17 มิ.ย. 2021 เวลา 03:24 • กีฬา
มาซิโดเนีย กับ นอร์ธ มาซิโดเนีย มันคือประเทศเดียวกันหรือเปล่า และถ้าเป็นประเทศเดียวกัน จะเปลี่ยนชื่อทำไม? และดราม่าที่อาร์เนาโตวิชไปด่าเอลิออสกี้ ว่า "กูจะล่อแม่ชาวแอลเบเนียของมึง" มีจุดเริ่มต้นตรงไหนกันแน่
3
วิเคราะห์บอลจริงจังจะอธิบาย 2 เหตุการณ์ที่ซ้อนกันอยู่ อย่างเข้าใจง่ายนะครับ
ก่อนจะไปอธิบายทั้ง 2 เรื่อง มีหนึ่งประเทศที่เราจำเป็นต้องเล่าแบ็กกราวน์ก่อน เพราะ เกี่ยวข้องกับเรื่องทั้งหมดโดยตรง ประเทศนั้นมีชื่อว่า "ยูโกสลาเวีย"
ยูโกสลาเวีย เป็นประเทศขนาดใหญ่ในยุโรปตะวันออก ประกอบด้วย 6 รัฐรวมกัน ได้แก่
- เซอร์เบีย
- โครเอเชีย
- บอสเนีย
- สโลวีเนีย
- มอนเตเนโกร
- มาซิโดเนีย
2
โดยมีจังหวัดย่อยสองจังหวัดคือ วอยโวดิน่า และโคโซโว
ในปี 1980 หลังจาก การเสียชีวิตของนายพลติโต้ ผู้นำของยูโกสลาเวีย กลุ่มรัฐต่างๆมีการเคลื่อนไหว เพื่อเรียกร้องขอเป็นเอกราช
คำถามคือ ทำไมต้องการเอกราช ทำไมแต่ละรัฐอยู่ร่วมกันไม่ได้
คำตอบคือ เพราะในยูโกสลาเวีย มีหลากหลายเชื้อชาติมาก ทั้งโครแอต เซิร์บ สโลวีเนียน เช่นเดียวกับศาสนา ที่มีทั้ คริสต์ และมุสลิม แต่ละรัฐมีความแตกต่างกันเกินไป มากเกินกว่าจะรวมประเทศกันได้
ด้วยความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ดังนั้นบรรดารัฐต่างๆ จึงไม่เห็นด้วยกับการรวมตัวกันเป็นยูโกสลาเวียต่อไป แต่แน่นอนว่ารัฐบาลยูโกสลาเวีย ที่นำโดยเซอร์เบีย ไม่ยอมให้ชาติอื่นแยกตัวออกไปง่ายๆ และเปิดฉากทำสงครามทันที
2
เราเรียกศึกนี้ว่า สงครามยูโกสลาฟ ถ้าหากใครเคยเล่นเกม This war of Mine เกมนั้นก็ได้แรงบันดาลใจมาจากสงครามนี้นั่นเอง
1
[ ดราม่ามาซิโดเนีย ]
ประเทศกรีซ ถือเป็นดินแดนแห่งอารยธรรมที่มีประวัติศาสตร์มากมาย
ด้วยความกว้างใหญ่ของประเทศกรีซ ภาครัฐจึงแบ่งการปกครองเป็นภูมิภาค (Region) เพื่อการดูแลบริหารที่ง่ายขึ้น
สำหรับภูมิภาคตอนเหนือสุดของประเทศ มีชื่อว่ามาซิโดเนีย โดยภูมิภาคนี้ มีความสำคัญเชิงประวัติศาสตร์ เพราะเป็นบ้านเกิดของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชด้วย
ในปี 1949 กรีซมีสงครามกลางเมืองเกิดขึ้น ทำให้ประเทศเพื่อนบ้านคือยูโกสลาเวีย ฉกฉวยโอกาส บุกยึดดินแดนส่วนหนึ่งของกรีซ ในเขตภูมิภาคมาซิโดเนียเอาไว้
1
ภูมิภาคมาซิโดเนียของกรีซ แต่เดิมมีพื้นที่ 59,890 ตารางกิโลเมตร แต่ยูโกสลาเวียยึดไป 25,713 ตารางกิโลเมตร (42%) จากนั้นเมื่อยึดได้แล้ว ยูโกสลาเวียก็สถาปนาเจ้าพื้นที่ดังกล่าว ในชื่อว่า "รัฐมาซิโดเนีย" และยกเป็น 1 ใน 6 รัฐของประเทศ
เท่ากับว่าตอนนี้ในโลก มี 2 มาซิโดเนียที่อยู่ติดกันคือ
2
1) ภูมิภาคมาซิโดเนียของประเทศกรีซ (34,177 ตารางกิโลเมตร)
2
2) รัฐมาซิโดเนียของประเทศยูโกสลาเวีย (25,713 ตารางกิโลเมตร)
นับจากการเปลี่ยนจากกรีซ มาเป็นยูโกสลาเวีย ประชาชนในรัฐมาซิโดเนียก็สร้างวัฒนธรรมใหม่ของตัวเองขึ้นมา เช่นเดียวกับศาสนา ก็ไม่ได้นับถือ กรีกออร์โธด็อกซ์อีกแล้ว แต่ไปนับถือคริสต์นิกายอีสเทิร์นออร์โธด็อกซ์ ผสมกับอิสลามแทน
1
และเวลาผ่านไปหลายสิบปี รัฐมาซิโดเนีย ก็ตัดขาดจากความเป็นกรีซไปอย่างเห็นได้ชัด
เข้าสู่ปี 1991 ในสงครามยูโกสลาเวีย รัฐมาซิโดเนีย ก็แสดงเจตจำนงขอเอกราชเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ และสุดท้ายก็ทำได้จริงๆ พวกเขากลายเป็นไท ก่อนจะตั้งชื่อประเทศของตัวเองว่า สาธารณรัฐมาซิโดเนีย (Repulic of Macedonia) โดยสหประชาชาติมีมติยอมรับมาซิโดเนียเป็นประเทศสมาชิก ในปี 1993
3
อย่างไรก็ตาม ดราม่าก็เกิดขึ้นจากจุดนี้ เมื่อฝั่งกรีซ ประกาศตัวอย่างชัดเจนว่า สาธารณรัฐมาซิโดเนียจะใช้ชื่อนี้ตั้งประเทศไม่ได้ เพราะเป็นการ "ขโมยวัฒนธรรม" ของกรีซ
1
ลองนึกภาพเปรียบเทียบ ถ้าหากรัฐฉานของประเทศเมียนมา ที่มีพรมแดนติดกับจังหวัดเชียงใหม่ของไทย วันหนึ่งประกาศเอกราชขอแยกเป็นประเทศ แล้วตั้งชื่อประเทศเป็น "ประเทศเชียงใหม่" ฝั่งไทยเราคงไม่แฮปปี้เท่าไหร่
1
เพราะมันดูเป็นการกลืนกินวัฒนธรรม แบบนี้ชาวโลกก็จะเข้าใจว่า ประวัติศาสตร์ทุกอย่าง ความเป็นเชียงใหม่ และชื่อเสียงที่สั่งสมมาหลายร้อยปี ก็จะถูกเคลมโดย "ประเทศเชียงใหม่ ที่ตั้งใหม่" ทั้งๆที่ ความจริง มันเป็นของ "จังหวัดเชียงใหม่ ของประเทศไทย"
6
ดังนั้นเมื่อรัฐมาซิโดเนียตั้งชื่อประเทศเป็น สาธารณรัฐมาซิโดเนีย กรีซจึงประกาศจุดยืนมาตลอดว่ารับไม่ได้ และจะไม่ยอมซัพพอร์ทใดๆ อย่างแน่นอน ใครจะไปรู้ อนาคตประเทศมาซิโดเนีย อาจจะมาเคลมพื้นที่บางส่วนของกรีซก็ได้
ในปี 2014 ประเทศมาซิโดเนีย สมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป (EU) ซึ่งการได้เข้าร่วม EU หมายถึงเศรษฐกิจของประเทศจะเจริญรุ่งเรืองขึ้น แรงงานจะเดินทางได้อย่างอิสระ ซึ่งชาติสมาชิกยุโรปส่วนใหญ่ก็เห็นชอบด้วย ยกเว้นกรีซ ที่ขัดขวางเต็มกำลัง และสุดท้ายแผนการเข้า EU ของมาซิโดเนียก็เลยล่มไป
สิ่งที่กรีซเรียกร้อง คือมาซิโดเนียจะใช้ชื่อนี้ไม่ได้ เพราะนี่มันชื่อภูมิภาคของกรีซ ที่มีประวัติศาสตร์มายาวนาน ซึ่งทั้ง 2 ประเทศก็ถกเถียงกันมาตลอด แต่สุดท้ายในปี 2017 โซรัน ซาเยฟ นายกรัฐมนตรีของมาซิโดเนีย จึงมีมติว่า โอเค เพื่อให้ทุกอย่างจบ งั้นมาซิโดเนียจะเปลี่ยนชื่อประเทศให้ และหวังว่ากรีซจะเลิกขัดขวางการเข้า EU เสียที
สุดท้าย มิถุนายน 2018 สภามาซิโดเนียจึงได้ข้อสรุปว่า จากนี้ไปจะเปลี่ยนชื่อเป็น นอร์ธ มาซิโดเนีย เพื่อความสบายใจของทุกฝ่าย
25 มกราคม 2019 เมื่อนอร์ธ มาซิโดเนีย ยอมเปลี่ยนชื่อประเทศแล้ว สภากรีซจึงประชุมกันว่า ทิศทางของประเทศจะเอายังไงต่อ จะเริ่มทำการค้า และสนับสนุนนอร์ธ มาซิโดเนียเข้า EU ได้หรือยัง
1
ส.ส.บางคนก็บอกว่า เฮ้ย ในคำว่านอร์ธ มาซิโดเนีย ยังมีคำว่ามาซิโดเนียอยู่นะ มันน่าจะใช้ชื่ออื่นไปเลยอย่างสิ้นเชิงมากกว่า แต่ ส.ส.อีกส่วนหนึ่งก็บอกว่า ประเทศเขาก็ยอมขนาดนี้แล้ว และแค่นี้ก็แสดงให้ประชาคมโลกได้เห็นแล้วว่า กรีซจะไม่ยอมให้ใครมากลืนวัฒนธรรมของตัวเอง ปัญหาดราม่าที่เกิดขึ้นมาเกือบ 3 ทศวรรษ น่าจะจบได้แล้ว
สุดท้ายการโหวตจึงเกิดขึ้น ว่ากรีซจะสนับสนุนนอร์ธ มาซิโดเนียหรือไม่ และฝ่ายสนับสนุนเอาชนะไปได้ด้วยคะแนน 153-146 เสียง
2
อเล็กซิส ซิปราส นายกรัฐมนตรีกรีซ กล่าวว่าจากนี้ไปจะยอมรับประเทศนอร์ธ มาซิโดเนีย และช่วยผลักดันให้เข้า EU ต่อไปในอนาคต ดราม่าเรื่อง "ชื่อประเทศ" ก็เลยยุติตรงนี้
2
นั่นคือสาเหตุ ที่ทำให้มาซิโดเนีย เปลี่ยนชื่อประเทศ เป็นนอร์ธ มาซิโดเนีย ในที่สุด และเอกสารทางการทุกอย่าง ก็ต้องเปลี่ยนใหม่หมดเลยเช่นกัน
1
เรื่องนี้ทำให้เราได้เห็นว่า บางครั้งประเทศเล็กๆ ที่เกิดใหม่ เพื่อจะทำให้ตัวเองอยู่รอดในเวทีโลก ก็ต้องยอมเสียสละในบางเรื่องเช่นกัน
2
[ ดราม่าอาร์เนาโตวิช ]
เรื่องนอร์ธ มาซิโดเนีย มาสู่เรื่องที่สอง คือดราม่าของมาร์โก อาร์เนาโตวิช ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ผ่านมา
ย้อนกลับไปตอนยังมีประเทศยูโกสลาเวียอยู่ จะมีหนึ่งจังหวัดย่อย ที่ชื่อ "โคโซโว" อยู่ทางทิศตะวันออก
โคโซโว เป็นเขตจังหวัดขนาดเล็ก มีพื้นที่แค่ 10,877 ตารางกิโลเมตร ไซส์เทียบเท่ากับจังหวัดขอนแก่นในไทย โดยในปี 1991 มีประชากรอยู่ราว 2 ล้านคน
4
81.6% ของชาวโคโซโวเป็นคนเชื้อสายแอลเบเนีย ส่วนใหญ่นับถืออิสลาม ส่วน 9.9% เป็นคนเซิร์บ
2
สงครามยูโกสลาฟในปี 1991 สิ้นสุดลงด้วยการที่แต่ละรัฐ แตกย่อยออกมาเป็นหลายๆ ประเทศ อย่างไรก็ตามเซอร์เบีย ไม่ยอมปล่อยให้โคโซโวแยกไปตั้งประเทศได้อย่างอิสระ โดยยืนยันชัดเจนว่า โคโซโวคือ 1 ในจังหวัดของเซอร์เบียต่างหาก
นั่นทำให้ฝั่งโคโซโว ไม่พอใจอย่างมาก เพราะประชากรส่วนใหญ่ของโคโซโว มีเชื้อสายแอลเบเนีย และเป็นมุสลิม ตรงข้ามกับเซอร์เบียที่เป็นคริสเตียน แถมวัฒนธรรมอะไรก็ไม่เหมือนพวกเขาเลย จะมาสั่งให้ไปรวมประเทศกันได้ไง จึงมีการเรียกร้องขอเอกราชแยกตัวเป็นประเทศอิสระเกิดขึ้น
และในปี 1996 มีการก่อตั้งกองกำลังปลดปล่อยโคโซโว (KLA) ขึ้น ซึ่งก็แน่นอนว่า ได้รับการสนับสนุนเบื้องหลังจากแอลเบเนีย
สุดท้ายจึงเกิดสงครามเต็มรูปแบบ ระหว่างเซอร์เบียกับโคโซโว ในปี 1998 โดยกองทัพเซอร์เบีย บุกมาไล่สังหาร ชาวโคโซโว เชื้อสายแอลเบเนีย เกือบ 1 หมื่นคน จนสุดท้ายกองกำลังนาโต้ ต้องเข้ามาแทรกแซง เซอร์เบียที่มีกำลังรบน้อยกว่า จึงไม่มีทางเลือก ต้องยอมสงบศึกในที่สุด
ในปี 2008 โคโซโวประกาศยกตัวเองเป็นประเทศ แต่ทางเซอร์เบีย และชาติพันธมิตรบางส่วน ก็ยังไม่ยอมรับ เพราะมองว่าโคโซโวคือหนึ่งในจังหวัดของเซอร์เบียต่างหาก
ดราม่าจากโคโซโว เป็นปมประเด็นที่แอลเบเนียกับเซอร์เบีย ขัดแย้งกันมาตลอดหลายปี ฝั่งแอลเบเนียก็มองว่า โคโซโวแทบไม่มีคนเชื้อสายเซอร์เบียอยู่เลย แล้วจะเป็นประเทศเซอร์เบียได้อย่างไร ทั้งโคโซโวมีแต่คนเชื้อสายแอลเบเนียทั้งนั้น ถ้าไม่ให้โคโซโวแยกประเทศ เอามารวมกับแอลเบเนียเลยยังจะถูกต้องเสียกว่า
แต่ฝั่งเซอร์เบียก็ไม่ยอม เพราะมองว่านี่คือดินแดนของพวกเขา และใครจะไปยอมปล่อยให้พื้นที่ของประเทศตัวเอง โดนแบ่งออกไปดื้อๆ แบบนั้น
1
ให้ลองนึกภาพ จังหวัดซินเจียงของจีน ที่นับถืออิสลาม ต่างจากคนส่วนใหญ่ในประเทศ ถ้าวันหนึ่งซินเจียง ประกาศขอแยกตัวเป็นเอกราช หรือไม่ก็ขอไปรวมกับคาซัคสถาน โดยบอกว่ามีวัฒนธรรมคล้ายกันมากกว่า ในมุมของจีน ก็คงยอมให้แยกไปไม่ได้เช่นกัน
จากจุดนี้ ความขัดแย้งจึงลากยาวมาตลอดหลายปี ไม่มีวี่แววว่าจะสิ้นสุดง่ายๆ คนแอลเบเนียเกลียดเซอร์เบีย ที่ไล่สังหารคนโคโซโวที่มีเชื้อสายแอลเบเนีย
และคนเซอร์เบียก็เกลียดแอลเบเนียที่เป็นตัวยุยงปลุกปั่น ส่งเสริมให้โคโซโวขอแยกประเทศ
3
ในฟุตบอลโลก 2018 เกมระหว่างสวิตเซอร์แลนด์ กับ เซอร์เบีย เกมนี้สวิสชนะไป 2-1 คนยิงให้สวิสคือ กรานิต ชาคา และ เซอร์ดาน ชาคิรี่ ซึ่งเป็นชาวแอลเบเนียอพยพทั้งคู่ พอยิงได้ ทั้งสองคนทำมือเป็นสัญลักษณ์รูปนกอินทรี ที่อยู่ในธงชาติของแอลเบเนีย เพื่อเป็นการเย้ยหยันเซอร์เบีย
ส่วนเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ในศึกยูโร เกมระหว่างออสเตรีย กับ นอร์ธ มาซิโดเนีย จบลงด้วยชัยชนะ 3-1 ของออสเตรีย โดยมาร์โก อาร์เนาโตวิช ตัวสำรองทีเด็ด ลงมาซัด 1 ประตู ให้ออสเตรียเอาชนะไปได้
ดราม่าของแมตช์นี้เกิดขึ้น เพราะอาร์เนาโตวิช เป็นลูกครึ่ง พ่อเซอร์เบีย-แม่ออสเตรีย และนัดนี้นักเตะของฝั่งนอร์ธ มาซิโดเนีย มีหลายคนที่มีเชื้อสายแอลเบเนียอยู่ หนึ่งในนั้นคือ เอ็ซยาน เอลิออสกี้ จากลีดส์ ยูไนเต็ด
1
ในระหว่างเกมการแข่งขัน อาร์เนาโตวิช ไปพูดใส่หน้าเอลิออสกี้ว่า "กูจะล่อแม่ชาวแอลเบเนียของมึง" ซึ่งหลังจบเกม เอลิออสกี้ แจ้งเรื่องนี้กับยูฟ่า เลยกลายเป็นเรื่องราวใหญ่โต จนมีการสืบสวน ว่าอาร์เนาโตวิช เหยียดเชื้อชาติหรือเปล่า
3
แต่สุดท้ายยูฟ่า สั่งลงโทษด้วยการแบน 1 นัด โดยระบุว่า อาร์เนาโตวิชใช้คำหยาบคาย แต่ประเด็นเรื่องการเหยียดเชื้อชาติไม่ได้กล่าวถึง
อาร์เนาโตวิชให้สัมภาษณ์ภายหลังว่า "มันเป็นช่วงเวลาแห่งอารมณ์ และผมอยากจะขอโทษเพื่อนๆนักเตะ นอร์ธมาซิโดเนีย และ แอลเบเนีย ที่ผมอยากยืนยัน คือผมไม่ใช่พวกเหยียดเชื้อชาติ ผมมีเพื่อนอยู่ทุกประเทศ ซึ่งคนที่รู้จักผมดี จะรู้ว่าผมไม่ใช่พวก Racist แน่นอน"
อาร์เนาโตวิชอาจรอดการโดนแบนเรื่องเหยียดเชื้อชาติ แต่มันก็ยากจะปฏิเสธได้ว่า เรื่องความแค้นของสองชาติ มันฝังอยู่ในความคิดของนักเตะเซอร์เบีย กับแอลเบเนียอยู่แล้ว และพอถูกกระตุ้นด้วยอะไรบางอย่าง ก็ระเบิดลงทันที
[ ความรู้ซ่อนอยู่ในกีฬา ]
เรื่องราวทั้งหมดของวันนี้ก็มีเท่านี้ครับผม
นี่คือดราม่าเชิงการเมืองที่ซ่อนอยู่ในยูโร 2020 ครับผม น่าสนใจดีเนอะ ว่าไหม ถ้าเจอประเด็นไหนอีก ก็จะเอามาแลกเปลี่ยนความเห็นกันอีกนะครับผม
ข้อสังเกตที่ผมเห็นคือ ในทัวร์นาเมนต์ใหญ่ๆ อย่างยูโร ฟุตบอลโลก หรือโอลิมปิก นอกเหนือจากเราจะได้ดูฟุตบอลแล้ว สิ่งที่เราจะได้เรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน คือประวัติศาสตร์ และเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วยครับ
7
ดังนั้นแอดมิน เลยเชื่อเสมอว่า ทัวร์นาเมนต์เหล่านี้มันมีคุณค่านะครับ แม้กับคนไทย ที่ไม่ได้ไปแข่งร่วมกับเขาก็เถอะ แต่มันก็เป็นช่องทางให้เรา หรือเด็กๆในประเทศเรา มีความรู้ในบางแง่มุมเพิ่มขึ้นเนอะ จริงไหม
2
#POLITICS
โฆษณา