17 มิ.ย. 2021 เวลา 02:50 • ธุรกิจ
เวียดนาม ประเทศปราบเซียน ฟาสต์ฟูดทุกแบรนด์บนโลก
8
Starbucks คือเชนร้านกาแฟอันดับหนึ่งที่ประสบความสำเร็จระดับโลก
ไม่ว่าแบรนด์นี้ จะไปทำธุรกิจที่ประเทศไหน
เราก็มักจะเห็นว่าแบรนด์นี้ กลายมาเป็นที่นิยมแทบทั้งนั้น
แต่จริง ๆ แล้ว Starbucks ไม่ได้ประสบความสำเร็จทุกประเทศ
และหนึ่งในประเทศที่บริษัทล้มเหลว ก็คือ “เวียดนาม”
3
นั่นก็เพราะประเทศเวียดนาม ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศ
ที่ส่งออกเมล็ดกาแฟมากเป็นอันดับสองของโลกแห่งนี้
มีวัฒนธรรมการดื่มกาแฟเฉพาะตัว อย่างเช่นกาแฟดำใส่ไข่แดงและกาแฟดำใส่นมข้น
และคนเวียดนามยังชื่นชอบเมล็ดกาแฟพันธุ์โรบัสตามากกว่าอะราบิกาที่เหล่าเแบรนด์ต่างประเทศเลือกใช้กัน
10
นอกจากตลาดร้านกาแฟ ที่แบรนด์ดังระดับโลกเข้าไปเจาะตลาดได้ยากแล้ว
ในประเทศเวียดนาม เชนร้านอาหารฟาสต์ฟูดชื่อดัง ก็ต้องเจอกับความท้าทายเช่นกัน
แล้วอะไรกัน ที่ทำให้เวียดนามกลายเป็นตลาดปราบเซียน ของแบรนด์ดังระดับโลก ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
9
หากเรามาดู ร้านอาหารฟาสต์ฟูดที่ครองส่วนแบ่งตลาดได้มากที่สุดในโลก
อันดับที่ 1 McDonald's ครองส่วนแบ่งตลาด 21.4%
อันดับที่ 2 KFC ครองส่วนแบ่งตลาด 2.8%
อันดับที่ 3 Subway ครองส่วนแบ่งตลาด 2.8%
เชนร้านอาหารสัญชาติอเมริกันเหล่านี้ เป็นที่นิยมในหลายประเทศ
หนึ่งในนั้นก็คือภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรวมถึงประเทศไทย
1
แต่นั่นไม่ใช่สำหรับในประเทศเวียดนาม
1
ปี 1997 KFC เป็นเชนฟาสต์ฟูดของสหรัฐอเมริกาเจ้าแรก
ที่เข้ามาเปิดสาขาในประเทศเวียดนาม
หลังจากผ่านไปได้ 10 ปี KFC ยังคงมีเพียง 10 สาขา
6
ปี 2011 Burger King ก็เข้ามาตีตลาดแห่งนี้เช่นกัน
โดยตั้งเป้าจะขยายให้ได้ 60 สาขาภายใน 5 ปี
แต่ 10 ปีผ่านไป กลับเปิดได้เพียง 13 สาขา
8
ปี 2014 McDonald's ได้เข้าร่วมท้าชิงในประเทศนี้ด้วย
ซึ่งภาพในวันแรกที่เปิดให้บริการ ก็ไม่ทำให้เสียชื่อแชมป์โลก
เพราะชาวเวียดนามต่างมาเข้าคิวอย่างล้นทะลัก เพื่อลองชิมแฮมเบอร์เกอร์ยี่ห้อดัง
8
โดย McDonald's ก็ตั้งเป้าจะเปิดสาขาให้ได้ 100 สาขาภายใน 10 ปี
แต่จนถึงปัจจุบัน ซึ่งผ่านไปแล้ว 7 ปี กลับมีเพียง 23 สาขา
10
จากจำนวนสาขาที่คาดการณ์ไว้ของทุกแบรนด์ไม่เป็นไปตามกำหนด
คงพอเป็นเครื่องพิสูจน์ได้แล้วว่าการเข้ามาตีตลาดในเวียดนามของร้านฟาสต์ฟูดเหล่านี้ ทำได้ไม่ง่ายเลย
1
พอเรื่องเป็นแบบนี้ ทุกแบรนด์ต่างก็แก้เกมด้วยการปรับเมนูและรสชาติให้ถูกปากคนเวียดนามมากขึ้น
แต่ก็มีเพียง KFC ที่ทำได้สำเร็จ และขยายสาขาเพิ่มเติมจาก 10 สาขาจนมี 138 สาขาได้ในปัจจุบัน
15
ถ้าปัญหาคือรสชาติที่ไม่ค่อยถูกปาก แล้วเชนฟาสต์ฟูดสัญชาติเอเชีย
ที่วัฒนธรรมอาหารมีความใกล้เคียงกันมากกว่า สามารถครองใจชาวเวียดนามได้หรือไม่
2
เชนฟาสต์ฟูดจากเอเชียที่เป็นเจ้าตลาดในประเทศเวียดนาม มีอยู่ 2 แบรนด์
1
Jollibee เชนฟาสต์ฟูดจากประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งมาเปิดสาขาแรกที่เวียดนามในปี 1996
Lotteria เชนฟาสต์ฟูดของ Lotte จากประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งเริ่มมีที่เวียดนามในปี 1998
4
Cr. Jollibee
เมื่อสรุปจำนวนสาขาในเวียดนามของเชนฟาสต์ฟูดชื่อดังเหล่านั้น
Lotteria มีจำนวน 151 สาขา
KFC มีจำนวน 138 สาขา
Pizza Hut มีจำนวน 100 สาขา
Jollibee มีจำนวน 97 สาขา
McDonald's มีจำนวน 23 สาขา
Burger King มีจำนวน 13 สาขา
จะเห็นได้ว่ากลุ่มผู้ชนะของตลาดนี้ในด้านจำนวนสาขา
ก็คือเชนฟาสต์ฟูดจากเอเชียอย่าง Lotteria และ Jollibee
รวมไปถึง KFC ที่ปรับเมนูจนถูกปากชาวเวียดนามได้มากที่สุด
และ Pizza Hut ที่ดูแลโดยเครือ Yum! Brands เหมือน KFC
7
ถึงแม้จะเป็นผู้ชนะในการขยายสาขา
แต่พอเรามาดูผลประกอบการแล้ว
เกือบทุกแบรนด์จะประสบปัญหาการขาดทุน
7
เพราะแม้ว่ารายได้ของทั้ง Lotteria, Jollibee และ Pizza Hut จะเติบโตได้ดี
แต่ก็ยังไม่ถึงขั้นทำกำไรได้และยังคงขาดทุนอย่างต่อเนื่อง
2
ก็จะมีเพียง KFC ที่ทำกำไรได้ แต่ถ้ามาดูความสำเร็จในการขยายสาขา
ที่ประเทศเวียดนาม ก็ยังถือว่าทำได้น้อยกว่าในประเทศอื่นที่เข้าไปลงทุน
7
เพราะเมื่อรวมจำนวนสาขาของทั้ง 6 แบรนด์ที่กล่าวมา จะมีทั้งหมด 522 สาขา
ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่น้อยมาก และถ้าถามว่าน้อยแค่ไหน ลองเทียบกับในประเทศไทย
ที่จำนวนสาขาของ KFC เพียงอย่างเดียว ก็มีมากกว่า 800 สาขาแล้ว
10
Cr. Business Wire
แล้วอะไรกันที่ทำให้ร้านฟาสต์ฟูดชื่อดังระดับโลก
ไม่สามารถครองใจชาวเวียดนามได้ ?
เหตุผลอย่างแรก อาหารพื้นเมืองของเวียดนาม มีความรวดเร็ว ในการปรุงอยู่แล้ว ดังนั้นฟาสต์ฟูดจึงอาจไม่จำเป็นสำหรับคนเวียดนาม
6
“เฝอ” หรือก๋วยเตี๋ยวสไตล์เวียดนาม และบั๊ญหมี่ หรือแซนด์วิชเวียดนาม
เป็นสตรีตฟูดที่ได้รับความนิยมสูงมาก และที่สำคัญคือใช้เวลาทำน้อยมากอยู่แล้ว
นั่นจึงทำให้จุดขายของเชนฟาสต์ฟูดในเรื่องความเร็ว จึงไม่สามารถดึงดูดชาวเวียดนามได้
12
เหตุผลอย่างที่สอง อาหารพื้นเมืองของเวียดนาม ราคาสบายกระเป๋ากว่า
5
ประชากรเวียดนาม ยังมีสัดส่วนของผู้มีรายได้ปานกลางถึงสูงอยู่ไม่มาก
แต่ราคาอาหารจากเชนฟาสต์ฟูดเหล่านี้ ไม่ได้สอดคล้องกับรายได้และค่าครองชีพ
ด้วยจำนวนเงินเท่ากัน จึงสามารถซื้ออาหารพื้นเมืองได้ในปริมาณที่มากกว่าหลายเท่า
10
เหตุผลอย่างที่สาม ชาวเวียดนามมีวัฒนธรรมการกินแบบ แชร์กันเป็นกลุ่ม
3
แม้เฝอและบั๊ญหมี่จะเป็นสตรีตฟูดที่ชาวเวียดนามชื่นชอบ แต่ก็ไม่ได้เป็นตัวเลือกประจำ
เพราะชาวเวียดนามนิยมไปทานอาหารกันเป็นกลุ่ม แชร์อาหาร และพูดคุยกัน
ซึ่งอาหารแบบฟาสต์ฟูดจะเป็นสไตล์ต่างคนต่างกินเสียมากกว่า
ซึ่งไม่เข้ากับวัฒนธรรมของชาวเวียดนาม
7
เหตุผลเหล่านี้ ก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เชนฟาสต์ฟูดยักษ์ใหญ่ ไม่เป็นที่นิยมในเวียดนาม
ร้านอาหารในประเทศเวียดนาม ที่มีอยู่กว่า 540,000 ร้าน จึงเป็นร้านอาหารท้องถิ่นกว่า 80%
5
ซึ่งแนวโน้มเรื่องความนิยมของเชนฟาสต์ฟูดเหล่านี้ก็ยังคงเป็นขาลงอย่างต่อเนื่อง
โดยในช่วงปี 2016 ถึง 2018 จำนวนคนเวียดนามที่เข้าร้านฟาสต์ฟูดต่างชาติลดลง 31%
สวนทางกับจำนวนคนเข้าร้านอาหารท้องถิ่น ที่เพิ่มขึ้นถึง 70% ในช่วงเวลาเดียวกัน
4
และผลกระทบจากโควิด 19 ก็ยิ่งทำให้ผู้ประกอบการเชนฟาสต์ฟูดจากต่างชาติเหล่านี้
ต้องเจ็บหนักมากขึ้นไปอีก ขนาด Lotteria ที่มีจำนวนสาขามากที่สุด
ก็เผชิญผลขาดทุนอย่างหนัก จนมีข่าวว่าจะประกาศเลิกกิจการในประเทศเวียดนาม
แต่ในภายหลัง ผู้บริหารได้ออกมาปฏิเสธ
5
ก็ต้องติดตามกันต่อไปว่า
ผู้ประกอบการฟาสต์ฟูดระดับโลก จะฝ่าฟันวิกฤติ
และกลับมาสู้ต่อในตลาดปราบเซียน อย่างเวียดนามได้หรือไม่..
โฆษณา