16 มิ.ย. 2021 เวลา 01:43 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ภาพถ่ายที่ฉลาดที่สุดในโลก
#ภาพประวัติศาสตร์
1
งานประชุม Solvay Conference เป็นการรวมสุดยอดนักฟิสิกส์และนักเคมีระดับโลกมาประชุมแลกเปลี่ยนความคิดกันที่ประเทศเบลเยียม
ภาพประวัติศาสตร์นี้ถูกถ่ายในปี ค.ศ. 1927 ในงานประชุมSolvay ครั้งที่ 5 ซึ่งหลายคนกล่าวกันว่าเป็นภาพถ่ายที่ฉลาดที่สุดในโลก เพราะในภาพมีนักฟิสิกส์และนักเคมีที่สร้างผลงานระดับโลกมากมาย
4
ก่อนจะไปดูกันว่ามีใครกันบ้าง
ลองดูภาพแล้วเช็คหน่อยว่ารู้จักนักวิทยาศาสตร์ในภาพนี้กันกี่คน
1
(แถวหน้าสุด จากซ้ายมาขวา)
Irving Langmuir ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีจากการบุกเบิก surface chemistry และโด่งดังจากผลงานด้านการจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอมและโมเลกุล
Max Planck ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์จากการบุกเบิกทฤษฎีควอนตัม เขาเป็นคนแรกที่เสนอแนวคิดเรื่องพลังงานที่ปลดปล่อยจากวัตถุดำมีค่าไม่ต่อเนื่อง (quanta)
Marie Curie รางวัลโนเบลสองครั้งในชีวิตทั้งสาขาฟิสิกส์และเคมี จากการศึกษาธาตุกัมมันตรังสี และการสกัดธาตุเรเดียมกับโพโลเนียมมาศึกษา
Hendrik Lorentz ได้รับรางวัลโนเบลจากการค้นพบและอธิบายปรากฏการณ์ Zeeman effect
2
Albert Einstein ที่มา : Wikipedia
Albert Einstein ผู้สร้างทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป รวมทั้งอธิบายปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริกจนได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์
1
Paul Langevin ผู้คิดค้น Langevin dynamics ที่ใช้ในการศึกษาระบบโมเลกุล
1
Charles-Eugène Guye มีงานวิจัยด้านไฟฟ้า แม่เหล็ก และการคายประจุของแก๊ส ซึ่งผลงานของเขาสนับสนุนทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษของไอน์สไตน์
Charles Thomson Rees Wilson รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์จากการประดิษฐ์ Cloud chamber ซึ่งใช้ในการตรวจจับเส้นทางการเคลื่อนที่ของอนุภาค
Owen Richardson รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์จากการศึกษา Thermionic emission นำมาซึ่งการค้นพบกฎของริชาร์ดสัน
(แถวกลาง จากซ้ายมาขวา)
Peter Debye รางวัลโนเบลสาขาเคมีผู้ศึกษาโครงสร้างโมเลกุลด้วย dipole moments
Martin Knudsen นักฟิสิกส์ผู้ศึกษาทฤษฎีจลน์ของแก๊สโดยเฉพาะระบบที่มีความดันต่ำ
William Lawrence Bragg ชายผู้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ตอนอายุ 25 ปีร่วมกับพ่อของเขาจากการศึกษาโครงสร้างผลึกด้วยการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์
Hendrik Anthony Kramers นักฟิสิกส์ผู้ศึกษาการกระเจิงของแสงโดยอิเล็กตรอนในอะตอม รวมทั้งการกระเจิงรูปแบบอื่นๆด้วย
Paul Dirac รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์จากการทำนายการมีอยู่ของปฏิสสสาร และผลงานด้านอื่นๆในทฤษฎีควอนตัมอีกเพียบ
Paul Dirac ที่มา : Wikipedia
Arthur Compton รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์จากการค้นพบการกระเจิงแบบคอมป์ตัน ซึ่งรังสีจะมีความยาวคลื่นเปลี่ยนไปหลังการชนอิเล็กตรอน
Louis de Broglie รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์จากการทำนายว่าอนุภาคมีสมบัติของคลื่นได้ตามสูตรของเขา
Max Born รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์จากการตีความฟังก์ชันคลื่นของชโรดิงเจอร์
Niels Bohr รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์จากการคิดโครงสร้างอะตอมที่มีลักษณะเป็นชั้นๆซึ่งอธิบายสเปกตรัมของไฮโดรเจนได้
(แถวยืน จากซ้ายมาขวา)
Auguste Piccard นักประดิษฐ์ผู้ออกแบบบอลลูนสำหรับศึกษาบรรยากาศโลกชั้นสูงๆ
Émile Henriot ศึกษาการแผ่รังสีของธาตุโพแทสเซียมและรูบิเดียมในรูปแบบกัมมันตรังสี
Paul Ehrenfest นักฟิสิกส์ผู้มีผลงานเด่นๆเป็นกระบุง ทั้งด้านทฤษฎีควอนตัม รวมทั้งเทอร์โมไดนามิกส์
Édouard Herzen เขาเป็นเข้าประชุมหลายครั้ง และเคยมีงานวิจัยอยู่บ้าง (คนนี้มีข้อมูลผลงานน้อย)
Théophile de Donder บิดาแห่งการศึกษากระบวนการแบบย้อนกลับไม่ได้ในเทอร์โมไดนามิกส์
Erwin Schrödinger ที่มา : Wikipedia
Erwin Schrödinger รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์จากการสร้างสมการคลื่นที่ใช้ในทฤษฎีควอนตัม
JE Verschaffelt นักฟิสิกส์คนหนึ่ง (หาผลงานไม่เจอแฮะ)
1
Wolfgang Pauli ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์จากการคิดหลักการกีดกันของเพาลีที่อธิบายว่าทำไมอิเล็กตรอนในอะตอมแบ่งเป็นชั้นๆ
Werner Heisenberg รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์จากการคิดหลักความไม่แน่นอนในทฤษฎีควอนตัม
Ralph Fowler ผู้มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการศึกษา Field electron emission (การปลดปล่อยอิเล็กตรอนด้วยการเหนี่ยวนำโดยสนามไฟฟ้า)
Léon Brillouin ผู้บุกเบิกการศึกษาฟิสิกส์สถานะของแข็ง และมีผลงานด้านทฤษฎีควอนตัม ด้วย
Leopold Park กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม สถานที่ถ่ายทำภาพประวัติศาสตร์ ที่มา : Wikipedia
โฆษณา