16 มิ.ย. 2021 เวลา 11:00
จิตรกรรมฝาผนัง
จิตรกรรมหรือภาพเขียนฝาผนังที่อยู่ในโบสถ์และวิหาร มักจะแสดงเรื่องราวที่น่าสนใจต่างๆ เช่น พุทธประวัติ วรรณคดี ซึ่งต้องการถ่ายทอดออกสู่สังคม นอกจากนั้นยังสะท้อนให้เห็นถึงการทำงานเป็นคณะอย่างมีระบบ
การเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง เป็นงานที่ใช้เวลามาก งานบางแห่งใช้เวลาหลายสิบปี ครูช่างซึ่งเป็นนายงานของการเขียนภาพ เป็นผู้วางโครงการของงานทั้งหมด ในขณะเดียวกันก็มีช่างเขียนที่เป็นลูกมือช่วยอยู่เป็นจำนวนมาก ครูช่างจะต้องสอนลูกศิษย์ เพื่อสืบทอดวิชาความรู้ให้สามารถทำงานแทนตนได้ จนกว่าจะแล้วเสร็จ
ดังนั้น การสร้างสรรค์งานจิตรกรรมฝาผนังแต่ละครั้ง จึงเปรียบเสมือนเป็นโรงเรียนศิลปะของตระกูลช่างต่างๆ โดยลูกศิษย์จะเริ่มต้น ด้วยการคอยปรนนิบัติรับใช้ครู ครูจะใช้งานทุกประเภท และสอนเทคนิคต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องเฉพาะของแต่ละสกุลช่าง ซึ่งแตกต่างกัน เช่น เทคนิคการบดสี ผสมสี การเตรียมพื้น จนศิษย์มีความรู้ความสามารถ ศรัทธา และมีฝีมือช่างที่ใช้การได้
เมื่อถึงเวลาสมควร ครูช่างจึงจะอนุญาตให้เริ่มเขียน เริ่มจับพู่กันได้ การสอนเป็นไปอย่างเป็นขั้นตอน จนศิษย์มีความรู้ความชำนาญ จึงให้แสดงฝีมือในบางส่วนของภาพเขียนฝาผนังได้ การสืบทอดตระกูลช่างของไทยแต่โบราณ ใช้กระบวนการนี้ทั้งสิ้น จึงเห็นได้ชัดว่า ช่างเขียนไทยโบราณ ซึ่งเขียนภาพแบบประเพณี มีความเคารพนับถือครูของตนมาก เพราะนอกจากศิษย์จะได้เรียนวิชาความรู้จากครูแล้ว ยังต้องได้รับการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด และคุณธรรมจากครูอีกด้วย
จิตรกรรมฝาผนัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
จิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ เป็นภาพวาดบนฝาผนังเกี่ยวกับเรื่องราวในมหากาพย์วรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์ อยู่บริเวณระเบียงคดรอบพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีจำนวนทั้งสิ้น 178 ห้อง
แสตมป์ชนิดราคา 75 สตางค์ พิเศษที่ตราประทับชัด เต็มวง ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2516 นำมาใช้งานหลังจากออกจำหน่ายวันแรก 13 วัน
สร้างขึ้นตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โดยมีการเขียนซ่อมแซมเพิ่มเติมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
1
ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้บูรณะในโอกาสครบรอบ 100 ปีกรุงรัตนโกสินทร์ ในการนี้ได้ทรงพระนิพนธ์โคลงประกอบภาพไว้จำนวนแปดห้อง เป็นโคลง 224 บท
จิตรกรรมฝาผนัง พระที่นั่งพุทไธสวรรย์
ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์เขียนขึ้นราวปี พุทธศักราช 2338 ซึ่งเป็นยุคเริ่มต้นของการสร้างบ้านสร้างเมือง ผู้คนล้วนอพยพมาจากฝั่งธนบุรีซึ่งเดิมก็เป็นชาวอยุธยา แม้แต่ช่างเขียนภาพก็เช่นเดียวกัน
การเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์จึงถือได้ว่าเป็นยุคฟื้นฟูงานจิตรกรรมไทย ซึ่งก่อนหน้านั้นมีแต่เรื่องของการรบทัพจับศึก การสร้างผลงานจึงมีลักษณะความอัดอั้นตันใจที่จะแสดงออกถึงฝีมือและการสร้างสรรค์ใหม่แต่แฝงด้วยคตินิยมสมัยเก่า
1
เนื่องจากสภาพอากาศและภูมิประเทศของประเทศไทยซึ่งเป็นเขตร้อนชื้นทำให้ภาพชำรุดไปตามกาลเวลา ประกอบกับเทคนิคนิยมในการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังของไทยที่สืบทอดกันมาเป็นการเขียนแบบปูนแห้ง ซึ่งแตกต่างจากเทคนิคการเขียนแบบปูนเปียกที่นิยมเขียนกันในแถบยุโรปซึ่งมีความคงทนมากกว่า ภาพจิตรกรรมฝาผนังพระที่นั่งพุทไธสวรรย์จึงเกิดความชำรุดอย่างรุนแรง แต่ก็ได้รับการบูรณะอย่างต่อเนื่องในยุคหลัง สันนิษฐานว่าเขียนซ่อมมากที่สุดในสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งปรากฏเทคนิคการเขียนภาพแบบตะวันตกทำให้ภาพมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แม้ว่าในความจริงศิลปะแบบดั้งเดิมของเรามีลักษณะพื้นฐานไม่สามารถเข้ากันได้กับศิลปะคลาสสิคแบบตะวันตก แต่ถือได้ว่าภาพที่เขียนซ่อมในสมัยรัชกาลที่ 4 ย่อมมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีอย่างน่าสนใจ
มีดวงตราไปรษณียากรที่พิมพ์ออกมา โดยใช้ภาพบนฝาผนังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มาพิมพ์ลงบนดวงแสตมป์
ชุดจิตรกรรมฝาผนัง ชุด 1
วันแรกจำหน่าย 17 กรกฎาคม 2516
พิมพ์ที่ The Government Printing Bureau, Ministry of Finance, Japan
แสตมป์ชุดจิตรกรรมฝาผนัง ชุด1
ชนิดราคา จำนวนพิมพ์และราคาปัจจุบัน (ยังไม่ใช้, ใช้แล้ว)
25 ส.ต. 1,000,000 ดวง 30 บาท 5 บาท
75 ส.ต. 4,000,000 ดวง 20 บาท 5 บาท
1.50 บาท 500,000 ดวง 90 บาท 55 บาท
2 บาท 500,000 ดวง 130 บาท 55 บาท
2.75 บาท 1,000,000 ดวง 100 บาท 30 บาท
3 บาท 500,000 ดวง 300 บาท 100 บาท
5 บาท 500,000 ดวง 480 บาท 230 บาท
6 บาท 1,000,000 ดวง 150 บาท 70 บาท
ภาพบนดวงแสตมป์
ชนิดราคา 25 สตางค์
ตอนท้าวชนกจัดริ้วขบวนรับนางสีดาเข้าเมืองเพื่อนำมาเลี้ยงเป็นบุตรี
ชนิดราคา 75 สตางค์
ตอนพิธียกศร
ชนิดราคา 1.50 บาท
ตอนองคตสื่อสาร และพังประตูเมืองลงกา
ชนิดราคา 2 บาท
ตอนสุครีพรับอาสาไปหักฉัตรทศกัณฐ์
ชนิดราคา 2.75 บาท
ตอนท้าวมาลีวราชตัดสินความ
ชนิดราคา 3 บาท
ตอนทศกัณฐ์เอาน้ำทิพย์พรมซากศพญาติที่ตายไปไห้พื้นขึ้นมา แล้วพระรามแผลงศรล้อมไว้
ชนิดราคา 5 บาท
ตอนพระรามรบกับทัพนาสูร
ชนิดราคา 6 บาท
ตอนเสร็จศึกแล้ว พระพรตยกพลกลับศรีอยุธยา
จากนั้นมาอีก 5 ปี ได้ออกแสตมป์ชุดที่ 2 ใช้ภาพบนฝาผนังพระที่นั่งพุทไธสวรรย์มาพิมพ์ลงบนดวงแสตมป์เช่นกัน
ชุดจิตรกรรมฝาผนัง ชุด 2
วันแรกจำหน่าย 15 มิถุนายน 2521
พิมพ์ที่ The Government Printing Bureau, Ministry of Finance, Japan
แสตมป์ชุดจิตรกรรมฝาผนัง ชุด2
ชนิดราคา จำนวนพิมพ์และราคาปัจจุบัน (ยังไม่ใช้, ใช้แล้ว)
2 บาท 1,000,000 ดวง 40 บาท 20 บาท
3 บาท 1,000,000 ดวง 70 บาท 30 บาท
5 บาท 1,000,000 ดวง 260 บาท 70 บาท
6 บาท 1,000,000 ดวง 130 บาท 70 บาท
ภาพบนดวงแสตมป์
ชนิดราคา 2 บาท เป็นภาพเจ้าชายสิทธัตถะประสูติ
ชนิดราคา 3 บาท เป็นภาพเจ้าชายสิทธัตถะทรงตัดพระเมาลี
ชนิดราคา 5 บาท เป็นภาพพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์
ชนิดราคา 6 บาท เป็นภาพพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน
ที่มาข้อมูล
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ 13 / เรื่องที่ 4 จิตรกรรมไทย / จิตรกรรมและศาสนา
ขอบคุณที่ติดตามครับ
โฆษณา