Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
CastCowTH - รวมทุกเรื่องราวของพอดแคสต์
•
ติดตาม
22 มิ.ย. 2021 เวลา 02:20 • ความคิดเห็น
5 เทคนิคการเขียนสคริป Podcast ก่อนอัดจริง ด้วยเทคนิคการเขียนบทภาพยนตร์แบบ Story Mountain
#CastCowTips
สำหรับเพื่อนที่เริ่มอัดพอดแคสต์ ถ้าไม่ได้เป็นคนที่พูดเก่งหรือด้นสดเทพ คงจะต้องพึ่งพาการเขียนสคริปสักหน่อย แล้วเราจะเขียนสคริปอย่างไรให้การเล่าเรื่องของเรานั้นไหลลื่นและทำให้ผู้ฟังรู้สึกอยากติดตามฟังไปตลอดจนจบล่ะ?
ง่ายๆ ก็แค่เขียนสคริปในแบบภาพยนตร์ซะเลยสิ สิ่งที่พี่วัวจะมาแนะนำในวันนี้เป็น 5 องค์ประกอบการเล่าเรื่องภาพยนตร์ (Story Mountain) ที่จะช่วยสร้างความสนใจในการเล่าเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับทุกการทำคอนเทนต์ไม่เว้นแม้แต่ Podcast มาดูกันดีกว่าจะมีอะไรบ้างที่เพื่อนๆ ต้องแยกสคริปออกมาในพอดแคสต์ตอนหนึ่ง
1.) จะเล่าอะไร - Introduction
หากเป็นการเขียนบทภาพยนตร์ขั้นตอนนี้คือการปูตัวละคร ตั้งแต่ เวลา, สถานที่, สภาพแวดล้อม, เหตุการณ์ ฯลฯ แต่หากนำมาปรับใช้กับ Podcast เราจะต้องบอกให้ผู้ฟังได้รู้ก่อนว่าสิ่งที่เราจะเล่าในตอนนั้นๆ คืออะไร เช่น 10 วิธีเพิ่มสมาธิการอ่านหนัง, รีวิวหนังใหม่ในเดือนมิถุนายน เป็นต้น หลักสำคัญคือต้องให้ผู็ฟังรู้ก่อนว่าเขากำลังจะฟังเรื่องอะไรจากเรา อีกทั้งขั้นตอนนี้จะทำให้เราได้ชื่อตอนของพอดแคสต์ตอนนั้นอีกด้วย
2.) การบอกถึงปัญหา - Suspense
ถ้าเป็นในหนังขั้นตอนที่ 2 นี้ก็คือการสร้างปัญหาให้กับตัวละครเพื่อให้เกิดการการแก้ปัญหาซึ่งก็คือเป้าหมาย (Goal) ของเรื่อง หากนำมาใช้กับ Podcast จะต่างออกไปเล็กน้อย เราจะเขียนเนื้อหาที่เป็นปัญหาที่การเล่าเรื่องของเราในครั้งนี้จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ เช่น “หนังกองเก่ายังอ่านไม่หมดจะซื้อกองใหม่อีกแล้ว” ซึ่งหัวข้อเริ่มต้นก็จะเป็น 5 วิธีเคลียร์หนังสือที่ดองเอาไว้ พร้อมซื้อใหม่ด้วยความรู้ที่แน่นกว่าเดิม เป็นต้น
3.) สร้างทางเลือกให้ผู้ฟัง - Crisis
ในภาพยนตร์ขั้นตอนนี้ผู้เขียนจะให้ทางเลือกแก่ตัวละครเพื่อให้เกิดการวิเคราะห์ต่างๆ และนำไปสู่จุด Climax แต่หากนำมาประยุกต์กับ Podcast มันก็คือการบอกข้อมูลหรือเนื้อหาของข้อ (1) ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ Podcaster พบเจอมาเองแล้วอยากแนะนำ หรือเป็นผลวิจัยที่ใช้ในการแก้ปัญหาข้อ (2) ก็จะเป็นความรู้ที่มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
4.) กระตุ้นให้ผู้ฟังตัดสินใจ - Climax
เมื่อมาถึงจุดนี้ถ้าเป็นบทหนังมันคือขั้นตอนที่ตัวละครเลือกเส้นทางบางอย่างเพื่อไปสู่ Goal ที่ตั้งเอาไว้ แต่ใน Podcast เราไม่จำเป็นต้องไปบังคับให้ผู้ฟังเลือกทางใดทางหนึ่ง แต่เราควรจะแนะนำถ้าเป็นประสบการณ์บางอย่างของตัวเองยิ่งดี เพราะจะทำให้ผู้ฟังได้รับรู้ถึงตัวอย่างได้ง่าย และเลือกที่จะเชื่อในบางหัวข้อ หรือก็คือเป็นการเลือกทางที่ผ่านการคิดของตัวเองมาแล้วว่าทางนี้เหมาะกับพวก
5.) เล่าผลลัพธ์จากประสบการณ์ - Conclusion
ความจริงแล้วข้อนี้จะรวมอยู่ในข้อ (4) เลยก็ได้ถ้าเป็นในมุม Podcast เพราะมันก็คือการบอกผลที่เกิดขึ้นจากสิ่งที่ได้เล่ามาตั้งแต่ต้น แม้ผู้ฟังจะยังไม่เคยลองทำตามหรือมีประสบการณ์ร่วม แต่การบอกผลลัพธ์จากประสบการณ์ของผู้เล่า จะทำให้ผู้ฟังมั่นใจที่จะนำเนื้อหาเหล่านั้นไปปรับใช้มากขึ้นนั่นเอง หรือถ้าเป็นในภาพยนตร์ฉากนี้ก็คือตอนจบที่เราต้องลุ้นกันว่ามันจะจบแบบไหน จะดราม่าหรือแฮปปี้ นั่นเอง
พี่วัวการันตีเลยว่า ถ้าในสคริปของเพื่อนๆ มีองค์ประกอบเหล่านี้ครบทุกข้อ พอดแคสต์ตอนนั้นจะออกมาแบบมีเส้นเรื่องสามารถดึงคนดูได้ตั้งแต่ต้นยันจบ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับวิธีการพูดสไตล์เสียงที่ใช้นำเสนอด้วยนะ สิ่งสำคัญคือเราต้องรู้ว่าเรื่องที่เราจะเล่านั้นเรารู้หรืออินกับมันจริงๆ หรือไม่ ถ้ายังรู้สึกว่าไม่ได้รู้เรื่องนั้นมากพอพี่วัวแนะนำให้ไปอ่านจนมันอยู่ในสมองเราในระดับหนึ่งก่อน เพื่อที่เราจะได้นำมาเล่าได้อย่างไหลลื่นมากขึ้น
#CastCowTH #CastCow #Podcast #Scriptwriting #Podcaster #MovieWriting #Cinema #StoryMountain
2 บันทึก
4
2
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย