24 มิ.ย. 2021 เวลา 00:00 • ประวัติศาสตร์
วันที่ 24 มิ.ย. 2485 จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น เป็นประธานพิธีเปิด ‘อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ’
บริเวณวงเวียนบริเวณแยกสนามเป้า อยู่กึ่งกลางระหว่างถนนพหลโยธิน ถนนราชวิถี และถนนพญาไท
‘อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ’ สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์เทิดทูนวีรกรรมของทหาร ตำรวจ และพลเรือน ผู้สละชีวิตในสงครามระหว่างไทยและฝรั่งเศส กรณีพิพาทอินโดจีน หรือ สงครามอินโดจีน
กรณีพิพาทดังกล่าวสืบเนื่องย้อนกลับไปช่วงทวีปยุโรปกำลังรบติดพันในสงครามโลกครั้งที่ 2
ฝรั่งเศสกำลังล่าอาณานิคมอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไทยกับฝรั่งเศสได้ลงนามในสนธิสัญญาไม่รุกรานกัน เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2483
แต่สนธิสัญญาดังกล่าวยังไม่มีผลใช้บังคับ เนื่องจากยังไม่ได้มีการแลกเปลี่ยนสัตยาบันซึ่งกันและกัน
ฝรั่งเศสเร่งรัดให้ไทยทำสัตยาบัน เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนในอาณานิคมอินโดจีน
เนื่องจากในทวีปยุโรปกำลังง่อนแง่นเพราะถูกเยอรมันรุกหนัก ขณะที่ดินแดนส่วนใหญ่ในทวีปเอเชียก็ถูกภัยคุกคามจากญี่ปุ่น ส่งผลให้อาณานิคมอินโดจีนของฝรั่งเศสตกอยู่ในอันตรายไปด้วย
รัฐบาลไทยให้คำตอบยืนยันว่ายินดีทำตามหากฝรั่งเศสยกดินแดนหลวงพระบาง ปากเซ ทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ที่ยึดไปเมื่อปี 2447 คืนให้กับไทย และทำการปักปันเส้นเขตแดนในลำน้ำโขงให้เรียบร้อย
นอกจากนี้ต้องรับประกันว่าจะยกประเทศลาวซึ่งเดิมเป็นอาณาจักรของไทยคืนให้ไทย หลังจากที่พ้นจากการปกครองของฝรั่งเศสแล้ว แต่ฝรั่งเศสตอบปฏิเสธ เกิดเป็นกรณีพิพาทกันขึ้น
ความขัดแย้งรุนแรงมากขึ้น เมื่อฝรังเศสเริ่มเปิดหน้ารบกับไทยโยกย้ายทหารจากอ่าวตังเกี๋ยเข้าประชิดชายแดนไทย
ปลายเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2483 ฝรั่งเศสก็เริ่มมีการส่งทหารเข้ามาแทรกซึมฝั่งไทย รวมทั้งส่งเครื่องบินล้ำแดนเข้ามาทางจังหวัดตราดลึกถึง 5 กิโลเมตร
รัฐบาลไทยได้ประท้วง แต่ฝรั่งเศสไม่ได้สนใจ
กระทั่งวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 ส่งเครื่องบิน 5 ลำ ทิ้งระเบิดโจมตีจังหวัดนครพนม ทำให้ราษฎรไทยได้รับบาดเจ็บ
รัฐบาลไทยตัดสินใจใช้กำลังทหารเพื่อป้องกันประเทศทันทีทั้งทางบกและทางอากาศ พลตรี หลวงพิบูลสงคราม ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด
A map of French Indochina prior to the First World War. Unfortunately there is part of western Laos which is cut off in this scan https://th.wikipedia.org/wiki/อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2483 ฝ่ายไทยประกาศระดมพลและสั่งเคลื่อนกำลังทหารเข้าประจำชายแดนเพื่อเข้าตีโต้ตอบ
ก่อนเคลื่อนกองทัพบุกเข้าไปในเขมรและลาว มุ่งยึดดินแดนคืนในวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2484
การสู้รบทางบก กองพลพายัพ ยึดแคว้นหลวงพระบาง ฝั่งขวาห้วยทราย ตรงข้ามเชียงแสน มีเมืองปากลาย หงสา แลเชียงฮ่อน
กองทัพอีสาน กองพลอุบลยึดแคว้นจำปาศักดิ์ กองพลสุรินทร์ยึดเมืองสำโรงจงกัล ทางจังหวัดเสียมราฐ
กองทัพบูรพา ยึดพื้นที่ทางทิศตะวันตกของศรีโสภณ กองพลจันทบุรียึดบ้านกุบเรียง และบ้านห้วยเขมร ทางด้านทิศตะวันตกของบ่อไพลิน และพระตะบอง
การสู้รบทางอากาศ เริ่มปฏิบัติการตั้งแต่ก่อนการเคลื่อนกำลังทางบก ตั้งแต่เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 ส่งเครื่องบินขึ้นไปสกัดกั้นเครื่องบินของฝ่ายฝรั่งเศสที่เข้ามาโจมตีไทย
พร้อมตอบโต้ด้วยการส่งเครื่องบินไปโจมตีเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ในลาวและเขมรอย่างต่อเนื่อง
ตลอดจนการส่งเครื่องบินไปโจมตีสนามบินฝรังเศสที่นครวัด เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2484 และพนมเปญ เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2484 ซึ่งเป็นการโจมตีครั้งสุดท้าย
การสู้รบทางเรือ เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2484 เกิดการปะทะกันของกำลังทางเรือไทยกับฝรั่งเศสในยุทธนาวีเกาะช้าง
ฝรั่งเศสส่งกำลังทางเรือส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในอินโดจีนเข้ามาในน่านน้ำไทยทางด้านเกาะช้าง ด้วยความมุ่งหมายที่จะระดมยิงหัวเมืองชายทะเลทางภาคตะวันออกของประเทศไทย
เพื่อกดดันให้กำลังทหารของไทยที่รุกข้ามชายแดนต้องถอนกำลังกลับมา
กำลังเรือของฝรั่งเศสจำนวน 7 ลำ ปะทะเข้ากับกำลังทางเรือของไทยจำนวน 3 ลำ ผลการปะทะฝ่ายไทยเสียเรือรบไปทั้ง 3 ลำ ฝ่ายฝรั่งเศส เรือลาดตระเวนได้รับความเสียหาย ทำให้ต้องล่าถอยกลับไป
พลตรี หลวงพิบูลสงคราม (จอมพล ป. พิบูลสงคราม) กล่าวปราศรัยแก่นิสิตนักศึกษาและประชาชนที่มาชุมนุมเรียกร้องเอาดินแดนอินโดจีน คืนจากฝรั่งเศส ในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2483 ที่หน้ากระทรวงกลาโหม - https://th.wikipedia.org/wiki/กรณีพิพาทอินโดจีน
ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นมหาอำนาจในขณะนั้น เกรงว่าการสู้รบครั้งนี้จะเป็นอุปสรรคต่อแผนรุกรานลงทางใต้ จึงยื่นมือเข้ามาไกล่เกลี่ยเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2484
ตกลงให้มีการหยุดยิงเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2484 และลงนามหยุดยิงบนเรือลาดตระเวนของญี่ปุ่นชื่อนาโตริ หน้าอ่าวเมืองไซ่ง่อน เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2484
ก่อนตั้งคณะกรรมการขึ้นมา เพื่อประชุมทำสัตยาบันสันติภาพที่กรุงโตเกียว ไทยกับฝรั่งเศส ลงนามในอนุสัญญาโตเกียว เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2484
ไทยได้ดินแดนฝั่งขวาของหลวงพระบาง จำปาศักดิ์ ศรีโสภณ พระตะบอง และดินแดนในกัมพูชาคืนนำมาแบ่งจัดตั้งเป็น 4 จังหวัดคือ จังหวัดพระตะบอง จังหวัดพิบูลสงคราม จังหวัดนครจัมปาศักดิ์ และจังหวัดลานช้าง
แต่สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง ไทยสมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ จำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของประเทศมหาอำนาจและฝรั่งเศสที่เป็นฝ่ายชนะสงคราม
ทำให้ต้องยอมรับความตกลงระงับกรณีระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ซึ่งทำที่กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489 หรือที่รู้จักในชื่อ ความตกลงวอชิงตัน
มีผลให้อนุสัญญาโตเกียวถูกยกเลิก ไทยต้องคืนดินแดนอินโดจีนที่ได้มาทั้งหมดให้ฝรั่งเศส
ผลจากกรณีพิพาทในครั้งนั้น ทำให้ประเทศไทยสูญเสียชีวิตของทหาร ตำรวจ พลเรือน จำนวน 59 นาย
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิสร้างขึ้นเพื่อเทิดทูนวีรกรรมวีรบุรุษผู้พลีชีพในกรณีพิพาทระหว่างดังกล่าว
โดยพลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นผู้วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 248
และจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นผู้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2485
สถาปนิกผู้ออกแบบคือ หม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เมื่อครั้งยังไม่มีการจราจรคับคั่ง สร้างเป็นอนุสรณ์สถานแก่ผู้สละชีพจากกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2484  https://www.matichon.co.th/lifestyle/news_43111
ก่อสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กประดับหินอ่อน มีความสูงประมาณ 50 เมตร
โดยใช้ดาบปลายปืน ซึ่งเป็นอาวุธประจำกายทหาร 5 เล่ม สื่อให้เห็นถึงการต่อสู้อันแหลมคมทั้งปัญญาและอาวุธ
จัดตั้งเป็นกลีบแบบรูปมะเฟือง ปลายดาบชี้ขึ้นด้านบน ส่วนคมของดาบหันออก
ดาบปลายปืนนั้นใช้ส่วนด้ามตั้งเป็นฐาน อยู่เหนือเพดานห้องโถงใหญ่ ภายในห้องโถงใช้เก็บกระสุนปืนใหญ่และบรรจุอัฐิทหารที่เสียชีวิตในกรณีพิพาท
ส่วนด้านนอกตอนโคนดาบปลายปืน มีรูปปั้นหล่อทองแดง ขนาดความสูงของรูปปั้นเท่ากับคนสองคน
ประกอบด้วยรูปปั้นนักรบวีรชน 5 เหล่า คือ ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และพลเรือน
httpsyoddiary.wordpress.com20110624วันนี้ในอดีต-24-มิถุนายน-พ/
ศิลปินผู้ปั้นรูปเหล่านี้เป็นลูกศิษย์ของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เช่น สิทธิเดช แสงหิรัญ, อนุจิตร แสงเดือน, พิมาน มูลประสุข ภายใต้การควบคุมของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี
สำหรับฐานที่รองรับรูปปั้นทั้ง 5 ประกอบด้วย ศิลาแกรนิต และที่ฐานนี้มีแผ่นจารึกทำด้วยศิลาอ่อนที่มีในประเทศไทย
ส่วนอักษรที่ใช้จารึกหล่อด้วยทองแดง เป็นรายชื่อของผู้เสียชีวิตจากสงคราม
บริเวณรอบอนุสาวรีย์เป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดกว้าง 131 เมตร ยาว 260 เมตร
แท่นฐานอนุสาวรีย์เป็นรูปวงกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 51 เมตร
มีบันไดขึ้นสู่อนุสาวรีย์ทั้ง 4 ด้าน ไปสู่ห้องโถงใหญ่ ใช้เก็บกระสุนปืนใหญ่และบรรจุอัฐิทหารที่เสียชีวิตในหลายๆ สงคราม เช่น เกาหลี เวียดนาม ฯลฯ จารึกชื่อผู้เสียชีวิต จำนวน 7,297 นาย
ส่วนด้านนอกจารึกชื่อที่เสียชีวิตตั้งแต่ พ.ศ.2483-2497 อีกจำนวน 807 ชื่อ
รอบอนุสาวรีย์ประดับด้วยไม้ดอกและไม้ใบพร้อมมีการล้อมรั้วเหล็กไว้อย่างสวยงาม
องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก (อผศ.) จัดงานวันทหารผ่านศึก เพื่อเชิดชูเกียรติเหล่านักรบวีรชน ทั้งศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาพุทธ ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ของทุกปี
A map of French Indochina prior to the First World War. Unfortunately there is part of western Laos which is cut off in this scan https://th.wikipedia.org/wiki/อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา