21 มิ.ย. 2021 เวลา 13:48 • บันเทิง
มากกว่าท่าเต้นแต่มันคือศิลปะ | มาทำความรู้จักกับ “Choreography”
1
ที่เป็นการประกอบกันของ”ท่วงท่า-ทำนอง-บทเพลง-อารมณ์”
1
การเต้นใครๆก็เต้นได้จะสลับหน้าสลับหลัง สเต็ป 1-2-3-4 แต่หารู้ไม่ว่าถ้าพอจะเอาจริงจังกับการเต้นนั้น ศาสตร์ของการเต้นไม่ใช่แค่การประกอบของ”อะไรก็ได้”
เพราะการเต้นนั้นไม่ใช่คำจำกัดความของเพียงแค่”ท่าทาง”อย่างเดียวและอีกนัยนึงเพลงก็ไม่ใช่เพียงแค่”บีท และ ทำนอง”อย่างเดียว
การที่จะประกอบท่าทางที่จะต้องการสื่อออกมาในบทเพลงนั้นตัวแปรสำคัญนั้นก็คือ
“อารมณ์”ซึ่งจะเป็นการตอบความหมายว่า “เราจะเต้นเพื่อสื่อถึงอารมณ์แบบนี้ได้อย่างไร”
พูดง่ายๆนั้นก็คือเป็น”สไตล์”นั้นเอง
จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดchoregraphyคือ”การออกแบบท่าเต้น”นั่นเอง
ศิลปินส่วนมากโดยเฉพาะแนวเพลงที่ต้องใช้การร้อง+เต้น จะมีการใช้”choreographer” หรือผู้ออกแบบท่าเต้นให้ซึ่งเพื่อให้เกิดรูป แบบในการเต้นไปในทิศทางเดียวกันและเป็นการกันไม่ให้เกิดความสับสนโดยเฉพาะยิ่งเมื่อเต้นเป็นทีม
1
ซึ่งผู้ออกแบบท่าเต้นต้องมีการทำการบ้านที่ดี,เรียนรู้เพลงที่จะออกแบบท่าเต้นได้เป็นอย่างดี,สามารถสื่อออกมาตามความหมายของบทเพลงโดยท่วงท่าสอดคล้องกับทำนองของเพลง
เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะทำให้เกิดรูปแบบของท่าเต้นมีปัจจัยจากสิ่งนี้
📌มาตราส่วนของท่าเต้นให้สอดคล้องกับบีทเพลงและอารมณ์ของเพลงที่จะสื่อ ไม่ใช่ว่าเป็นเพลงช้าแต่ออกสเต็ปเท้าไฟหรือยังไม่ใช่ท่อนฮุคแต่ก็เต้นซะพีคแล้ว เพราะฉะนั้นต้องมีความสอดคล้องกันเหมือนเป็นการเล่าเรื่องให้ผู้ที่ได้รับชมเห็นผ่านท่วงท่า
2
📌เข้าใจบทเพลงและเนื้อหาเป็นอย่างดี หรือที่เรียกกันว่า “Mood n tone” รู้ว่าอารมณ์เพลงมีประมาณใหน สนุก เศร้า รัก โกรธ คึกคัก
📌เพิ่มเติมความเป็นตัวของตัวเองเข้าไปเพื่อไม่ให้ซ้ำกับต้นแบบหรือถ้าต้นแบบไม่มีการเต้นเป็นตัวอย่างแล้วก็ให้ใช้ความเป็นตัวของตัวเองเป็น reference
📌การเต้นเหมือนเป็นการเล่าเรื่องเล่าผ่านท่วงท่าในการเต้นสิ่งนึงที่สำคัญคือต้องมีลักษณะเฉพาะของตัวเองหรือ”Character” เพื่อเป็นตัวเชื่อมโยงเรื่องเล่าจากเพลงผ่านcharacter ของตัวเอง
📌การมีส่วนร่วมนั้นสำคัญ การเต้นไม่ใช่ว่าจะเต้นคนเดียวแต่หลักๆแล้วจะต้องทำให้เกิดมีการส่วนร่วมกันด้วยซึ่งการออกแบบท่าเต้นไม่ใช่ว่าทุกคนที่เต้นจะเต้นท่าเดียวกันซ้ำๆซึ่งในบางครั้งท่าเต้นอาจออกแบบมาเพื่อให้ทุกคนในทีมมีส่วนร่วมกัน อาทิเช่น จับเซนเตอร์หรือคนที่เต้นตรงกลาง มาเต้นโซโล่แยกและคนอื่นเต้นเป็นบริบท
📌ท้ายที่สุดความมั่นใจในตนเองเป็นสิ่งสำคัญ จะเป็นไปไม่ได้เลยถ้าจะเกิดสิ่งใหม่ๆโดยไม่มีการคิดริเริ่มและความมั่นใจในตนเองเป็นบ่อเกิดในความแปลกใหม่
ปัจจุบันมี studio จำนวนมากที่เป็น choreography ไปในตัว นอกจากออกแบบท่าเต้นแล้วยังมีการสอนอีกด้วยหรือถ้าคนที่ไม่ได้เอาจริงเอาจังขนาดนั้นก็ถือส่าเป็นรูปแบบนึงของการออกกำลังกาย
โดยอย่างประเทศไทยเรามีสตูดิโอชื่อดังที่เมื่อปีก่อนๆออกมาเป็นไวรัลกันในเพลง
“เมาคลีล่าสัตว์” เวอร์ชั่นแดนซ์โดย Inner studio
และนี้ก็คือที่มาของ”ศิลปะในการเต้นนั่นเอง”
และเพื่อนๆพอได้อ่านแล้วสนใจจะลองหัดเต้นดูใหม😁 โดยลำพังแอดเองก็เต้นเพื่อเป็นการออกกำลังกายอยู่แล้ว🥰
ถ้าหากใครชอบคอนเทนต์นี้รบกวนกด 📌ติดตาม เพื่อเป็นกำลังใจให้ด้วยน้าสา
โฆษณา