20 มิ.ย. 2021 เวลา 17:56 • สุขภาพ
"การเปิดประเทศอาจไม่ช่วยให้เศรษฐกิจไทยฟื้น แต่มีวิธีอื่นที่ช่วยได้จริง"
1
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีออกแถลงการณ์ด่วน ตั้งเป้าว่าประเทศไทยต้อง ‘เปิดประเทศ’ ได้ภายใน 120 วัน พร้อมจัดหาวัคซีน 105.5 ล้านโดส เพื่อเป็นการลดความเสียหายทางเศรษฐกิจและปัญหาปากท้องของประชาชน และเพื่อเร่งกระตุ้นการท่องเที่ยวให้ฟื้นกลับมาแม้จะต้องรับความเสี่ยงกันมากขึ้นก็ตาม
3
แต่แท้จริงแล้ว การแก้ปัญหาเศรษฐกิจเริ่มต้นจากการเปิดประเทศจริงๆหรือ?
2
ตามปกติเศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้หลังจากโรคระบาดหมดไป และประชาชนสามารถดำรงชีพต่อได้ตามปกติโดยไร้ความกลัวอย่างแท้จริง แต่ที่ผ่านมาเราได้เห็นตัวอย่างการไม่ปิดประเทศของนานาชาติที่ส่งผลเสียโดยตรงต่อเศรษฐกิจ
1
ยกตัวอย่างเช่น ประเทศสวีเดน ได้รับผลกระทบหนักกว่าประเทศอื่นในแถบสแกนดิเนเวีย แม้ว่าจะเน้นนโยบายสร้าง ‘Herd Immunity’ หรือ ภูมิคุ้มกันหมู่ และมีบรรทัดฐานทางสังคมซึ่งต่อต้านการสวมหน้ากาก ส่วนประชาชนที่ไม่อยากเสี่ยงรับเชื้อโควิดก็ต้องเลือกที่จะอยู่บ้าน
1
* ปัญหาหลักคือ * มีประชากรอยู่บ้านในจำนวนเยอะพอที่จะทำให้เศรษฐกิจล่ม แต่ไม่เพียงพอที่จะหยุดการระบาด...ฉะนั้นมันถูกต้องแล้วหรือที่เราจะตั้งความหวังไว้กับการเปิดประเทศเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ?
ทั้งๆที่แท้จริงแล้วเศรษฐกิจที่ตกต่ำเกิดจากภัยที่เชื้อโควิดยังสามารถแพร่กระจายอย่างรวดเร็วและรุนแรงในประเทศไทย *ไม่ใช่*เพราะนโยบายของรัฐที่จำกัดการเคลื่อนไหวทางสังคมและการเดินทางของประชาชน!
2
การเปิดประเทศสนับสนุนให้นักท่องเที่ยวเข้ามาในช่วงที่สถานการณ์การระบาดของเชื้อโควิด-19 ยังไม่ได้รับการแก้ไข เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าไทยกำลังมองข้ามการจัดการด้านสาธารณสุข และไม่เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสาธารณสุขและเศรษฐกิจอย่างถ่องแท้
2
ภาครัฐควรไตร่ตรองว่า ‘การเปิดประเทศ’ ระหว่างที่ไวรัสกำลัง ‘แพร่ระบาด’ รุนแรง จะเป็นการดึงดูดนักท่องเที่ยวที่คิดว่าโควิด-19 ไม่ได้เป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งหมายความว่าพวกเขาอาจไม่ใส่ใจและไม่ระมัดระวังตนเองดีพอ และเป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงการระบาดในประเทศไทยให้สูงขึ้นอีกด้วย นี่จะเป็นการทำร้าย ‘อุตสาหกรรมท่องเที่ยว’ ของบ้านเราให้เจ็บช้ำเพิ่มยิ่งขึ้น
5
หนทางเดียวที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยคือ มีมาตรการมุ่งเน้น ‘กำจัดโรคระบาด’ ในทุกพื้นที่อย่างที่ นิวซีแลนด์ จีน สิงคโปร์ เวียดนาม และออสเตรเลียกำลังทำอยู่ ซึ่งมาตรการได้ถูกปรับใช้และให้ผลน่าพึงพอใจ แม้แต่ละประเทศจะแตกต่างกันในด้านภูมิศาสตร์ จำนวนประชากร ทรัพยากร และการบริหารจัดการ
4
เพื่อที่จะยุติการระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย สิ่งที่เราควรทำคือ
1
1. สร้างการรับรู้อย่างทั่วถึงว่าการแพร่เชื้อของโควิด-19 นั้น กว่า 95% เป็นการแพร่กระจายผ่านทางอากาศ
3
2. บังคับให้มีการสวมหน้ากากในพื้นที่สาธารณะอย่างต่อเนื่อง
2
3. บังคับให้มีการระบายอากาศในอาคารและพื้นที่ปิด
3
4. วัดค่า CO2 (คาร์บอนไดออกไซด์) ในอาคารและพื้นที่ปิด เพื่อดูว่าอากาศถ่ายเทเพียงพอและมีความแออัดมากเกินไปหรือไม่ เพราะค่า CO2 บ่งบอกอัตราการเสี่ยงการติดโควิดจากผู้อื่นได้
2
5. ตรวจเชื้อโควิด-19 เองที่บ้านด้วยชุดทดสอบแบบรวดเร็ว (Rapid Antigen Test) ที่ราคาถูกและที่ประชาชนเข้าถึงได้ สามารถตรวจสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง เพื่อจะดูว่าตัวเองอยู่ในระยะแพร่เชื้อโควิดหรือเปล่า
6. มีสถานที่แยกกักกันและบริการด้านสุขภาพสำหรับผู้ที่ติดเชื้อ
7. กักตัวผู้เดินทางขาเข้าจากต่างประเทศทั้งหมดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด
8. จำกัดการเดินทางข้ามเขตที่มีเคสการระบาด เพื่อยับยั้งการแพร่กระจายของโควิด และรักษาพื้นที่อื่นๆที่ปลอดโควิด หรือ “พื้นที่สีเขียว” เอาไว้
1
9. ช่วยเหลือค่าใช้จ่ายขั้นพื้นฐานช่วงล็อคดาวน์ให้กับประชาชนโดยตรง รวมถึงการพักชำระหนี้และค่าเช่าสำหรับประชาชนทั่วไปและผู้ประกอบการ
1
10. สำคัญที่สุดคือ มีความตั้งใจจริงของประชาชน รวมถึงภาครัฐ​ ที่จะกำจัดโควิด-19 หมดไปจากประเทศ
เพียงเท่านี้ เราก็สามารถลดตัวเลขการติดเชื้อให้เหลือ “0” ภายในไม่กี่เดือนแน่นอน หากทุกคนตัดสินใจลงมือทำและปรับใช้วิธีเหล่านี้อย่างจริงจัง ดีกว่าการผ่อนปรนแบบครึ่งๆกลางๆที่เราเป็นอยู่แบบนี้ ซึ่งจะคงทำลายเศรษฐกิจและสาธารณสุขต่อไปอย่างไม่จบสิ้น
ติดตาม ZERO COVID THAILAND ได้ที่
1
อ้างอิง
ออกแถลงด่วน! นายกฯประกาศ เปิดประเทศให้ได้ใน 120 วัน โชว์จัดหาวัคซีนแล้ว 105.5 ล้านโดส
Elimination could be the optimal response strategy for covid-19 and other emerging pandemic disease (Baker et al, 2020)
Minimizing Economic Costs for Covid-19 (Siegenfeld & Bar-Yam, 2020)
SARS-CoV-2 elimination, not mitigation, creates best outcomes for health, the economy, and civil liberties (Oliu-Barton, 2021)
Social distancing laws cause only small losses of economic activity during the COVID-19 pandemic in Scandinavia (Sheridan et al, 2020)
Ten scientific reasons in support of airborne transmission of SARS-CoV-2 (Greenhalgh et al, 2021)
1
Exhaled CO2 as a COVID-19 Infection Risk Proxy for Different Indoor Environments and Activities (Peng & Jimenez, 2021)
Performance of an Antigen-Based Test for Asymptomatic and Symptomatic SARS-CoV-2 Testing at Two University Campuses - Wisconsin, September-October 2020 (Pray et al, 2021)
เผยแพร่ความรู้ หยุดแพร่ไวรัส
#zerocovidthailand #ซีโร่โควิดไทยแลนด์ #ประเทศไทยไร้โควิด #COVID19 #ฝ่าวิกฤตโควิด19
โฆษณา