Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
MakeMeWealth
•
ติดตาม
17 มิ.ย. 2021 เวลา 13:17 • หุ้น & เศรษฐกิจ
รู้จัก 401(K) กองทุนเกษียณของสหรัฐอเมริกา
สหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในระดับสูง ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีมูลค่าตามราคาตลาด หรือมารเก็ตแคปสูงที่สุดในโลก ส่วนรายงานอันดับมหาเศรษฐีโลกที่ออกมาในแต่ละปีก็มีเศรษฐีจากสหรัฐฯ ติดอันดับเป็นจำนวนมาก สิ่งเหล่านี้แสดงถึงความเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ อย่างปฏิเสธไม่ได้
ในวันนี้ เราจะมาเล่าเรื่องราวหนึ่งของมหาอำนาจทางเศรษฐกิจรายนี้ให้ฟัง เป็นเรื่องเกี่ยวกับรูปแบบการลงทุนเพื่อการเกษียณประเภทหนึ่งของประเทศนี้ มีชื่อเรียกว่า 401(K)
401K เป็นแผนการลงทุนเพื่อการเกษียณ ซึ่งชื่อเรียก 401K นี้ เป็นตัวเลขท้าย Section 401 ซึ่งเกี่ยวข้องกับกฎหมายภาษีอากรของสหรัฐฯ โดยผู้ลงทุนสามารถหักเงินเดือนเพื่อสะสมเข้าแผนการลงทุนนี้ได้ และสามารถเลือกแผนการลงทุนที่สนใจ ทั้งกองทุนรวมตราสารทุน ที่มีให้เลือกทั้งหุ้นขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก รวมทั้งกองทุนอิงดัชนี หรือกองทุนรวมตราสารหนี้ รวมถึงกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
ทั้งนี้ ผู้ลงทุนจะต้องคงเงินไว้ใน 401 (K) จนถึงอายุ 59 ปี กับอีกครึ่งปี ถึงจะสามารถถอนเงินได้ โดยไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ นอกจากนี้หากผู้ลงทุนคงเงินลงทุนไว้ในกองทุนจนถึงอายุ 72 ปี จะต้องมีการถอนเงินออกจากกองทุนนี้ในจำนวนที่กำหนด (เดิมก่อนปี 2020 กำหนดไว้ที่อายุ 70 ปี กับอีกครึ่งปี) โดยเงินที่สามารถใส่เข้าไปในแผน 401 (K) ได้อยู่ที่ 19,500 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี สำหรับผู้ที่อายุไม่เกิน 50 ปี และไม่เกิน 26,000 ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับผู้ที่อายุ 50 ปีขึ้นไป
หากผู้ลงทุนลาออกจากบริษัทที่มีแผน 401 (K) ไว้ จะมีทางเลือกด้วยกัน 4 ทาง คือ
1. ถอนเงินที่เก็บไว้ออกมา ซึ่งอาจจะเป็นทางเลือกที่ไม่ค่อยดี หากไม่มีเหตุจำเป็นจริงๆ เนื่องจากจะโดนเก็บภาษีหากการถอนนั้นเกิดขึ้นก่อนอายุ 59 กับอีกครึ่งปี
2. ย้ายไปไว้ใน IRA (หากมีโอกาสจะมาเล่าเรื่องราวนี้ในอนาคต)
3. คงเงินลงทุนไว้กับบริษัทเดิม หากพอใจกับแผนการลงทุนของบริษัทเดิม
4. ย้ายเงินลงทุนไปไว้กับบริษัทใหม่
คราวนี้ เรามีข้อมูลที่น่าสนใจยิ่งขึ้นเกี่ยวกับ 401 (K) มาเล่าให้ฟัง โดยจากการศึกษาของ Schwartz Center for Economic Policy Analysis (SCEPA) ในช่วงปี 2008 – 2009 ซึ่งเป็นช่วงที่สหรัฐฯ เกิดวิกฤติแฮมเบอเกอร์นั้น พบว่า กลุ่มผู้มีรายได้น้อย จะมีโอกาสประสบปัญหาทางการเงิน หรือที่เรียกว่า economics shocks สูงกว่ากลุ่มผู้ที่มีรายได้สูงกว่า และสิ่งหนึ่งที่พวกเขาเลือกทำ คือ การถอนเงินออกจาก 401 (K) ออกมาใช้จ่ายเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
แม้จะพอเข้าใจได้ในการเลือกใช้วิธีนี้แก้ปัญหา แต่ก็น่าเสียใดที่ทำให้เงินเก็บเพื่อการเกษียณของพวกเขาร่อยหรอลง ซึ่งผู้วิจัยแนะนำว่าการให้ความรู้ทางการเงิน (Financial Education) ถือว่ามีประโยชน์ แต่อาจจะยังไม่เพียงพอในสถานการณ์วิกฤตินี้ เครื่องมืออย่างเช่น GRA หรือบัญชีการันตีสำหรับการเกษียณ สามารถช่วยเรื่องนี้ได้ โดยรัฐบาลจะต้องสร้างบัญชีสำหรับการเกษียณขึ้นมา และมีการการันตีเงินต้น ผลตอบแทน รวมถึงมีการแบ่งเงินบางส่วนไปไว้กับประกันสังคม
อ่านมาจนถึงตอนนี้แล้ว หลายคนคงจะรู้สึกคุ้นๆ เกี่ยวกับแนวคิดของ 401 (K) เพราะเอาจริงๆ แล้ว หากเปรียบเทียบกับไทย 401 (K) ก็มีลักษณะคล้ายๆ กับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือรู้จักกันในชื่อ Provident Fund (PVD) นั่นเอง โดยการลงทุนลักษณะนี้เป็นการลงทุนระยะยาวเป้าหมายเพื่อมีเงินเพียงพอในการเกษียณ เช่นเดียวกับ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ซึ่งเป็นกองทุนรวมเพื่อการเกษียณภาคสมัครใจ
1
บางคนอาจจะรู้สึกว่าเราใส่เงินแค่หลักร้อยหลักพันในกองทุนนี้ทุกเดือน จะทำให้เรามีเงินทองมากมายพอถึงตอนเกษียณไหม เราควรเอาเงินเดือนหรือเงินเก็บไปเพิ่มสัดส่วนในการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงๆ เร็วๆ อื่นดีกว่ารึเปล่า
แน่นอนครับ ในโลกแห่งความเป็นจริง ย่อมมีคนที่สามารถสร้างผลตอบแทนระดับสูงได้ในระยะสั้น บางคนทำได้มากพอที่จะใช้ไปตลอดชีวิต แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่ทำได้แบบนั้น และคนที่เคยทำได้แบบนั้น ก็ไม่แน่ว่าบางครั้งก็มีโอกาสพลาดขาดทุนสูงได้เช่นกัน
ทั้งนี้ วัตถุประสงค์จริงๆ ของการลงทุนก็คือความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ซึ่งการลงทุนเปรียบได้กับการเดินทางระยะยาว ระหว่างทางอาจจะมีล้มบ้าง (ผลตอบแทนติดลบ) ในบางปี แต่หากเรามีวินัย มีการศึกษาหาความรู้มากพอ จัดสรรเงินลงทุนได้เหมาะสมกับตัวเอง ก็จะทำให้เรามีโอกาสประสบความสำเร็จ มีเปอร์เซ็นต์สูงขึ้นที่จะมีความมั่นคงทางการเงินในอนาคตได้ครับ
https://makemewealth.com/wealth-talk-401k/
2 บันทึก
2
11
2
2
11
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย