3 ก.ค. 2021 เวลา 01:16 • ประวัติศาสตร์
10 เรื่องของ The Last Supper ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน
ภาพวาด The Last Supper หรือ Cenacolo ในภาษาอิตาเลียน เป็นหนึ่งในภาพวาดที่ดังที่สุดของโลก ซึ่งเป็นผลงานของ เลโอนาร์โด ดา วินชี ในช่วงปี ค.ศ. 1495-1498 ที่อารามโดมินิกัน ชื่อว่า ซานตามารีอาเดลเลกราซีเอ (Santa Maria delle Grazie) ที่เมืองมิลาน ประเทศอิตาลี
ภาพนี้วาดจากเรื่องราวในพระคัมภีร์ไบเบิ้ล เล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นระหว่างพระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้ายของพระเยซูและเหล่าสาวก ก่อนที่พระเยซูจะถูกจับไปตรึงกางเขน
ระหว่างพระกระยาหารค่ำพระเยซูได้บอกคำทำนายว่า หนึ่งในสาวกของพระองค์จะเป็นผู้ทรยศพระองค์เอง โดยภาพวาดนี้จะบ่งบอกปฏิกิริยาท่าทางของสาวกหลังจากได้ยินสิ่งที่พระเยซูตรัส
มาพบกับ 10 ข้อเกี่ยวกับภาพวาด The Last Supper ที่คุณอาจไม่เคยรู้
1. ใครเป็นใคร และรูปนี้จริงๆแล้วมี Mary Magdalene หรือไม่
1
Credit: http://www.visual-arts-cork.com/famous-paintings/last-supper-leonardo-davinci.htm
จากซ้ายไปขวา
- กลุ่มแรก Bartholomew, James Minor และ ​Andrew : ทั้งสามคนมีท่าทางตกใจกลัวกับสิ่งที่พระเยซูตรัส โดย Andrew กำลังทำมือเป็นสัญลักษณ์ว่าให้หยุด
2
- กลุ่มสอง Judas, Peter และ John : หน้าของ Judas หลบอยู่ในมุม ในมือกุมกระเป๋าเล็กๆ อาจจะเป็นเงินว่าจ้างที่รับมาเพื่อทรยศพระเยซู ส่วน Peter แสดงท่าทีโกรธ และ John ที่หลายๆคนคิดว่าเป็นผู้หญิง หรือ มีทฤษฎีเล่าว่าเป็น Mary Magdalene กำลังมีท่าทีเหมือนจะเป็นลม
- พระเยซูอยู่ตรงกลาง ในท่าที่ที่สงบ
- กลุ่มสาม Thomas, James Major และ Philip : Thomas มีท่าทีกระวนกระวาย ส่วน James Major นิ่งชะงักไป และ Philip มีท่าทีเหมือนต้องการคำอธิบายเพิ่มเติม
1
- กลุ่มสุดท้าย Matthew, Thaddeus และ Simon : Matthew และ Thaddeus หันหน้าไปหา Simon เพื่อขอคำอธิบาย ในขณะที่ผายมือไปที่พระเยซู
** The Last Supper มี Mary Magdalene อยู่ในรูปวาดนี้ จริงหรือไม่
หลายคนอาจจะเข้าใจว่า John เป็น Mary Magdalene เนื่องจากมีรูปร่างท่าทางที่คล้ายผู้หญิง บวกกับนิยายชื่อดังของ Dan Brown เรื่อง The Da Vinci Code ที่ภาพยนต์ในชื่อเดียวกันค่อนข้างมีชื่อเสียง ส่งผลกระทบต่อความเชื่อไปมาก
1
ในนิยายได้บอกว่า John แท้จริงแล้วคือ Mary Magdalene ซึ่งเป็นภรรยาของพระเยซู และทั้งสองก็มีทายาทที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
1
Mary Magdalene เป็นสาวกของพระเยซูที่เป็นผู้หญิง ซึ่งเป็นคนแรกที่เป็นพยานเห็นการคืนชีพของพระเยซูคริสต์ ทว่าบทบาทอาจจะไม่ได้สำคัญมากนัก และไม่น่าจะได้ร่วมโต๊ะกับพระเยซูได้
1
Mary Magdalene by Perugino (c. 1500) at Galleria Palatina in Florence (Credit: https://en.wikipedia.org/wiki/Mary_Magdalene_(Perugino))
ข้อสนับสนุนที่เหล่านักวิชาการเชื่อว่าดา วินชี ไม่น่าจะวาด Mary Magdalene ลงไป มีอยู่หลักๆ คือ หนึ่ง ชื่อของ Mary Magdalene ไม่ได้อยู่ในลิสท์ของผู้ที่นั่งร่วมโต๊ะซึ่งปรากฏในคัมภีร์ไบเบิล
1
และ ดา วินชี สนใจในสรีระผู้ชาย และวาดภาพผู้ชายเสียมากกว่า ซึ่งการวาดผู้ชายของ ดา วินชีก็มีหลากหลาย รวมถึงการวาดให้ผู้ชายมีความอ่อนช้อย มีใบหน้าสวยเหมือนผู้หญิง ซึ่งปรากฏในรูปอื่นๆเช่นเดียวกัน ที่มีลักษณะคล้าย John
1
2. ภาพวาด The Last Supper ของจริงมีขนาดใหญ่กว่าที่คุณคิด
ภาพวาดนี้ไม่ได้เป็นภาพวาดแขวนฝาผนังแต่อย่างใด แต่เป็นภาพวาดขนาด 460 x 880 cm ที่วาดลงไปบนผนังของห้องทานข้าวภายในอาราม
Credit: https://youth-time.eu/secrets-and-mysteries-hidden-in-old-masterpieces-last-supper-by-leonardo-da-vinci/
3. ภาพวาดนี้ประกอบไปด้วยเทคนิค
ดา วินชีใช้เทคนิคการจัดวางภาพแบบ Perspective และใช้ Leading Lines หรือ เส้นนำสายตา เพื่อให้จุดศูนย์กลางสายตาของผู้ที่มองเข้าไปอยู่ที่ศีรษะของพระเยซูแบบพอดิบพอดี และเพื่อให้พระเยซุเป็นจุดเด่นกึ่งกลางของภาพ ดา วินชีพยายามจัดวางองค์ประกอบอื่นๆภายในภาพให้เข้ากับเส้นนำสายตาที่เขาวางไว้ และทำให้ห้องดูมีมิติมากขึ้นด้วย
1
นอกจากนี้ ดา วินชี ใช้วิธีปักหมุดหรือตะปูไปที่ผนัง และตรึงเชือกไว้ เพื่อช่วยไกด์ทิศทางของมือ ให้เขาวาดภาพได้ตรงมุม เพื่อสร้างมิติให้กับรูปภาพอีกด้วย
1
Credit: https://www.leonardodavinci.net/the-last-supper.jsp
4. ภาพวาดนี้มากจากการทดลองที่ไม่ประสบความสำเร็จของ ดา วินชี
จิตกรส่วนใหญ่ในยุคเรเนซองส์มักจะวาดภาพลงบนปูนเปียก ซึ่งเป็นเทคนิคการวาดภาพบนปูนที่ยังไม่แห้งดี เพื่อให้สีซึมลงไปในเนื้อปูนเพื่อความคงทนของภาพวาด เราเรียกเทคนิคนี้ว่า เฟรสโก ​(Fresco)
1
ทว่า ดา วินชีนั้นเป็นศิลปินที่แหวกขนบ เขาปฏิเสธที่จะใช้เทคนิคเฟรสโก เพราะอยากทดลองด้วยวิธีใหม่ๆ บวกกับการวาดลงบนปูนเปียก ดา วินชี จะต้องเร่งรีบวาดทำงานแข่งกับเวลาก่อนที่ปูนจะแห้ง ทำให้เขาคิดค้นวิธีนี้ขึ้นมา
1
โดยการวาดภาพลงบนปูนที่แห้งแล้ว เขาได้คิดค้นส่วนผสมใหม่ขึ้นมาเพื่อป้องกันความชื้น เป็นส่วนผสมจากน้ำมันและไข่มาทาเคลือบภาพวาดไว้
1
การทดลองเช่นนี้บนภาพวาด The Last Supper ของดา วินชี ต้องบิกว่าไม่ประสบความสำเร็จเอาเสียเลย และภาพวาดเกิดความเสียหายจากความชื้นอยู่ดี รวมถึงเมื่อกาลเวลาผ่านไป เทียบกับรูปถาพที่มาจากยุคเดียวกัน ภาพ The Last Supper เกิดการสึกกร่อน แตกและสีซีดลงเป็นอย่างมาก
1
ภาพ The Last Supper ของจริงที่ใช้เทคนิควาดลงบนปูนแห้งของ Leonardo Da Vinci (Credit: https://en.wikipedia.org/wiki/The_Last_Supper_(Leonardo))
ภาพวาด The Creation of Adam ที่ใช้เทคนิคแบบ fresco ของศิลปินในยุคเดียวกันอย่าง Michelangelo ภาพจะสีสดและคงทนกว่า (Credit: https://en.wikipedia.org/wiki/Fresco)
5. ภาพวาด The Last Supper อาจแสดงถึงความเชื่อ ความศรัทธาในธรรมชาติ มากกว่าอิทธิฤทธิของพระเจ้า ในสมัย Renaissance
ในยุค Renaissance เป็นยุคที่ศิลปินให้ความสำคัญกับธรรมชาติของมนุษย์ สรีระร่างกาย ท่าทางที่เลียนแบบเหมือนจริงมากกว่า ทำให้การนำเสนอพระเยซูลงไปในภาพวาด จะแตกต่างจากยุคก่อนหน้า
1
ในสมัยก่อนหน้า การวาดภาพที่เกี่ยวข้องกับศาสนาคริสต์ศิลปินมักจะนำเสนอภาพของพระเยซูพิเศษและแตกต่างจากคนธรรมดา โดยจะวาดวงรัศมี (Halos) หรือแสงเป็นวงกลมไว้ที่พระเยซูด้วย เพื่อให้รู้สึกว่าพระเยซูไม่ใช่มนุษย์ธรรมดา
แต่ดา วินชี และศิลปินท่านอื่นในสมัย Renaissance จะนิยมวาดพระเยซูเสมือนคนธรรมดา มีกิริยาปกติทั่วไป หรือ อยู่ในฉากหลังที่เป็นธรรมชาติ เป็นข้อสนับสนุนหนึ่งว่าในยุคนี้เริ่มมีความเชื่อในธรรมชาติมากกว่าพระเจ้า หรือ พระเจ้าของพวกเขาก็คือธรรมชาตินั่นเอง
2
6. เกลือที่หกบนโต๊ะ คือ สัญลักษณ์ของความโชคร้าย
1
แม้ว่านักวิชาการหลายคนสันนิษฐานว่าเกลือที่หกอยู่บนโต๊ะ ใกล้ๆกับข้อศอกของยูดาส หรือผู้ทรยศ แสดงถึงความโชคร้าย การสูญเสีย ตามความเชื่อในยุโรปสมัยนั้น ซึ่งนี่ก็อาจจะเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ที่ ดา วินชี วาดลงไปและต้องการจะสื่อความหมายก็ได้
7. ความหมายของอาหารบนโต๊ะ
นอกเหนือไปจากขนมปังที่แสดงถึงเนื้อ และไวน์ที่แสดงถึงเลือดของพระเยซูแล้ว ดา วินชีจงใจเลือกอาหารบางอย่างมาวางบนโต๊ะ และนั่นอาจแสดงความหมายบางอย่างอีกด้วย
นักวิชาการวิเคราะห์ความแตกต่างของการที่ ดา วินชี เลือกวาด ปลาไหล หรือ อาจจะเป็นปลาเฮอร์ริง แสดงความหมายกันคนละแบบเอาไว้ว่า
1
ถ้า ดา วินชีเลือกเป็นปลาไหล นั่นอาจจะหมายถึงความเชื่อและศรัทธาในพระเยซู
1
ทว่าถ้า ดา วินชี เลือกเป็นปลาเฮอร์ริง ในภาษาอิตาเลียน คือ Renga จะหมายถึง ผู้ปฏิเสธและไม่เชื่อในพระเจ้า
2
อย่างไรก็ดียังไม่มีข้อสรุปในเรื่องนี้
1
8. ภาพ The Last Supper ในปัจจุบัน แทบไม่หลงเหลือร่องรอยผลงานออริจินัลของ ดา วินชีแล้ว
ดังที่กล่าวไปว่าดา วินชี เลือกใช้วิธีวาดบนปูนแห้งแทนที่จะเป็นปูนเปียก ทำให้ภาพซีดและแตกอย่างรวดเร็ว ทำให้มีการบูรณะรูปวาดนี้อยู่หลายครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งในอดีต ด้วยเทคโนโลยีที่ยังไม่ดีพอก็อาจทำให้ภาพวาดยิ่งเกิดความเสียหาย
นอกจากนี้รูปวาดนี้ยังผ่านการถูกทำร้ายมาหลายสมัยมาก
ในปีค.ศ. 1652 อารามได้เจาะกำแพงทำประตู ซึ่งทำให้รูปวาดไม่สมบูรณ์ โดยส่วนเท้าของพระเยซูขาดหายไป
2
ถัดมาในช่วงคริสตศตวรรษที่ 18 นโปเลียนได้บุกเข้ามายังในพื้นที่ ยิงปืนใหญ่เข้ามา ทำให้ผนังและรูปวาดได้รับการกระทบกระเทือน และแตกร้าวมากขึ้น
ประตูที่ถูกเจาะทะลุกำแพง ทำให้ส่วนเท้าของพระเยซุหายไป (Credit: https://paintinginspired.blogspot.com/2018/09/the-last-supper-painting-leonardo-da.html)
ซ้ำร้ายช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง การระเบิดของฝั่งนาซีในบริเวณนี้ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนที่ส่งผลต่อรูปวาดเป็นอย่างมาก ทำให้ต้องมีการเร่งการบูรณะรูปวาดให้คืนเดิมในช่วงปลายคริสศตวรรษที่ 20 Panin Brambilla Barcilon และทีมงานได้ใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องรูปวาด และใช้รังสีอินฟราเรดเป็นตัวช่วย ในการคงสภาพรูปวาดไว้ให้ได้มากที่สุด การแต่งเติมสีและลายเส้น เป็นไปด้วยความระมัดระวังและความตั้งใจที่จะคงสภาพเดิมไว้ให้มากที่สุด
3
ทว่าเราก็คงต้องยอมรับความจริงว่าที่ผ่านมาภาพวาดเสียหายมากแทบไม่เหลือชิ้นดี การใส่สีสันและลายเข้าไปใหม่เป็นการช่วยให้รูปวาดนี้กลับมาดีขึ้น แต่ก็อาจทำให้ผลงานดั้งเดิมของดา วินชี แทบไม่หลงเหลือไว้ให้พวกเราได้เห็นแล้วในปัจจุบัน
9. The Last Supper มีฉบับก๊อปปี้จากศิษย์ของ ดา วินชี อยู่ในสภาพสมบูรณ์ในปัจจุบัน
ต้องขอบคุณศิษย์ของดา วินชี ที่ทำให้เรารู้ดีเทลของภาพวาดจริงที่ขาดหายไป
รูปวาดแรกเป็นของ Giampietrino เป็นภาพวาดสีน้ำมันวาดจากรูปวาดจริงของดา วินชีในสมัยนั้นเอาไว้ ซึ่งรูปวาดนี้คาดว่าวาดในช่วง ค.ศ. 1515 -1520 โดยวาดเท่ากับขนาดของจริง และลงดีเทลเหมือนกับทุกอย่างที่เป็นฉบับออริจินัลของดา วินชี
1
รูปนี้ทำให้เราได้เห็นดีเทลที่ขาดหายไปจากรูปจริงของ ดา วินชี เช่น เกลือที่หกบนโต๊ะ และ ส่วนเท้าของพระเยซูที่ขาดหายไป จากการสร้างประตูทับรูปวาดจริง
1
รูปนี้ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ Royal Academy of Arts ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
1
Credit: https://www.standard.co.uk/culture/london-s-favourite-artworks-da-vincis-last-supper-royal-academy-a4448956.html
นอกจากนี้ยังมีศิษย์ของ ดา วินชีที่ได้วาดภาพก๊อปปี้ไว้ คือ Andrea Solari ซึ่งรูปนี้ตั้งอยู่ที่ the Leonardo da Vinci Museum ที่ประเทศเบลเยี่ยม
1
และรูปที่สาม วาดโดย Casare da Sesto ซึ่งรูปนี้อยู่ที่ Church of Saint Ambrogio ที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
1
10. อยากดูรูปวาดของจริง ต้องซื้อตั๋วล่วงหน้าไปก่อนเท่านั้น
ข้อนี้อยากจะย้ำให้กับทุกคนว่า ใครที่อยากเห็นรูปวาดของจริงที่อยู่ที่มิลาน ต้องซื้อตั๋วเข้าชมล่วงหน้าก่อนอาจจะเป็นเดือนหรือหลายเดือน โดยปกติจะจำกัดจำนวนคนที่ 20-25 ต่อหนึ่งรอบ รอบนึงใช้เวลาเข้าชมประมาณ 15 นาทีเท่านั้น
1
ถ้าไม่อยากพลาด อย่าลืมซื้อตั๋วล่วงหน้าเข้าชมกันนะ
Dominican convent of Santa Maria delle Grazie, Milan, Italy (Credit: https://www.milan-museum.com/leonardo-last-supper-cenacolo.php)
เขียนและเรียบเรียงโดยทีมงานคิดก่อน ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาไปดัดแปลง แก้ไข และคัดลอก โดยไม่ได้รับอนุญาต
References:
โฆษณา