23 มิ.ย. 2021 เวลา 03:14
“พระพุทธรูปประจำ วันพุธ”
พระพุทธรูปประจำวันพุธนั้นมีอยู่ 2 แบบด้วยกัน
วันพุธกลางวัน จะเป็น “พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร”
วันพุธกลางคืน จะเป็น “พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์”
ขออ้างอิงตามวาระการออกแสตมป์ คือ วันพุธกลางวัน เป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรครับ
พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร บนดวงแสตมป์
มีลักษณะ เป็นพระพุทธรูปที่อยู่ในอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองข้างประคองบาตรราวสะเอว สันพระบาทวางชิดกัน
มีที่มาจากเมื่อครั้งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงปาฏิหาริย์ต่อหน้าพระประยูรญาติทั้งหลายด้วยการเหาะขึ้นไปบนอากาศ เพื่อให้พระญาติผู้ใหญ่ได้เห็นและลดทิฐิ จากนั้นได้ตรัสเทศนาเรื่องพระมหาเวสสันดรชาดกโปรดพระประยูรญาติ ครั้นเมื่อเสร็จ พระประยูรญาติต่างถวายนมัสการทูลลากลับสู่พระราชสถานที่พักของตน แต่ไม่มีใครทูลนิมนต์พระพุทธองค์ให้รับภัตตาหารเช้าเลย โดยเข้าใจเอาเองว่า คงเสด็จไปเสวยภัตตาหารในพระราชนิเวศน์
ในวันรุ่งขึ้นพระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพระญาณว่าพระพุทธเจ้าในอดีตเมื่อเสด็จมาประทับ ณ พระนครของพุทธบิดา ตามพุทธประเพณีได้เสด็จบิณฑบาตเพื่อโปรดมหาชน พระพุทธองค์จึงเสด็จออกบิณฑบาตตามพุทธประเพณี นับเป็นครั้งแรกที่ชาวเมืองกบิลพัสดุ์ได้เห็น พระบรมศาสดาทรงอุ้มบาตร เสด็จพระพุทธลีลาโปรดเวไนยสัตว์ เป็นการเพิ่มพูนความปีติ โสมนัส พระพุทธจริยาตอนนี้เป็นเหตุให้พุทธบริษัทสร้างพระพุทธรูป เรียกว่า ปางอุ้มบาตร นั่นเอง
บทสวดสำหรับคนเกิดวันพุธ
ปิ สัม ระ โล ปุ สัต พุท
ชื่อคาถาพระนารายณ์เคลื่อนสมุทร เด่นทางขจัดโรคภัย เสกปูนสูญฝี สวดวันละ 17 จบ
แสตมป์ดวงนี้ จัดพิมพ์ออกมาในวาระวันอาสาฬหบูชา
จำหน่ายวันแรก 13 กรกฎาคม 2546
พิมพ์ที่ Thai British Security Printing Public Company Limited, Thailand
จัดพิมพ์ชนิดราคา 3 บาทจำนวน 1,00,000 ดวง
ราคายังไม่ใช้ ดวงละ 30 บาท หากใช้แล้ว ดวงละ 5 บาท

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา