Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
THE STESBOOKS
•
ติดตาม
21 มิ.ย. 2021 เวลา 13:54 • สุขภาพ
WHO (องค์การอนามัยโลก) ได้มีความวิตกกังวลถึงเรื่องที่ว่า โควิด-19 สายพันธุ์เดลตา(อินเดีย) นั้นสามารถมีโอกาสในการระบาดเป็นวงกว้างในหลายเป็นเทศทั่วโลก และยังได้มีการรายงานอีกว่าคนในประเทศอังกฤษที่เป็นผู้ติดเชื้อรายใหม่ทั้ง 99% ติดจากสายพันธุ์เดลตา(อินเดีย)ทั้งหมด โดยยังเปิดเผยอีกว่ามีคนที่ติดเชื้อจากสายพันธุ์เดลตา(อินเดีย)เพิ่มขึ้นอีก 33,630 คน ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้การระบาดของโควิดสายพันธุ์เดลตา(อินเดีย)ในครัวเรือนมีมากกว่าสายพันธุ์เดิมอย่างสายพันธุ์อัลฟา(อังกฤษ)ที่ 65%
ก่อนอื่นเรามาวิเคราะห์ความรุนแรงของสายพันธุ์โควิดที่อยู่ในประเทศไทยหลักๆกัน โดยมี 3 สายพันธุ์คือ 1. อัลฟา(อังกฤษ) จุดแข็งของมันคือสามารถแผร่กระจายเชื้อได้รวดเร็ว โดยปัจจุบันมีการแผร่เชื้อมากกว่า 138 ประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นโควิดสายพันธุ์หลักๆที่มีการแผร่เชื้อเป็นจำนวนมาก 2. เบตา(แอฟริกาใต้) จุดแข็งของมันคือเป็นเชื้อที่มีความรุ่นแรงแต่จุดอ่อนนั่นก็คือมันแผร่เชื้อได้ช้ากว่าอีกสองสายพันธุ์ 3. เดลตา(อินเดีย) จุดแข็งของมันคือสามารถแผร่เชื้อได้รวดเร็วมาก เร็วกว่าสายพันธุ์อัลฟา(อังกฤษ)ถึง 60%
จากงานวิจัยของศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่าวัคซีนที่เรามีอยู่ในปัจจุบัน เมื่อเราฉีดวัคซีนครบโดส (ฉีด2เข็ม) สามารถป้องกันได้มากกว่า 70% สำหรับโควิดสายพันธุ์อัลฟา(อังกฤษ) ส่วนสายพันธุ์เบตา(แอฟริกาใต้)เนื่องจากสายพันธุ์เบตา(แอฟริกาใต้)นั้นมีความดื้อต่อวัคซีน เมื่อฉีดครบโดสก็ยังไม่สามารถป้องกันเชื้อได้อย่างประสิทภาพ และสุดท้ายสายพันธุ์เดลตา(อินเดีย)พบว่าวัคซีนยังสามารถป้องกันได้ดีถึงแม้จะมีการแผร่ระบาดที่รวดเร็ว
ทางเยอรมันนีได้มีการตื่นตัวในเรื่องการแผร่ระบาดที่รวดเร็วของโควิดสายพันธุ์เดลตา(อินเดีย)ที่เพิ่มขึ้นมาเป็นจำนวน 6% ในระยะเวลาที่รวดเร็ว การตื่นตัวนี้ไม่ได้เป็นแค่การตื่นตัวของเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลตา(อินเดีย)เท่านั้นเพราะยังต้องตื่นตัวในเรื่องของแจกจ่ายวัคซีนและการบริหารจัดการมาตรการป้องกันโควิดในประเทศ
เรามาดูกันว่าได้รับการอนุมัติจากทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)
- วัคซีน AstraZeneca โดยบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า(ประเทศไทย) จำกัด และที่ผลิตในประเทศโดย บริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด
- วัคซีน Sinovac โดยบริษัท ซิโนแวค นำเข้าโดยองค์การเภสัชกรรม
- วัคซีน Johnson & Johnson โดยบริษัท แจนเซ่น-ซีแลค จำกัด
- วัคซีน Moderna โดยบริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด
- วัคซีน Sinopharm โดยบริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด
อยู่ในระหว่างการประเมินคำขอขึ้นทะเบียน
- วัคซีน Covaxin โดยบริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด
- วัคซีน Sputnik V โดยบริษัท คินเจน ไบโอเทค จำกัด
- วัคซีน COMIRNATY โดยบริษัท ไฟเซอร์ จำกัด
ต่อไปนี้คือข้อความที่ได้โพสต์ไว้เกี่ยวกับผลงานวิจัยของคุณ Anan Jongkaewwattana ที่เกี่ยวกับการทดลองซีรั่มซิโนแวค 2 เข็ม ที่มีผลกระทบต่อเชื้อโควิดสายพันธุ์ดั้งเดิม Wuhan และ สายพันธุ์ Delta ขอบคุณที่มาจาก
https://www.facebook.com/anan.jongkaewwattana
" ผลการทดสอบซีรั่มซิโนแวค 2 เข็มกับสไปค์สายพันธุ์เดลต้า...
ข้อมูลนี้เป็นผลการทดลองที่ผมศึกษาโดยใช้ตัวอย่างซีรั่มของบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับวัคซีน CoronaVac ของ บริษัท Sinovac ครบ 2 เข็มเป็นเวลา 1 เดือน โดยใช้ตัวอย่างในการศึกษาจำนวน 23 ตัวอย่าง เปรียบเทียบความสามารถของซีรั่มจำนวนดังกล่าวในการยับยั้งไวรัสตัวแทนที่สร้างให้มีการแสดงออกของโปรตีนสไปค์ของไวรัสโรคโควิด-19 สายพันธุ์ดั้งเดิม (Wuhan) และ สายพันธุ์ B.1.617.2 (Delta) ด้วยวิธีมาตรฐานเรียกว่า Pseudovirus Neutralization assay คือ การตรวจปริมาณแอนติบอดีชนิด NAb ที่สามารถยับยั้งการเข้าสู่เซลล์ของไวรัสตัวแทนดังกล่าว ค่าที่อ่านได้ (แกนตั้ง) PVNT50 คือ ค่าที่สามารถเจือจางซีรั่มไปจนสามารถยับยั้งไวรัสเข้าสู่เซลล์ได้ 50% เช่น 100 จะหมายถึง ซีรั่มเจือจางไป 1 ใน 100 ยังสามารถยับยั้งได้อยู่ถ้ามากกว่านั้นจะยับยั้งไวรัสเข้าเซลล์ได้ไม่ถึง 50% ขณะที่ 10 จะหมายถึง ซีรั่มเจือจางไปเกิน 1 ใน 10 ก็ไม่สามารถยับยั้งไวรัสได้ 50% แล้ว สรุปแบบง่ายๆก็คือ ค่ายิ่งสูงแสดงว่าแอนติบอดีชนิด Nab ที่ยับยั้งไวรัสได้จะยิ่งเยอะ
เมื่อนำซีรั่มมาทดสอบกับไวรัสตัวแทนที่มีสไปค์ของสายพันธุ์ดั้งเดิม จะเห็นว่า ซีรั่มส่วนใหญ่ยังสามารถยับยั้งไวรัสได้พอสมควร ถึงแม้ไม่สูงมากแต่ยังอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับที่ตีพิมพ์มา แต่เมื่อทดสอบกับไวรัสสายพันธุ์เดลต้า จะเห็นว่าระดับของ NAb ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ มีหลายตัวอย่างที่ไม่สามารถตรวจวัด NAb ได้ ซึ่งบอกว่าสไปค์ของสายพันธุ์เดลต้าสามารถหนีภูมิของ Sinovac 2 เข็มได้มากพอสมควรเลยทีเดียว
ผมลงค่า Convalescent ซึ่งเป็นซีรั่มของผู้ป่วยหนักที่พบว่าส่วนใหญ่มี Nab ที่สูงพอในการป้องกันเชื้อกลายพันธุ์ได้ทุกชนิดเปรียบเทียบให้ดูด้วย จะเห็นว่าระดับ Nab แตกต่างกันชัดเจน
ข้อมูลนี้เป็น Data ที่ได้จากแล็บผมซึ่งใช้ตัวอย่างอาจจะไม่มาก ซึ่งอาจจะคลาดเคลื่อนได้ จึงอยากให้ห้องแล็บอื่นๆที่มีตัวอย่างซีรั่มเยอะๆลองทดสอบดูเช่นเดียวกัน เพราะข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันการระบาดของสายพันธุ์เดลต้าได้...ใจลึกๆผมหวังว่าข้อมูลนี้จะไม่ถูกต้อง เพราะ ไม่ใช่ข่าวดีเท่าไหร่ถ้าผลออกมาแบบนี้จริงๆ "
ฝากกดติดตามทุกๆช่องทางเพื่อรับรับข่าวสารที่น่าสนใจ
Facebook
https://www.facebook.com/Stesbooks
Twitter
https://twitter.com/StesbooksW
Instagram
https://www.instagram.com/stesbooks/
Blockdit
https://www.blockdit.com/stesbooks
E-mail
stesbooks@gmail.com
บันทึก
1
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
The News World
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย