้แก่ บมจ.ธนาคารกรุงเทพ โทร. 1333 บมจ.หลักทรัพย์ บัวหลวง โทร. 0-2231-3777 or 0-2618-1000 บมจ.กรุงเทพประกันชีวิต โทร. 0-2777-8999 บมจ.หลักทรัพย์ กรุงศรี พัฒนสิน โทร. 0-2638-5500 บจ.หลักทรัพย์ เอเซีย พลัส โทร. 0-2680-1234 บมจ.หลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) โทร. 0-2635-1700 บมจ.หลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร โทร. 0-2305-9449 บจ.หลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) โทร. 0-2657-7000 บมจ.หลักทรัพย์ กรุงศรี โทร. 0-2659-7000 บมจ.หลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) โทร. 0-2658-8889 บจ.หลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์โทร. 0-2949-1000 บจ.หลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา โทร. 0-2026-5100 กด 1 บจ.หลักทรัพย์ ไพน์ เวลท์ โซลูชั่น โทร. 02-095-8999 บจ. หลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด โทร.0-2009-8000 ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ข้อมูลสำคัญ นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน และ ความเสี่ยง ก่อนการตัดสินใจลงทุน
      ระวังสหรัฐฯจะเปลี่ยนสนามเล่น โดย
      วิจารณ์ปมปัญหา Credit Suisse ทำลายชื่อเสียง “สวิตเซอร์แลนด์” การล่มสลายของธนาคารยักษ์ใหญ่อย่าง Credit Suisse ได้ส่งแรงสั่นสะเทือนไปถึงตลาดการเงินในหลายๆ ประเทศ และดูเหมือนว่าจะทำลายชื่อเสียงของสวิตเซอร์แลนด์ที่เป็นดินแดนที่มีเสถียรภาพ โดยผู้บริหารของบริษัทหนึ่งแนะให้นักลงทุนมองประเทศที่มีภูเขาสูงใจกลางยุโรปว่าเป็นรัฐ “ประเทศศูนย์กลางการเงินที่ด้อยพัฒนาในโลกที่ 3” (Financial Banana Republic)
      ดูทั้งหมด