Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อ่านแล้ว GET
•
ติดตาม
15 มิ.ย. 2021 เวลา 01:13 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
📌ท่านผู้อ่านบางท่านอาจจะเคยได้ยินชื่อของวัสดุมหัศจรรย์ที่เรียกกันว่า #กราฟีน (#graphene) ที่กำลังเป็นที่สนใจทั่วโลกในขณะนี้ โดยกราฟีนเป็นอีกหนึ่ง อัญรูป (allotrope) ของคาร์บอนที่มีการค้นพบตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2547 โดย ศ. ดร.อังเดร ไกม์ (Andre Geim) และ ศ. ดร.คอนสแตนติน โนโวเชลอฟ (Konstantin Novoselov) จากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์สหราชอาณาจักร ซึ่งผลงานการค้นพบกราฟีนดังกล่าว ทำให้ทั้งสองท่านได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี พ.ศ. 2553 และจุดนี้เองที่ทำให้ทั่วโลกต่างหันมาสนใจวัสดุชนิดใหม่นี้เป็นอย่างมาก
😄วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับกราฟีนและคุณสมบัติของมันที่ทำให้ถูกเรียกว่าเป็นวัสดุมหัศจรรย์กัน..😁
📌กราฟีนคืออะไร
กราฟีน (Graphene) คือ วัสดุที่เกิดจากชั้นคาร์บอนที่มีการเรียงตัวเชื่อมต่อกันเป็นรูปหกเหลี่ยม เชื่อมต่อกันด้วยพันธะโคเวเลนต์ที่มีความแข็งแรง มีลักษณะโครงสร้างคล้ายกับรังผึ้ง โดยหากนำกราฟีนมาวางซ้อนกันหลายๆ ชั้นก็จะได้ #แกรไฟต์ หรือที่เรารู้จักกันดีในรูปของไส้ดินสอ
📌คุณสมบัติของกราฟีน
ปัจจุบันได้มีการนำกราฟีนมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง เนื่องจากกราฟีนมีคุณสมบัติที่หลากหลายและน่าสนใจ ดังต่อไปนี้
▶มีความแข็งแกร่งมากกว่าเพชร 100 เท่า
▶มีความแข็งแรงกว่าเหล็กกล้าที่มีความหนาเท่ากันถึง 200 เท่า
▶มีความยืดหยุ่นสูง
▶เป็นตัวนำไฟฟ้าได้ดีกว่าทองแดง
▶เป็นตัวนำความร้อนได้ดี
▶เป็นวัสดุโปร่งแสง
▶น้ำหนักเบา
▶ไม่เป็นพิษกับร่างกายมนุษย์ (หากรับในปริมาณน้อย)
📌วิธีการผลิตกราฟีน
คุณภาพของกราฟีนจะต่างกันไปตามกระบวนการผลิต และถูกนำไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบที่ต่างกันด้วย กราฟีนที่มีคุณภาพสูงจะถูกใช้มากในวงการอิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้า ส่วนที่เกรดต่ำลงมาจะถูกนำไปทำเป็นวัสดุกลุ่มคอมโพสิท (Composite material) แทน ซึ่งราคาของกราฟีนต่อ 1 กรัมในปัจจุบันมีตั้งแต่ 1,000 ถึง 2,000 บาท ขึ้นกับเทคนิคและวิธีการผลิต บทความนี้จะขอพูดคร่าวๆเกี่ยวกับเทคนิคที่ใช้ผลิตกราฟีนในปัจจุบันมีดังนี้..
▶การแยกชั้นของแกรไฟต์ด้วยการเอาสก๊อตเทปทาบลงบนแกรไฟต์แล้วดึงออกจนกระทั่งได้แผ่นที่บางที่สุดแค่อะตอมเดียวเท่านั้น หรือ Graphene นั่นเอง
▶การแยกชั้นของแกรไฟต์ด้วยกระบวนการทางเคมี หรือ Exfoliation
▶วิธี Chemical Vapour Deposition หรือ CVD เป็นการจัดเรียงตัวของอะตอมคาร์บอนบนแผ่นโลหะ จนได้โครงสร้างของ Graphene
▶วิธีการแยกชั้นของแกรไฟต์ด้วยกระบวนการทางเคมี หรือ Exfoliation
😁ครั้งต่อไปจะพาทุกท่านไปรู้เกี่ยวกับประโยชน์และการใช้งาน #กราฟีนในอนาคต อย่าลืมติดตามกับ อ่านแล้ว GET.. 😄
🙏แหล่งอ้างอิงข้อมูล :
http://www.petromat.org/home/2021/06/01/graphene-materials-for-the-future/
1 บันทึก
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย